Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54883
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดรุณวรรณ สุขสม-
dc.contributor.advisorคนางค์ ศรีหิรัญ-
dc.contributor.advisorJoão Brito de Oliveira Fernandes-
dc.contributor.authorรองรัก สุวรรณรัตน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:20:34Z-
dc.date.available2017-10-30T04:20:34Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54883-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกแบบสลับช่วงที่ความหนักระดับสูงในสภาวะปริมาณออกซิเจนปกติและสภาวะปริมาณออกซิเจนต่ำที่ความดันบรรยากาศปกติที่มีต่อสมรรถภาพทางแอโรบิกและความทนต่อการเมื่อยล้าในนักกีฬาฟุตบอลเยาวชน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักฟุตบอลเยาวชนชาย อายุ 15-16 ปี จำนวน 32 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มฝึกแบบสลับช่วงที่ความหนักระดับสูงในสภาวะปริมาณออกซิเจนปกติ (สัดส่วนของออกซิเจนที่หายใจเข้าเท่ากับ 20.9 เปอร์เซ็นต์) จำนวน 16 คน และกลุ่มฝึกแบบสลับช่วงที่ความหนักระดับสูงในสภาวะปริมาณออกซิเจนต่ำ (สัดส่วนของออกซิเจนที่หายใจเข้าเท่ากับ 15.3 เปอร์เซ็นต์) จำนวน 16 คน นักกีฬาได้รับการฝึกแบบสลับช่วงที่ความหนัก 90-95 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด เป็นเวลา 4 นาที สลับกับความหนัก 60-70 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด เป็นเวลา 3 นาที จำนวน 4-5 เซ็ต 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ทำการทดสอบตัวแปรด้านสรีรวิทยาทั่วไป สมรรถภาพทางแอโรบิก และความทนต่อการเมื่อยล้า วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรระหว่างกลุ่มที่ก่อนการฝึก หลังการฝึก 4 สัปดาห์ และหลังการฝึก 8 สัปดาห์ ด้วยการทดสอบความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ แบบ 2 x 3 (กลุ่ม x ช่วงเวลาทดสอบ) จากนั้นเปรียบเทียบความแตกต่างแบบรายคู่โดยใช้วิธีการทดสอบของบอนเฟอโรนี (Bonferroni) ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการฝึกทั้งที่ 4 สัปดาห์และ 8 สัปดาห์ นักฟุตบอลกลุ่มฝึกในสภาวะปริมาณออกซิเจนต่ำมีค่าเฉลี่ยของน้ำหนัก ส่วนสูง ดัชนีมวลกาย ไขมันของร่างกาย อัตราการเต้นหัวใจขณะพัก ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว และความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มฝึกในสภาวะปริมาณออกซิเจนปกติ นักฟุตบอลกลุ่มฝึกในสภาวะปริมาณออกซิเจนต่ำมีค่าเฉลี่ยของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด ความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด และระยะทางที่ทำได้จากการทดสอบโยโย่มากกว่ากลุ่มฝึกในสภาวะปริมาณออกซิเจนปกติที่ภายหลัง 8 สัปดาห์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีจุดกั้นแอนแอโรบิกมากกว่ากลุ่มฝึกในสภาวะปริมาณออกซิเจนปกติที่ภายหลัง 4 สัปดาห์และ 8 สัปดาห์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นักฟุตบอลกลุ่มฝึกในสภาวะปริมาณออกซิเจนต่ำมีค่าเฉลี่ยของแลคเตทในเลือดที่เวลา 75 นาที แลคเตทในเลือดที่จุดเมื่อยล้า เวลาที่ถูกปรับโทษและเวลาที่แสดงถึงความสามารถในการทดสอบส่งบอลน้อยกว่ากลุ่มฝึกในสภาวะปริมาณออกซิเจนปกติที่ภายหลัง 8 สัปดาห์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปได้ว่า การฝึกแบบสลับช่วงที่ความหนักระดับสูงในสภาวะปริมาณออกซิเจนต่ำที่ความบรรยากาศปกติ สามารถพัฒนาสมรรถภาพทางแอโรบิกและความทนต่อการเมื่อยล้าได้มากกว่าการฝึกแบบสลับช่วงที่ความหนักระดับสูงในสภาวะปริมาณออกซิเจนปกติ บ่งชี้ว่าการฝึกแบบสลับช่วงที่ความหนักระดับสูงในสภาวะปริมาณออกซิเจนต่ำน่าจะนำมาใช้เป็นรูปแบบในการฝึกนักกีฬาฟุตบอลเยาวชนได้เป็นอย่างดี-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of the present study was to determine the effects of normoxic and normobaric hypoxic high-intensity interval training (HIIT) on aerobic fitness and tolerance to fatigue in youth soccer players. All subjects were male youth soccer players (n = 32), aged 15-16 years. Players were separated into two groups including HIIT group in normoxia (FiO2 = 20.9 % / NG; n = 16) and HIIT group in normobaric hypoxia (FiO2 = 15.3 % / HG; n = 16). Players performed 4 min at 90–95 % of maximal heart rate (HRmax) for alternated with 3 min at 60–70 % of HRmax 4-5 sets per day, 3 days per week for 8 weeks. The measurements of general physiological characteristics, aerobic fitness and tolerance to fatigue were assessed before, after 4 weeks and after 8 weeks of training. A 2 x 3 (group x time) ANOVA with repeated measures followed by Bonferroni’s multiple comparisons was used to analyze the data. A significance level of 0.05 was considered for statistical significance. The results showed that after 4 weeks and 8 weeks, the mean values of weight, height, BMI, body fat, heart rate, systolic blood pressure and diastolic blood pressure were not significantly difference between HG and NG. The mean values of HRmax, maximal O2 consumption , anaerobic threshold after 4 weeks and 8 weeks and distance covered in the Yo-Yo test after 8 weeks training in HG was higher than in NG (p<0.05). The mean values of blood lactate at 75 min, blood lactate at the fatigue point, penalty time and global performance time of soccer passing test after 8 weeks training in HG were lower than in NG (p<0.05). In conclusions, HIIT in normobaric hypoxia had greater effects on aerobic fitness and tolerance to fatigue than HIIT in normoxia. This indicated that HIIT in normobaric hypoxia can be used as a training model for youth soccer players.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.797-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleผลของการฝึกแบบสลับช่วงที่ความหนักระดับสูงในสภาวะปริมาณออกซิเจนต่ำที่ความดันบรรยากาศปกติที่มีต่อสมรรถภาพทางแอโรบิกและความทนต่อการเมื่อยล้าในนักกีฬาฟุตบอลเยาวชน-
dc.title.alternativeEFFECTS OF HIGH - INTENSITY INTERVAL TRAINING IN NORMOBARIC HYPOXIA ON AEROBIC FITNESS AND TOLERANCE TO FATIGUE IN YOUTH SOCCER PLAYERS-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorDaroonwan.S@Chula.ac.th,daroonwanc@hotmail.com-
dc.email.advisorKanang.S@chula.ac.th-
dc.email.advisorjoaobritofernandes@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.797-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5578609039.pdf8.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.