Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54908
Title: | พฤติกรรมการดัดของคานคอนกรีตเสริมเหล็กหน้าตัดรูปตัวทีที่ได้รับความเสียหายจากไฟและเสริมกำลังด้วยแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอน |
Other Titles: | FLEXURAL BEHAVIOR OF FIRE-DAMAGED REINFORCED CONCRETE T-BEAMS STRENGTHENED WITH CARBON FIBER-REINFORCED POLYMER PLATES |
Authors: | ศุภวิกรม จิตรสำเริง |
Advisors: | อัครวัชร เล่นวารี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Akhrawat.L@chula.ac.th,akhrawatl@yahoo.com,akhrawat.l@chula.ac.th |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ทำการศึกษาพฤติกรรมการดัดของคานคอนกรีตเสริมเหล็กหน้าตัดรูปตัวทีภายหลังการเผาไฟและเสริมกำลังด้วยแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอน คานที่ศึกษามีจำนวน 5 คาน โดยมีปริมาณเหล็กเสริมรับแรงดึงเท่ากับ 0.58 เปอร์เซ็นต์ คอนกรีตที่ใช้มีกำลังอัดประลัยเท่ากับ 43 เมกะปาสคาล โดยคานตัวแรกเป็นการทดสอบคานที่อุณหภูมิห้อง ส่วนคานอีก 4 ตัวทดสอบภายหลังการเผาไฟ มีตัวแปรที่ทำการศึกษาคือ ระดับการให้แรงกระทำระหว่างเผาไฟ (0 และ 22.6 เปอร์เซ็นต์ของกำลังคานที่อุณหภูมิห้อง) คานที่ได้รับแรงกระทำและไม่ได้รับแรงกระทำจะถูกเผาไฟพร้อมกันในเตาเผาทดสอบ โดยการให้ความร้อนในช่วงเริ่มต้นเป็นไปตามมาตรฐาน ISO834 จนถึงอุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียสจนกระทั่งเวลาการเผาไฟครบ 3 ชั่วโมง และปล่อยให้เย็นตัวปกติในเตาเผา จากนั้นทำการเสริมกำลังโดยแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอนโดยมีการติดตั้งอุปกรณ์ยึดรั้งที่ปลายแผ่น จากนั้นตัวอย่างคานทั้งหมดได้ถูกทดสอบเพื่อหาพฤติกรรมการรับแรงดัดในรูปของความสัมพันธ์ระหว่างแรงกระทำและการโก่งตัวภายใต้แรงกระทำสี่จุด รวมทั้งรอยแตกร้าวและรูปแบบการวิบัติ จากผลการศึกษาพบว่า (1) การกระจายอุณหภูมิภายในคานที่ได้รับแรงกระทำและไม่ได้รับแรงกระทำระหว่างเผาไฟมีค่าใกล้เคียงกัน ส่วนการโก่งตัวระหว่างเผาไฟของคานที่ได้รับแรงกระทำมีการโก่งตัวมากกว่าคานที่ไม่ได้รับแรงกระทำอย่างมีนัยสำคัญ (2) กำลังรับน้ำหนักสูงสุดและสติฟเนสของคานภายหลังการเผาไฟที่อุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียส มีค่าลดลงเหลือ 10 และ 62 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับคานที่อุณหภูมิห้องตามลำดับ โดยผลกระทบของแรงกระทำขณะเผาไฟทำให้กำลังรับน้ำหนักสูงสุดและสติฟเนสลดลงเหลือ 27 และ 76 เปอร์เซ็นต์ของคานที่อุณหภูมิห้องและ (3) แผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยสามารถช่วยเพิ่มค่าสติฟเนส 92 ถึง 118 เปอร์เซ็นต์ และเพิ่มกำลังรับแรงดัดของคานที่เสียหายจากการเผาไฟได้ 45 ถึง 103 เปอร์เซ็นต์ แต่ดัชนีความเหนียวจะมีค่าลดลง 7 ถึง 66 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับคานภายหลังการเผาไฟ |
Other Abstract: | This research studies the flexural behavior of reinforced concrete T-beams after exposed to fire and strengthened with CFRP plates. Total of 5 beams were studied. The tensile reinforcement ratio was 0.58 percent and concrete compressive strength was 43 MPa. One beam was tested at room temperature while other four beams were tested after exposure to fire. The studied parameter is level of service load applied to beams during fire exposure (0 and 22.6 percent of beams capacity at room temperature). The specimen with and without service load simultaneously exposure to fire in the fire test furnaces. Three hours applied to the initial heating followed by ISO834 standard fire until the temperature at 700oC and maintained. The specimens were cooled down in the furnace and two specimens were strengthened by CFRP plates with mechanical anchorage in both ends. Finally, all specimens were tested under four-point bending to investigate the flexural behavior, crack pattern, and mode of failure. It was found that (1) the temperature distribution within beams with and without service load applied during fire exposure are similar but the service load significantly affected the deflection during fire exposure. (2) The post-fire capacity and stiffness of the beams exposed to 700oC reduced to 10 and 62 percent of the beam properties at room temperature respectively. These reduced to 27 and 76 percent of the beam properties at room temperature due to the sustained loading effect and (3) CFRP plates can increase the beam stiffness in range of 92 to 118 percent and increase in the flexural capacity of fire-damaged beam in range of 45 to 103 percent. However, the ductility index is decreased 7 to 66 percent when compared with the unstrengthened beam. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54908 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.906 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.906 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5670412321.pdf | 27.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.