Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54894
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปองสิน วิเศษศิริ-
dc.contributor.advisorพฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์-
dc.contributor.authorฤติ สุนทรสิงห์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:20:42Z-
dc.date.available2017-10-30T04:20:42Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54894-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractงานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพนักเรียนด้านประชาธิปไตย (2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพนักเรียนด้านประชาธิปไตย (3) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารโรงเรียนตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพนักเรียนด้านประชาธิปไตย (4) พัฒนากลยุทธ์ในการบริหารโรงเรียนตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพนักเรียนด้านประชาธิปไตย โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานและใช้แบบสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เพื่อสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ แบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของการนำกลยุทธ์ไปใช้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) กรอบแนวคิดงานการบริหารโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพนักเรียนด้านประชาธิปไตย 3 ด้านคือ (ก) การจัดการเรียนการสอน (ข) การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และ (ค) การจัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ และองค์ประกอบคุณภาพนักเรียนด้านประชาธิปไตย 3 ด้านคือ (ก) ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย (ข) ทัศนคติแบบประชาธิปไตย และ (ค) ความสามารถแบบประชาธิปไตย (2) สภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของงานการบริหารโรงเรียนตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพนักเรียนด้านประชาธิปไตยทั้งสามด้านอยู่ในระดับ มาก สภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ขององค์ประกอบคุณภาพนักเรียนด้านประชาธิปไตยทั้งสามด้านอยู่ในระดับ มาก (3) จุดแข็งของงานการบริหารโรงเรียนตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพนักเรียนด้านประชาธิปไตยคือ การจัดการเรียนการสอน และ การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในขณะที่ การจัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้เป็นจุดอ่อน ส่วนจุดแข็งขององค์ประกอบคุณภาพนักเรียนด้านประชาธิปไตยคือ ทัศนคติแบบประชาธิปไตย ในขณะที่ ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย และ ความสามารถแบบประชาธิปไตยเป็นจุดอ่อน (4) กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพนักเรียนด้านประชาธิปไตย มี 3 กลยุทธหลัก คือ (ก) เร่งพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพนักเรียนด้านประชาธิปไตยเพื่อกระตุ้นให้การเรียนรู้ระเบิดจากภายใน (ข) ยกระดับการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพนักเรียนด้านประชาธิปไตยโดยให้นักเรียนเป็นผู้ริเริ่มการเรียนรู้ และ (ค) ปรับกระบวนทัศน์การจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพนักเรียนด้านประชาธิปไตยโดยให้อนาคตภาพของนักเรียนกำหนดการเรียนรู้-
dc.description.abstractalternativeThis research was aimed to (1) examine the conceptual framework about school management strategies according to the concept of developing students' democratic quaity (2) explore the current and desirable states of school management according to the concept of developing students' democratic quality (3) analyze strengths, weaknesses, opportunities and threats of school management according to the concept of develpoing students' democratic quality and (4) develop school management strategies according to the concept of developing student’s democratic quality. The study applied a mixed method approach and the research tools used were questionnaires on the conceptual framework, a 5-rating scale questionnaires on the current and desirable situations, and the 5-rating scale strategic evaluation form to testify feasibility and appropriateness of the strategies. The data was analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, PNImodified, and content analysis. The research results show the following findings. (1) The conceptual framework consists of 3 school management areas involved with the development of student’s democratic quality namely; a) the providing of teaching and learning, b) the providing of student enrichment activities and c) the providing of learning environment and 3 features of student’s democratic quality namely; a) democratic knowledge, b) democratic attitude and c) democratic ability. (2) The current and desirable situations of all school management areas are at high level. The current and desirable situations of the 3 features of democratic quality are at high level. (3) The strengths are a) the providing of teaching and learning and b) the providing of student enrichment activities while c) the providing of learning environment is the weakness. Also, democratic attitude is the strength while democratic knowledge and democratic ability are weaknesses. (4) There are 3 main strategies for school management according to the concept of developing student’s democratic quality namely; a) Prompt development on school’s learning environment according to the concept of developing student’s democratic quality in order to stimulate student’ learning to blast out from the inside. b) To elevate the providing student enrichment activities according to the concept of developing student’s democratic quality by letting students initiate their learning. c) To shift the paradigm of the providing of teaching and learning according to the concept of developing student’s democratic quality by using student’s future scenario to specify their learning.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.514-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพนักเรียนด้านประชาธิปไตย-
dc.title.alternativeSchool Management Strategies According to the Concept of Developing Students' Democratic Quality-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorPongsin.V@Chula.ac.th,v.pongsin@gmail.com-
dc.email.advisorPruet.S@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.514-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584471627.pdf11.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.