Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54875
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อตามองค์ประกอบหลักขององค์การอนามัยโลกในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปในประเทศไทย
Other Titles: Factors associated with implementation of the World Health Organization core components for infection prevention and control programmes in regional and provincial hospitals in Thailand
Authors: มณฑิชา เจนพานิชทรัพย์
Advisors: ธีระ วรธนารัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Thira.W@Chula.ac.th,thiraw@hotmail.com,thiraphase3@yahoo.com,thirapersonal@gmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การดำเนินงานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อเป็นงานสำคัญในการลดปัญหาการติดเชื้อในโรงพยาบาล องค์การอนามัยโลกได้เสนอแนะแนวทางตาม 8 องค์ประกอบหลักในการดำเนินงานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลเพื่อให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดำเนินงานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อตาม 8 องค์ประกอบหลักขององค์การอนามัยโลก และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ โดยทำการศึกษาแบบภาคตัดขวาง ในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทำการคำนวณกลุ่มตัวอย่างได้จำนวน 53 แห่ง แล้วทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามระดับโรงพยาบาล เก็บข้อมูลช่วงปี พ.ศ.2558-2559 ใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองและแบบประเมินขององค์การอนามัยโลกคือ Infection Prevention and Control Core components Assessment Tools (IPCAT) โดยผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ คะแนนรวมการดำเนินงานใช้ค่าคะแนนถ่วงน้ำหนักตามจำนวนข้อขององค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยรวมเป็นร้อยละ 100 ใช้วิธีการสัมภาษณ์ตัวแทนที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานโดยตรง และการสนทนากลุ่ม ใช้สถิติการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์และควบคุมตัวแปรกวน และวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญจากข้อมูลการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า โรงพยาบาลที่เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 55 แห่ง จำแนกเป็นโรงพยาบาลศูนย์ระดับ A ร้อยละ 30.9 โรงพยาบาลทั่วไประดับ S ร้อยละ 40.0 และโรงพยาบาลทั่วไประดับ M1 ร้อยละ 29.1 ภาพรวมโรงพยาบาลทุกระดับ มีคะแนนเฉลี่ยรวมการดำเนินงานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อตามองค์ประกอบหลักขององค์การอนามัยโลก ร้อยละ 89.5 (SD 3.41) จำแนกตามระดับโรงพยาบาล พบว่า โรงพยาบาลศูนย์ระดับ A มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 90.7 (SD 2.40) โรงพยาบาลทั่วไประดับ S มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 90.1 (SD 2.87) และโรงพยาบาลทั่วไประดับ M1 (SD 4.15) มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 87.4 ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามองค์ประกอบ ภาพรวมโรงพยาบาลทุกระดับมีคะแนนองค์ประกอบที่ 8 การเชื่อมโยงกับระบบอื่นๆ มากที่สุด (ร้อยละ 99.3, SD 2.43) ส่วนคะแนนน้อยที่สุดคือ องค์ประกอบที่ 3 การจัดสรรบุคลากร (ร้อยละ 82.3, SD 4.50) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคะแนนรวมทุกองค์ประกอบของการดำเนินงานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อตามองค์ประกอบหลักขององค์การอนามัยโลกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ปัจจัยภายนอกโรงพยาบาลคือ การรับนโยบายจากส่วนกลาง (p-value =0.030) ปัจจัยภายในโรงพยาบาลคือ การมีนโยบายความปลอดภัยในผู้ป่วย และการสนับสนุนจากผู้นำองค์กร (p-value =0.012, 0.006 ตามลำดับ) และการมีปัจจัยการรับนโยบายจากส่วนกลาง การมีนโยบายความปลอดภัยในผู้ป่วยและการสนับสนุนจากผู้นำองค์กร มีคะแนนรวมทุกองค์ประกอบต่างกันอยู่ 1.82, 4.59 และ 2.31 ตามลำดับ จากผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป ในประเทศไทยมีคะแนนการดำเนินงานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อตามองค์ประกอบหลักขององค์การอนามัยโลกอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตามการมีบุคลากรไม่เพียงพอในการดำเนินงาน จะทำให้การดำเนินงานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อมีประสิทธิภาพลดลง และควรนำผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ บูรณาการเข้ากับนโยบายการดำเนินงานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อระดับประเทศต่อไป
Other Abstract: Background: Infection Prevention and Control (IPC) program is important to reduce health care-associated infection. The World Health Organization (WHO) introduced a framework for infection prevention and control, which consists of eight core components in order to achieve the goal. The aims of this study were to assess the current situation of Thailand WHO framework implementation and to examine associated factors in regional and provincial hospitals in Thailand. Methods: A cross-sectional study was conducted in regional and provincial hospitals in Thailand.Data collection was obtained from 2015 to 2016. The sample size was 53 hospitals. Stratified random sampling technique was used. Standardized questionnaire and the WHO framework for IPC assessment tools were applied. The data was retrieved from face-to-face interview and focus group discussion. The score of IPC implementation was weighted by all core components and subcomponents. The total weighted score was 100%. The data were analyzed by multiple linear regression models and content analysis for qualitative data from focus group discussion. Results: Fifty-five hospitals were enrolled in the study. The percentages of the A, S, and M1 levels of the hospitals were 30.9%, 40.0% and 29.1%, respectively. The mean of the total weighted score of IPC core components was 89.5% (SD 3.41). The average of the total weighted scores of A, S and M1 levels were 90.7% (SD 2.40), 90.1% (SD 2.87) and 87.4% (SD 4.15), respectively. The highest mean of total weighted score was component links with public health and other services (99.3%, SD 2.43) and the lowest mean of total weighted score was the component on human resources (82.3%, SD 4.50). There were three factors, which associated with an overall score of IPC core components, including the government policies (p-value=0.030), the patient safety policies, and the organizational support (p-value=0.012, and 0.006, respectively). The results of an overall score of these three factors will have different 1.82, 4.59 and 2.31, respectively. Conclusion: This study presented that a majority of the regional and provincial hospitals in Thailand, which achieved high score of the WHO IPC programs. However, lack of the human resources may decrease the effectiveness of IPC. The results should be applied or considered setting the national policy on IPC in Thailand.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54875
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.228
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.228
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5574913030.pdf8.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.