Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54981
Title: กลยุทธ์การบริหารวิชาการตามแนวคิดการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหากับภาษาและสมรรถนะทางภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษา
Other Titles: ACADEMIC MANAGEMENT STRATEGIES ACCORDING TO CLIL AND ENGLISH COMPETENCY OF SECONDARY SCHOOL STUDENTS
Authors: ชูขวัญ รัตนพิทักษ์ธาดา
Advisors: นันทรัตน์ เจริญกุล
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Nuntarat.C@Chula.ac.th,Nuntarat.C@Chula.ac.th
Pruet.S@Chula.ac.th
Subjects: ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน
กิจกรรมการเรียนการสอน
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
English language -- Study and teaching
Activity programs in education
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการตามแนวคิดการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหากับภาษาและสมรรถนะทางภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษา 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการตามแนวคิดการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหากับภาษาและสมรรถนะทางภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษา 3) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารวิชาการตามแนวคิดการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหากับภาษาและสมรรถนะทางภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษา 4) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการตามแนวคิดการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหากับภาษาและสมรรถนะทางภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างคือโรงเรียนมัธยมศึกษารัฐบาลสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลและดำเนินการในโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษแบบ English Program (EP) หรือMini English Program (MEP) จำนวน 136 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการตามแนวคิดการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหากับภาษาและสมรรถนะทางภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาประกอบด้วย 3 ประเด็นคือ การบริหารวิชาการ แนวทางการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหากับภาษา และสมรรถนะทางภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษา 2) สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการตามแนวคิดการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหากับภาษาและสมรรถนะทางภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.387) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.399) 3) จุดแข็งของการบริหารวิชาการตามแนวคิดการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหากับภาษาและสมรรถนะทางภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาคือ หลักสูตรสถานศึกษา และการวัดและประเมินผลนักเรียน จุดอ่อนคือ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ส่วนโอกาสคือสภาพเทคโนโลยีและนโยบายของรัฐบาล ภาวะคุกคามคือสภาพเศรษฐกิจและสภาพสังคม 4) กลยุทธ์การบริหารวิชาการตามแนวคิดการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหากับภาษาและสมรรถนะทางภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก คือ 1) กลยุทธ์เร่งยกระดับการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหากับภาษา 2) กลยุทธ์เพิ่มประสิทธิผลการวัดและประเมินผลตามแนวคิดการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหากับภาษา 3) กลยุทธ์พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหากับภาษา
Other Abstract: The research objectives were to 1) study the conceptual framework of academic management strategies according to CLIL and English competency of secondary students 2) study the current and the desirable states of academic management strategies according to CLIL and English competency of secondary students 3) study the strengths, weaknesses opportunities and threats of academic management strategies according to CLIL and English competency of secondary students 4) develop academic management strategies according to CLIL and English competency of secondary students. The research applied a mixed method approach. The samples were 136 world class standard schools with English program and/ or mini English program under the Office of Basic Education Commission. The research instruments were questionnaires and strategic evaluation form to testify feasibility and appropriateness of the strategies. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation and PNI modified. The results were as follows: 1) The conceptual framework consisted of 3 aspects: academic management, CLIL approach and English competency of secondary students 2) The current state as a whole was at the moderate level ( mean = 3.387) while the desirable state as a whole was at the high level ( mean = 4.399) 3) The strengths were the school curriculum according to CLIL and student measurement and evaluation, while the weakness was learning process development. The opportunities were technology and government policy, while threats were economy and society 4) The academic management strategies consisted of 3 strategies: (1) Uplifting learning process development in urgent according to CLIL; (2) Enhancing the effectiveness of measurement and evaluation; (3) Developing the school curriculum according to CLIL.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54981
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.542
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.542
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684480327.pdf9.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.