Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55007
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการใช้งาน แบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยีและการตอบสนองทางอารมณ์ภายใต้การใช้งานระบบบริหารจัดการการเรียนรู้
Other Titles: THE RELATIONSHIP BETWEEN USABILITY, TECHNOLOGY ACCEPTANCE MODEL (TAM), AND EMOTIONAL RESPONSES ON LEARNING MANAGEMENT SYSTEM (LMS)
Authors: ณัฐพร ผ่องแผ้ว
Advisors: อริศรา เจียมสงวนวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: arisara.j@chula.ac.th,arisara.j@chula.ac.th
Subjects: การรู้จักใช้เทคโนโลยี
การออกแบบกับเทคโนโลยี
Technological literacy
Design and technology
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความสามารถในการใช้งาน (Usability) เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ผู้ใช้ตัดสินใจนำเทคโนโลยีที่ได้สร้างขึ้นมาใหม่นั้นไปใช้งานจริง นอกจากนี้ยังมีการตอบสนองทางอารมณ์ (Emotion responses) และปัจจัยของแบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยี (Technology Acceptance Model - TAM) ที่อาจส่งผลต่อการตัดสินใจยอมรับและนำเทคโนโลยีหรือผลิตภัณฑ์ใหม่มาใช้งานจริงด้วยเช่นกัน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้ทำการศึกษาหาความสัมพันธ์ของความสามารถในการใช้งานและการตอบสนองทางอารมณ์ที่ส่งผลต่อปัจจัยต่างๆในแบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยี เพื่อเป็นประโยชน์ในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีให้มีคุณลักษณะที่ผู้ใช้จะตัดสินใจเลือกนำระบบนั้นๆไปใช้งานจริง นิสิตในคณะสายวิทยาศาสตร์จำนวน 30 คน ได้ทำการทดสอบความสามารถในการใช้งานระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ โดยข้อมูลระยะเวลาการทำงานสำเร็จ (วินาที) จำนวนหน้าที่เปลี่ยน (หน้า) และจำนวนคลิ๊กเมาส์ (ครั้ง) คะแนนความพึงพอใจ คะแนนอารมณ์เชิงบวก – ลบ และคะแนนการยอมรับเทคโนโลยี ของแต่ละงานทดสอบของการทดลองแต่ละรอบ จะถูกนำมาวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุเพื่อหาความสัมพันธ์ของแต่ละปัจจัยในความสามารถในการใช้งาน การตอบสนองทางอารมณ์ และการยอมรับเทคโนโลยี แบ่งตามการทดสอบในแต่ละรอบ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยที่สำคัญต่อความพึงพอใจในการใช้งานและการนำระบบไปใช้งานจริงเมื่อผู้ใช้ยังไม่เคยมีประสบการณ์การใช้งานมาก่อนคือ การตอบสนองทางอารมณ์เชิงบวก – ลบ และการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีให้มีความใช้งานง่ายอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอให้ผู้ใช้เกิดความพึงพอใจ ดังนั้นการออกแบบเพื่อให้เกิดการตอบสนองทางอารมณ์ในเชิงบวกจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดความพึงพอใจและนำไปสู่การตัดสินใจใช้งานผลิตภัณฑ์นั้นๆมากขึ้น
Other Abstract: One of factors that users considered to adopt a new technology is Usability. Moreover, emotional response and factors of Technology Acceptance Model were also important when users decided to adopt new technologies or products. Therefore, the purpose of this study is to investigate the relationship between usability, emotional responses, and factors in the technology acceptance model to be useful information in designing and developing the new technology which provide the satisfaction feature and led to the system adoption. Thirty students in the Faculty of Science were conducted the usability testing on LMS's using context. The completion time (seconds), number of pages change (pages), number of mouse clicks (times), emotion responses scores and technology acceptance scores were collected in each testing round. Multiple regression analysis was used to examine the relationship of each factor in the usability, emotional response, and technology acceptance model. The results indicated that emotional response and perceived ease of use were important factors which influence to the satisfaction and adoption the system when the first sight using. This shows that the technology which was designed to be easy to use alone may not be enough to satisfy. Therefore, the technology that consisted of positive emotional design along with ease to use will gain more probability to satisfy and adopt from user.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55007
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1086
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1086
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770170521.pdf17.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.