Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54979
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยศวีร์ สายฟ้า-
dc.contributor.advisorสมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต-
dc.contributor.authorธัญนุช สิงหพันธุ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:22:10Z-
dc.date.available2017-10-30T04:22:10Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54979-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการอดทนรอคอยตามแนวคิดการมีสติร่วมกับทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลในนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 (2) เปรียบเทียบความสามารถในการอดทนรอคอย ก่อนและหลังจากการจัดกิจกรรมการสอนจากโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิดการมีสติร่วมกับทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผล (3) เปรียบเทียบความสามารถในการอดทนรอคอยระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง หลังจากจัดกิจกรรมการสอนจากโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิดการมีสติร่วมกับทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผล ในโรงเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช) จำนวน 2 ห้อง แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้อง จำนวนนักเรียน 33 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 1 ห้อง จำนวนนักเรียน 33 คน ใช้เวลาในการทดลอง 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดการอดทนรอคอย แบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนสำหรับครูและผู้ปกครอง และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ โปรแกรมเสริมสร้างการอดทนรอคอยตามแนวคิดการมีสติร่วมกับทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลในนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 มีหลักการ คือ (1) นักเรียนเรียนรู้ที่จะชะลอความพึงพอใจจากการควบคุมตนเองตามแนวคิดการมีสติ ด้วยการควบคุมพฤติกรรมตนเอง ปราศจากการตีความและไม่ตัดสินสถานการณ์จากอารมณ์ของตนเองผ่านการทำกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้ฝึกการมีสติจากสถานการณ์จำลองที่กำหนดให้ (2) นักเรียนแสดงพฤติกรรมการอดทนรอคอยภายใต้การรับรู้บรรทัดฐานของกลุ่มอ้างอิง ทัศนคติของบุคคลที่เชื่อถือได้ และการมีแรงจูงใจในการแสดงพฤติกรรมการอดทนรอคอยจากความตั้งใจภายในจิตใจของเด็กเอง โปรแกรมนี้มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นฝึกสติ 2) ขั้นรับรู้ข้อมูล 3) ขั้นให้สถานการณ์และฝึกการมีสติและรับรู้เหตุผล 4) ขั้นแบ่งปันประสบการณ์ 5) ขั้นมีสติ นักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนตามโปรแกรมเสริมสร้างการอดทนรอคอยตามแนวคิดการมีสติร่วมกับทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลในนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 มีความอดทนรอคอยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 นักเรียนในกลุ่มทดลองเรียนตามโปรแกรมเสริมสร้างการอดทนรอคอยตามแนวคิดการมีสติร่วมกับทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลในนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 มีความอดทนรอคอยไม่แตกต่างกับกลุ่มควบคุมที่เรียนตามวิธีปกติ แต่พบว่า เวลาที่นักเรียนในกลุ่มทดลองอดทนรอคอยได้เพิ่มขึ้นทุกกรณี-
dc.description.abstractalternativeThis research is research and Development with purposes to (1) Develop program by using mindfulness and theory of reasoned action for the fourth grade students (2) Compare an ability of delayed gratification’s experimental group before using program enhancing delayed gratification by using mindfulness and the theory of reasoned action. Finally (3) Compare an ability of Delayed gratification between experimental and controlled group after using program enhancing delayed gratification by using mindfulness and the theory of reasoned action. This research evaluated the effectiveness of a program through experimental with 2 sample groups in private school under Office of the Private Education Commission OPEC. Each group consists of 33 students. The duration of experiment was 12 weeks. The research instrument including Delayed gratification measurement, observation sheets for teachers and parents and constructed interview. The data were analyzed by arithmetic mean, standard deviation and t-test. The research results could be summarized as follows. The program is enhancing delayed gratification by using mindfulness and the theory of reasoned action in the fourth grade was conducted under 2 principles with are (1) students have delayed gratification behaviors according to mindfulness without any interpreting by using stimulation situations (2) students know reason that delayed gratification behaviors are suitable under social norm, an attitude of person who believed and the person inside’s motivation. There are 5 stages of the process; (1) mindfulness practicing (2) information recognizing (3) situational for mindfulness and TRA practicing (4) experiences sharing and (5) mindfulness having. After experiment, students who participated in the experimental group with the program enhancing delayed gratification by using mindfulness and the theory of reasoned action in the fourth grade were significant. They had demonstrated their delayed gratification time at .05 level. After experiment, students who participated in the experimental group with the program enhancing delayed gratification by using mindfulness and the theory of reasoned action in the fourth grade when compared with the controlled group, there were not significant different.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1232-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างการอดทนรอคอยตามแนวคิดการมีสติร่วมกับทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลในนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-
dc.title.alternativeDEVELOPMENT OF PROGRAM ENHANCING DELAY GRATIFICATION USING MINDFULNESS AND THEORY OF REASONED ACTION FOR FORTH GRADE STUDENTS-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineหลักสูตรและการสอน-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorYotsawee.Sa@chula.ac.th,yotsawee.s@gmail.com-
dc.email.advisorisompoch@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.1232-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684458627.pdf4.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.