Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55084
Title: | ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการเสพแอมเฟตามีนซ้ำของวัยรุ่นชาย สถานบำบัดยาเสพติดของรัฐ |
Other Titles: | FACTORS RELATED TO SELF-EFFICACY FOR AMPHETAMINE RELAPSE PREVENTION AMONG MALE ADOLESCENTS, GOVERNMENT DRUG ABUSE TREATMENT CENTERS |
Authors: | จุไรพร สัมพุทธานนท์ |
Advisors: | จินตนา ยูนิพันธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Subjects: | แอมฟิตะมิน ยาเสพติด วัยรุ่นชาย Amphetamines Narcotics Teenage boys |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพันธเชิงบำบัด และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการเสพแอมเฟตามีนซ้ำของวัยรุ่นชายที่รับการบำบัดในสถานบำบัดยาเสพติดของรัฐ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเผชิญความเครียดในการป้องกันการเสพซ้ำ การสนับสนุนทางสังคม พันธเชิงบำบัด และแรงจูงใจในการเลิกเสพแอมเฟตามีนกับการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการเสพแอมเฟตามีนซ้ำของวัยรุ่นชายที่รับการบำบัดในสถานบำบัดยาเสพติดของรัฐ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 140 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยใช้แบบสอบถามเพื่อวัดตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ การเผชิญความเครียดในการป้องกันการเสพซ้ำ การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว การสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อน พันธเชิงบำบัด แรงจูงใจในการเลิกเสพแอมเฟตามีน และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการเสพแอมเฟตามีนซ้ำ แบบสอบถามทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเที่ยงของเครื่องมือ มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .89, .90, .93, .84, .85 และ .92 ตามลำดับ ผลการศึกษา พบว่า วัยรุ่นชายที่รับการบำบัดในสถานบำบัดยาเสพติดของรัฐมีพันธเชิงบำบัดอยู่ในระดับมาก (x =3.62) และมีการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการเสพแอมเฟตามีนซ้ำอยู่ในระดับปานกลาง (x =3.29) การเผชิญความเครียดในการป้องกันการเสพซ้ำโดยการแก้ปัญหาด้านการคิดและพฤติกรรม การเผชิญความเครียดในการป้องกันการเสพซ้ำโดยการมุ่งมั่นในการบังคับใจตนเอง การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว การสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อน พันธเชิงบำบัด และแรงจูงใจในการเลิกเสพแอมเฟตามีนมีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการเสพแอมเฟตามีนซ้ำของวัยรุ่นชายที่รับการบำบัดในสถานบำบัดยาเสพติดของรัฐอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (r=.422, 423, .340, .174, .300 และ .525 ตามลำดับ) และพบว่า แรงจูงใจในการเลิกเสพแอมเฟตามีนสามารถทำนายการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการเสพแอมเฟตามีนซ้ำได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยอธิบายความแปรปรวนของการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการเสพแอมเฟตามีนซ้ำ ได้ร้อยละ 27 (R2Adj = .270) |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study therapeutic alliance and self-efficacy for amphetamine relapse prevention among male adolescents in government drug abuse treatment centers and to explore relationship between relapse coping, social supports, therapeutic alliance, amphetamine abstinence motivation and self-efficacy for amphetamine relapse prevention among male adolescents in government drug abuse treatment centers. Research sample consisted of 140 male adolescents with amphetamine dependence, randomly selected by multistage sampling technique. Questionnaires were used to assess for relapse coping, family social support, friend’s social support, therapeutic alliance, amphetamine abstinence motivation and self-efficacy for amphetamine relapse prevention. All questionnaires were checked for content validity and reliability. Cronbach’s alpha of each questionnaire was .89, .90, .93, .84, .85 and .92 respectively. The finding indicated that the mean of therapeutic alliance of male adolescents received rehabilitation in government drug abuse treatment centers was at the high level (x =3.62) and self-efficacy for amphetamine relapse prevention was at the moderate level (x =3.29). There were positively and significantly relationship between cognitive and behavioral problem solving coping, abstinence focused coping, family social support, friend’s social support, therapeutic alliance, amphetamine abstinence motivation, and self-efficacy for amphetamine relapse prevention (r=.422, 423, .340, .174, .300 and .525 respectively), at the .05 level. Moreover, amphetamine abstinence motivation was the only predictor of self-efficacy for amphetamine relapse prevention which accounting for 27.0 % of the variance (R2Adj = .270), at the .05 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55084 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.618 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.618 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5777161136.pdf | 5.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.