Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54846
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการรับยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีหลังสัมผัสเชื้อที่ไม่ได้เกิดจากการทำงานในกลุ่มชายไทยที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย |
Other Titles: | FACTORS AFFECTING THE INTENTION TO TAKE NON-OCCUPATIONAL HIV POST EXPOSURE PROPHYLAXIS AMONG THAI MEN WHO HAVE SEX WITH MEN |
Authors: | นิติยา ชมเชย |
Advisors: | ธีระ วรธนารัตน์ นิตยา ภานุภาค พึ่งพาพงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Thira.W@Chula.ac.th,thiraw@hotmail.com,thiraphase3@yahoo.com,thiraw@hotmail.com nittaya.p@trcarc.org |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย (MSM) มีสัดส่วนการติดเชื้อเอชไอวีสูงมากกว่ากลุ่มอื่นในประเทศไทย ปัจจุบันยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องความตั้งใจในการรับยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีหลังสัมผัสเชื้อ (nPEP) การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความตั้งใจในการรับ nPEP ในกลุ่มMSM การศึกษานี้ใช้การศึกษาแบบผสม โดยระยะที่ 1 เป็นการศึกษาวิจัยแบบตัดขวางเชิงสำรวจ เพื่อประเมินความตั้งใจในการรับ nPEP ในกลุ่ม MSM จำนวน 450 คน โดยใช้แบบสอบถามชนิดกรอกคำตอบด้วยตนเอง และระยะที่ 2 เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบติดตามไปข้างหน้า โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่ม MSM ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อเอชไอวีใน 72 ชั่วโมงที่ผ่านมา จำนวน 40 ราย ทำการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยวิธี Multiple logistic regression เพื่อประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความตั้งใจในการรับ nPEP ผลการศึกษาพบว่าในกลุ่ม MSM จำนวน 450 คน มีเพียงร้อยละ 7 ที่เคยได้รับ nPEP มาก่อน และมีเพียงร้อยละ 40 ระบุว่ามีความตั้งใจที่จะใช้ nPEP ทั้งที่ทราบว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ในการศึกษาวิจัยนี้พบว่ามีผู้ติดเชื้อเอชไอวีร้อยละ 18.9 โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความตั้งใจที่จะใช้ nPEP คือ ความตระหนักถึง nPEP ระดับความรู้เรื่องเอชไอวี รูปแบบการมีเพศสัมพันธ์ และสถานะการขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ในกลุ่ม MSM ที่ได้รับ nPEP จำนวน 40 ราย มี 39 รายตัดสินใจรับ nPEP และในกลุ่มผู้ที่รับ nPEP นั้นมีเพียง 1 รายที่รับประทานยาไม่ครบตามกำหนด 4 สัปดาห์ การศึกษายังพบว่ามีการใช้ถุงยางอนามัยเพิ่มขึ้นและผลการตรวจเอชไอวีทุกรายเป็นลบ โดยสรุป MSM มีความชุกของการติดเชื้อเอชไอวีสูงมาก อยู่ที่ประมาณ 1 ใน 5 คน การส่งเสริมให้เกิดความตระหนักในเรื่อง nPEP และการให้ความรู้เอชไอวีในกลุ่ม MSM ให้มากขึ้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้การดำเนินงานในเรื่องการใช้ nPEP ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชุดบริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีอย่างครอบคลุมสำหรับ MSM ที่มีความเสี่ยงสูงประสบความสำเร็จ |
Other Abstract: | Background: Men who have sex with men (MSM) are disproportionately infected with HIV in Thailand but factors affecting their intention to take non-occupational HIV post-exposure prophylaxis (nPEP) are not well understood. This study sought to study factors affecting intention to take nPEP amongst Thai MSM. Method: This is a 2-phase mixed-method study. Phase I was a cross-sectional survey of intention to take nPEP in 450 MSM, using a self-administered questionnaire. Phase II was prospective descriptive study, using an in-depth interview among 40 MSM who were exposed to HIV in the past 72 hours. Multiple logistic regression was used to evaluate factors relating to the intention to use nPEP. Result: Among 450 MSM seeking HIV testing in Bangkok, only 7% had previously taken nPEP and 40% expressed intention to take it, despite of being at high-risk for contracting HIV, evidenced by subsequent HIV positivity in 18.9%. Factors associated with intention to take nPEP were nPEP awareness, HIV knowledge, mode of sexual intercourse and circumcision. Of 40 MSM who were offered nPEP at that visit, 39 agreed to take it, and all but 1 completed the 4-week course. Condom use increased and all tested HIV negative. Conclusion: A very high HIV prevalence was shown with 1 in 5 MSM having HIV infection in this study. Efforts to create nPEP awareness and improve HIV knowledge within the MSM community are crucial to the successful implementation of nPEP as part of a combination HIV prevention service package for high-risk MSM. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54846 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.225 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.225 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5474911730.pdf | 4.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.