Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54940
Title: ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงในสตรีผู้ใช้แรงงานที่มีภาวะน้ำหนักเกิน
Other Titles: FACTORS PREDICTING HYPERTENSION PREVENTIVE BEHAVIORS AMONG OBESE LABOUR WOMEN
Authors: สิรินันท์ เจริญผล
Advisors: รัตน์ศิริ ทาโต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: ความดันเลือดสูงในสตรี -- การป้องกัน
น้ำหนักตัว -- การควบคุม
Hypertension in women -- Prevention
Body weight -- Regulation
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบบรรยายเชิงทำนายเพื่อศึกษาพฤติกรรมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง และปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันภาวะความดันหิตสูงในสตรีผู้ใช้แรงงานที่มีภาวะน้ำหนักเกิน กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีผู้ใช้แรงงานที่ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม อายุระหว่าง 18-59 ปี จำนวน 183 คน ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน เลือกโดยการคัดเลือกตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค ปัจจัยกระตุ้นการปฏิบัติ การรับรู้ความสามารถ และพฤติกรรมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงเท่ากับ .88, .84, .93, .89, .90, .96 และ .92 ตามลำดับ หาค่าความเที่ยงจากการคำนวนค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .76, .85, .87, .73, .83, .80 และ .77 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยและค่าสัมประสิทธิ์อีต้า ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงในสตรีผู้ใช้แรงงานที่มีภาวะน้ำหนักเกินโดยรวมอยู่ในระดับดี (x̄ =61.98, SD = 6.96) 2) ปัจจัยกระตุ้นการปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรค การรับรู้ต่ออุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค และการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงในสตรีผู้ใช้แรงงานที่มีภาวะน้ำหนักเกินได้ร้อยละ 33.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับปัจจัยด้านอายุ ลักษณะการทำงาน การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค พบว่า ไม่สามารถทำนายพฤติกรรมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงในสตรีผู้ใช้แรงงานที่มีภาวะน้ำหนักเกินได้
Other Abstract: This descriptive predictive research aimed to study hypertension preventive behaviors and identify predictive factors of hypertension preventive behaviors among obese labour woman. The sample was 183 obese labour women aged 18-59 years selected by a convenience sampling. The research instruments were a personal data form and a set of perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits, Perceived barriers, Cue to action, Self-efficacy in preventive behaviors and Hypertension preventive behaviors questionnaires. They were tested for content validity by 5 experts. Their content validity index were .88, .84, .93, .89, .90, .96 and .92, respectively. Their Cronbach's alpha coefficients were .76, .85, .87, .73, .83, .80 and .77, respectively. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, Pearson's Product Moment Correlation, Eta coefficients, and stepwise multiple Regression. Major findings were as followed : 1) Hypertension preventive behaviors among obese labour women as at a high level (x̄ = 61.98, SD = 6.96). 2) Significant predictors of hypertension preventive behaviors were cue to action to prevent hypertension, perceived barriers to hypertension prevention behavior, perceived severity of hypertension and perceived susceptibility of hypertension. They could explain 33.8% of the variance in hypertension preventive behaviors among obese labour women. However, age, work characteristics, perceived benefits of hypertension preventive behaviors, and perceived Self-efficacy in hypertension preventive behaviors could not predict hypertension preventive behaviors among obese labour women.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54940
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.647
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.647
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5677217636.pdf4.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.