Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54974
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรุณี หงษ์ศิริวัฒน์-
dc.contributor.advisorปทีป เมธาคุณวุฒิ-
dc.contributor.authorบุญรอด โชติวชิรา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:22:03Z-
dc.date.available2017-10-30T04:22:03Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54974-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการศึกษาข้ามวัฒนธรรมของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและประเทศสาธารณรัฐเกาหลีใต้ 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและประเทศสาธารณรัฐเกาหลีใต้ 3) พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาข้ามวัฒนธรรมของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและประเทศสาธารณรัฐเกาหลีใต้ และ 4) นำเสนอแนวทางการจัดการศึกษาข้ามวัฒนธรรมของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศในระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย อาจารย์คนไทยที่สอนภาษาไทยระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยจำนวน 6 สถาบัน รวม 35 คน และอาจารย์คนไทยและคนเกาหลีใต้ที่สอนภาษาไทยระดับปริญญาตรีในประเทศสาธารณรัฐเกาหลีใต้ จำนวน 2 สถาบัน รวม 14 คน นักศึกษาเกาหลีใต้ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1–4 ที่เรียนภาษาไทยเป็นวิชาเอก ในประเทศสาธารณรัฐเกาหลีใต้จำนวน 2 สถาบัน รวมจำนวน 80 คน และนักศึกษาเกาหลีใต้ที่แลกเปลี่ยนมาเรียนภาษาไทยที่ประเทศไทยในมหาวิทยาลัยของประเทศไทยทั้ง 6 สถาบัน รวมจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์และศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการศึกษาข้ามวัฒนธรรมของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและประเทศสาธารณรัฐเกาหลีใต้ พบว่า 1) ด้านแนวคิดการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศในระดับปริญญาตรี ผลจากความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษาเกาหลีใต้ทั้งในประเทศไทยและประเทศสาธารณรัฐเกาหลีใต้ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก แต่อาจารย์ที่สอนอยู่ในมหาวิทยาลัยในประเทศสาธารณรัฐเกาหลีใต้มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 2) ด้านการจัดการศึกษาข้ามวัฒนธรรมของการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศในระดับปริญญาตรี ผลจากความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษาเกาหลีใต้มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากเหมือนกัน 3) ด้านการจัดการศึกษาข้ามวัฒนธรรมของการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศในระดับปริญญาตรีให้แก่นักศึกษาเกาหลีใต้ ผลจากความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษาเกาหลีใต้มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากเหมือนกัน 2. ผลจากการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการจัดเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและประเทศสาธารณรัฐเกาหลีใต้ พบว่า 1) ด้านบริบทหรือภาวะแวดล้อมภายนอก ผลจากความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษาเกาหลีใต้มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก แต่อาจารย์จากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ด้านปัจจัยนำเข้า อาจารย์จากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและในประเทศสาธารณรัฐเกาหลีใต้มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก แต่นักศึกษาเกาหลีใต้จากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและในประเทศสาธารณรัฐเกาหลีใต้มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 3) ด้านกระบวนการ อาจารย์และนักศึกษาเกาหลีใต้จากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก แต่อาจารย์จากมหาวิทยาลัยในประเทศสาธารณรัฐเกาหลีใต้มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง และ 4) ด้านผลผลิต อาจารย์และนักศึกษาเกาหลีใต้มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากเหมือนกัน 3. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาข้ามวัฒนธรรมของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและประเทศสาธารณรัฐเกาหลีใต้โดยใช้ชื่อว่า “พีบิมบับ โมเดล” (bibimbab Model) 4. แนวทางการจัดการศึกษาข้ามวัฒนธรรมของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศในระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ได้แนวทางทั้งหมด 7 ด้าน ได้แก่ แนวทางการบริหารจัดการ แนวทางการพัฒนาหลักสูตร แนวทางการจัดการเรียนการสอน แนวทางการสร้างเครือข่าย แนวทางด้านการประชาสัมพันธ์ แนวทางด้านการจัดสรรงบประมาณ และแนวทางด้านการประเมินและติดตามผล-
dc.description.abstractalternativeThis research had four objectives: 1) to study the present-day situation of cross-cultural instructional management of the curriculum and instructional management of Thai as a foreign language at the undergraduate level at universities in Thailand and the Republic of Korea, 2) to analyze factors which impact the effectiveness of instructional management of Thai as a foreign language at the undergraduate level at universities in Thailand and the Republic of Korea, 3) to propose the model of cross-cultural curriculum and instructional management of Thai as a foreign language at the undergraduate level at universities in Thailand and the Republic of Korea, and 4) to provide guidelines for managing cross-cultural education of the curriculum and instructional management of Thai as a foreign language at the undergraduate level at universities. The samples were 6 universities in Thailand which were 35 Thai language teachers teaching Thai to undergraduates, 14 Thai teachers and South Korean teachers teaching Thai at 2 universities in Korea, 80 South Korean students at 2 universities in Korea, and 30 South Korean exchange students in Thailand. The research instruments were the questionnaire and the interview. The data were analyzed by using frequency, percentage, mean and standard deviation. The results were summarized as follows. 1. An analysis of the present situation of cross-cultural instructional management of the curriculum and instructional management of Thai as a foreign language at the undergraduate level showed that 1) concerning the notion of teaching Thai as a foreign language at the undergraduate level, South Korean teachers and students from universities in Thailand and Korea strongly agreed with it, whereas teachers from universities in Korea moderately agreed, 2) As for cross-cultural instructional management of teaching Thai as a foreign language to undergraduates, South Korean teachers and students strongly agreed with it, 3) Relating to cross-cultural instructional management of teaching Thai as a foreign language to South Korean undergraduates, South Korean teachers and students also strongly agreed with it. 2. An analysis of factors influencing the effectiveness of instructional management of teaching Thai as a foreign language to South Korean undergraduates indicated that 1) regarding context or external environment, South Korean teachers and students strongly agreed with its influence, and teachers from universities in Thailand completely agreed, 2) In terms of input, teachers strongly agreed with its effects, but South Korean students moderately agreed, 3) As far as the process is concerned, South Korean teachers and students strongly agreed with its impact, while South Korean teachers in Korea moderately agreed, and 4) regarding the product, South Korean teachers and students both strongly agreed with its influence. 3. The proposed model of the cross-cultural of the curriculum and instructional management of Thai as a foreign language at the undergraduate level at universities in Thailand and the Republic of Korea was designed as the “Bibimbab Model” 4. Guidelines for cross-cultural instructional management of teaching the Thai language at the undergraduate level at universities in Thailand and other countries were developed in 7 aspects: Guidelines for management, Guidelines for curriculum development, Guidelines for organizing instruction, Guidelines for connection and collaboration, Guidelines for public relations, Guidelines for budgetary and financial administration, Guidelines for evaluation.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1290-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน -- เกาหลี (ใต้)-
dc.subjectภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน -- ไทย-
dc.subjectThai language -- Study and teaching -- Korea (South)-
dc.subjectThai language -- Study and teaching -- Thailand-
dc.titleรูปแบบการจัดการศึกษาข้ามวัฒนธรรมของการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและประเทศสาธารณรัฐเกาหลีใต้-
dc.title.alternativeA MODEL OF CROSS-CULTURAL EDUCATIONAL MANAGEMENT OF BACHELOR'S DEGREEIN THAI AS A FOREIGN LANGUAGE OF THAI UNIVERSITIES AND REPUBLIC OF KOREA UNIVERSITIES-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineอุดมศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorArunee.Ho@Chula.ac.th,Arunee.Ho@chula.ac.th-
dc.email.advisormpateep@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.1290-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684216027.pdf11.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.