Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54922
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชวาล คูร์พิพัฒน์-
dc.contributor.advisorโนริมิชิ ซึมูระ-
dc.contributor.authorรัฐพล บัวเทศ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:21:06Z-
dc.date.available2017-10-30T04:21:06Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54922-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประมาณค่าการสะท้อนแสงเชิงสเปกตรัมแบบวีเนอร์ของสีบนจิตกรรมฝาผนังไทยจากภาพมัลติสเปกตรัมของภาพจิตรกรรมฝาผนังไทยในพระอุโบสถ ด้วยการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิทัลสีเดียวผ่านฟิลเตอร์เจละติน ทั้งหมด 5 แผ่น ได้แก่ BPB42, BPB45, BPB50, BPB55 และ BPB60 โดยมีแผ่นฟิลเตอร์ที่ตัดแสงในช่วงอินฟราเรดและอัลตราไวโอเลตบังหน้าเลนส์ ใช้แหล่งแสงฟลูออเรสเซนต์ที่มีอุณหภูมิสีของแสง 6500 เคลวิน แบ่งการทดลองออกเป็น 3 กรณีศึกษา ที่ใช้ฐานข้อมูลสีในการประมาณค่าต่างกันดังนี้ กรณีศึกษาที่ 1 ใช้ฐานข้อมูลสีจากแผ่นสี Munsell จำนวน 1300 สี กรณีศึกษาที่ 2 ใช้ฐานข้อมูลสี จำนวน 154 สี จากแผ่นสี Munsell จำนวน 90 สี ร่วมกับแผ่นสี NCS จำนวน 46 สี และสีฝุ่นบนจิตรกรรมฝาผนังไทย จำนวน 18 สี กรณีศึกษาที่ 3 ใช้ฐานข้อมูลสี จำนวน 1178 สี จากแผ่นสี Munsell จำนวน 1160 สี ร่วมกับสีฝุ่นบนจิตรกรรมฝาผนังไทย จำนวน 18 สี โดยสีฝุ่นจากจิตรกรรมฝาผนังไทย จำนวน 18 สี จะถูกใช้เป็นชุดสีทดสอบ เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าด้วย RMSE และค่าเฉลี่ยของค่าความแตกต่างสี CIEDE2000 ระหว่างค่าการสะท้อนแสงที่ได้จากการประมาณกับค่าการสะท้อนแสงที่วัดค่าได้ พบว่าผลเป็นดังนี้ กรณีศึกษาที่ 1 มีค่า 0.021 และ 2.89 กรณีศึกษาที่ 2 มีค่า 0.020 และ 3.03 กรณีศึกษาที่ 3 มีค่า 0.019 และ 2.78 ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐานด้วยวิธี One-Way ANOVA พบว่าค่าเฉลี่ยของค่าความแตกต่างสีในแต่ละกรณีศึกษาไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05-
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to estimate the spectral reflectance of colors on Thai mural paintings inside ordination hall of a Thai temple by using Wiener Estimation Method from multispectral images. Multispectral images were taken with a monochrome digital camera through 5 gelatin filters (Fujifilm BPB42, BPB45, BPB50, BPB55 and BPB60). UV-IR cut filter was placed in front of lens in order to block UV and IR. Fluorescent light at 6500 K was used as light sources. Three cases by using difference training set for estimating spectral reflectance were studied and compared with measurement reflectance. These cases were : Case One - 1300 Munsell colors; Case Two - 90 Munsell colors, 70 NCS colors and 18 mural colors paintings (154 colors); Case Three - 1160 Munsell and 18 mural paintings colors (1178 colors). Eighteen painting colors from mural painting were used as the test color set. When comparing the average RMSE and average color difference (CIEDE2000) between estimeated reflectances and measured reflectances the results are 0.021 and 2.89 for Case One, 0.020 and 3.03 for Case Two and 0.019 and 2.78 for Case Three respectively. Hypothesis was tested by One-Way ANOVA and the results is .05 significant for average color difference of every Cases is not different.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.65-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการประมาณค่าการสะท้อนแสงเชิงสเปกตรัมของสีในจิตรกรรมฝาผนังไทยจากภาพมัลติสเปกตรัม-
dc.title.alternativeSPECTRAL REFLECTANCE ESTIMATION OF COLORS IN THAI MURAL PAINTINGS FROM MULTISPECTRAL IMAGE-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีทางภาพ-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorChawan.K@Chula.ac.th,chawan.k@chula.ac.th-
dc.email.advisortsumura@faculty.chiba-u.jp-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.65-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5672065623.pdf4.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.