Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54860
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อัจฉรา ไชยูปถัมภ์ | - |
dc.contributor.advisor | สุชาดา บวรกิติวงศ์ | - |
dc.contributor.author | อลงกรณ์ ประกฤติพงศ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2017-10-30T04:20:21Z | - |
dc.date.available | 2017-10-30T04:20:21Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54860 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มุ่งศึกษาเฉพาะนักศึกษาปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่เป็นสาเหตุการออกกลางคัน (2) พัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างของพันธะภาระต่อการศึกษา (3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (4) ทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลสมการโครงสร้างจำแนกตามสถาบันการศึกษารัฐและเอกชน (5) นำเสนอการจัดการศึกษาที่ช่วยเพิ่มพันธะภาระต่อการศึกษา การวิจัยแบ่งเป็นสองตอน ตอนที่ 1 เพื่อสร้างโมเดลสมการโครงสร้างของพันธะภาระต่อการศึกษา รวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการและการสัมภาษณ์เชิงลึก ต่อจากนั้นรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากนักศึกษาจำนวน 518 คน จากสถาบันการศึกษา 20 แห่ง ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC.) 0.60 ถึง 1.00 ค่าความเที่ยง 0.822 และ 0.919 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรมลิสเรล ตอนที่ 2 เพื่อนำเสนอการจัดการศึกษาที่ช่วยเพิ่มพันธะภาระต่อการศึกษา ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลจากนักศึกษาที่เคยออกกลางคันจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ อาจารย์ผู้สอนและผู้บริหารในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผลการวิจัย พบว่า (1) สาเหตุสำคัญของการออกกลางคันเกิดจากปัจจัยด้านนักศึกษา ได้แก่ ความรู้พื้นฐานไม่เพียงพอ เรียนตามลำพัง อยู่หอพักขาดผู้ดูแล ขาดการควบคุมพฤติกรรมของตนเอง ขาดเรียนมากและขาดการทุ่มเทต่อการเรียน (2) โมเดลสมการโครงสร้าง สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ไคสแควร์ = 29.70, df = 22, P-value = 0.12589, RMSEA = 0.026) (3) โมเดลสมการโครงสร้างสถาบันการศึกษารัฐและเอกชนมีความไม่แปรเปลี่ยนในรูปแบบแต่มีความแปรเปลี่ยนในค่าพารามิเตอร์ (4) ข้อเสนอแนะการจัดการศึกษาที่ช่วยเพิ่มพันธะภาระต่อการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ด้าน 1) ข้อเสนอแนะเชิงวิชาการ ได้แก่ ปัจจัยด้านนักศึกษาเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของการออกกลางคัน โดยมีปัจจัยด้านผู้บริหารและอาจารย์เป็นปัจจัยสนับสนุนให้นักศึกษาคงอยู่ต่อไป 2) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ได้แก่ การเรียนเสริมความรู้พื้นฐานสำหรับนักศึกษาใหม่ การเลือกสาขาควรให้เลือกในชั้นปี 2 ควรจัดการเรียนทั้ง 3 ภาคการศึกษาโดยเฉพาะนักศึกษาชั้นปีที่ 1 3) ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ ได้แก่ การปรับปรุงสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา การกำหนดมาตรฐานการทำงานของอาจารย์ทั้งการสอนและการเป็นที่ปรึกษา การจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษากับอาจารย์และการจัดกิจกรรมรับน้องใหม่ที่ไม่รุนแรง | - |
dc.description.abstractalternative | This research focused on undergraduate students in Faculty of Engineering. The aims were to (1) determine causes of students’ dropout (2) develop a structural equation model of academic commitment (3) examine the consistency of the model with empirical data (4) test the invariance of the model classified by public and private institutions (5) present the educational management contributed to the students’ academic commitment. This research divided into two parts. Part 1, to create the structural equation model from academic papers and in-depth interview, then collected data from 518 students of 20 institutions by stratified sampling. The questionnaires were 5-point scale, IOC. was from 0.60 to 1.00 and the reliability was 0.822 and 0.919. Data were analyzed with descriptive statistics and structural equation model with the LISREL program. Part 2, to present educational management to increase the Academic Commitment. Using in-depth interview and content analysis. The data from students who had dropped out, lecturers and administrators of the Faculty of Engineering. Researcher found that (1) The major causes of dropout came from student consisted of insufficient basic knowledge, no friends and live alone, living in dormitory without caretaker, lack of self-control, lack of classroom attendance. (2) The model according to empirical data (Chi-square = 29.70, df = 22, P-value = 0.12589, RMSEA = 0.026). (3) Public and private institutions had the same model form but their factors loading differences. (4) To increase the academic commitment had 3 areas. 1) Academic recommendations: student factor was the most important cause of dropout but the management and teacher factors supported students to still study. 2) Policy recommendations: extra tuition for new students who lack of basic knowledge, the major selection should be in the second year and studying should be organized in 3 semesters especially the first year students. 3) Practical recommendations: the environment of institutions should be improved, setting the standard of procedure for teaching and advisory, establishment of an Innovation Teaching and Learning Center, student-teacher relationship activities and activities for freshman should be improved. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1289 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | การเพิ่มพันธะภาระต่อการศึกษาเพื่อลดการออกกลางคันของนักศึกษาปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์: การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุด้วยโมเดลสมการโครงสร้าง | - |
dc.title.alternative | INCREASING THE ACADEMIC COMMITMENT TO REDUCE DROP-OUT OF UNDERGRAUATE STUDENTS IN ENGINEERING: AN ANALYSIS OF CAUSAL FACTORS WITH STRUCTURAL EQUATION MODEL | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | - |
dc.degree.discipline | อุดมศึกษา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Atchara.C@Chula.ac.th,atchara_cu@yahoo.com,atchara_cu@yahoo.com | - |
dc.email.advisor | Suchada.B@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.1289 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5484258227.pdf | 6.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.