Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54936
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริพันธุ์ สาสัตย์-
dc.contributor.authorชนิดา ไวยสุตรา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:21:19Z-
dc.date.available2017-10-30T04:21:19Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54936-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอาการกลืนลำบากในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร คือ อายุ การรู้คิด ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความตระหนักรู้ในอาการกลืนลำบาก ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองและตำแหน่งรอยโรคหลอดเลือดสมอง กับอาการกลืนลำบากในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยของ โรงพยาบาลตำรวจและโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จำนวน 88 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบทดสอบสภาพสมองฉบับภาษาไทย แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน แบบประเมินความตระหนักรู้ในอาการกลืนลำบาก แบบประเมินความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง และแบบคัดกรองอาการกลืนลำบากในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง ประกอบไปด้วย แบบประเมินความพร้อมก่อนการกลืน และแบบประเมินการกลืนโดยตรง ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และตรวจสอบความเที่ยงโดยการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .84, .94, .92, .73 และแบบคัดกรองอาการกลืนลำบากในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองมีค่าความเที่ยง เท่ากับ .91 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยซ์ไบซีเรียล กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยสรุปได้ดังต่อไปนี้ 1. ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองมีอาการกลืนลำบาก ร้อยละ 59.1 2. อายุและความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับอาการกลืนลำบากในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .257; .820 ตามลำดับ) 3. ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และความตระหนักรู้ในอาการกลืนลำบาก มีความสัมพันธ์ทางลบกับอาการกลืนลำบากในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.795; -.657 ตามลำดับ) 4. การรู้คิดมีความสัมพันธ์กับอาการกลืนลำบาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (rpb = .581) 5. ตำแหน่งรอยโรคหลอดเลือดสมองไม่มีความสัมพันธ์กับอาการกลืนลำบาก-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this descriptive research were to study dysphagia in older person with stroke and to study the relationships between age, cognitive function, activities of daily living, awareness of symptom of dysphagia, severity of stroke and pathological brain location factors and dysphagia in older persons with stroke. Subject consisted of 88 hospitalized older persons with stroke in Thammasat University Hospital and Police General Hospital, and were selected using multi–stage random sampling technique. Research instruments were demographic questionnaires, MMSE -Thai 2002, Bartheal ADL Index, Awareness of symptom of dysphagia, NIHSS and GUSS which were tested for content validity and reliability. The reliabilities of Mini–MMSE -Thai 2002, Barthel ADL Index, Awareness symptom of dysphagia, NIHSS, were .84, .94, .92, .73 and the reliabilities of GUSS were .91 and .80 repectively. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient, and Point biserial Correlation Coefficient. Major findings were follows: 1. Fifty nine percent of older persons with stroke had dysphagia 2. Age and severity of stroke were significantly positive correlated with dysphagia in older person with stroke at the level of .05 (r = .257; .820 respectively) 3. Activities of daily living and awareness symptom of dysphagia were significantly negative correlated with dysphagia in older person with stroke at the level of .05 (r = -.795; -.657 respectively) 4. Cognitive function was significantly correlated with dysphagia in older person with stroke at the level of .05 (rpb = .581) 5. Pathological brain location was not significantly correlated with dysphagia in older person with stroke-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.645-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectโรคหลอดเลือดสมอง -- ผู้ป่วย-
dc.subjectภาวะการกลืนผิดปกติ-
dc.subjectCerebrovascular disease -- Patients-
dc.subjectDeglutition disorders-
dc.titleปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับอาการกลืนลำบากในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง-
dc.title.alternativeSELECTED FACTORS RELATED TO DYSPHAGIA IN OLDER PERSONS WITH STROKE-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.645-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5677170736.pdf4.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.