Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55086
Title: ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์ของผู้ป่วยมะเร็งที่รักษาด้วยยาต้านมะเร็งชนิดรับประทานในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ
Other Titles: SELECTED FACTORS RELATED TO MEDICATION ADHRENCE OF CANCER PATIENTS RECEIVING ORAL ANTICANCER AGENTS IN TERTIARY HOSPITAL
Authors: บุณฑ์ราตรีส์ วานิชรัตนกุล
Advisors: สุรีพร ธนศิลป์
จรรยา ฉิมหลวง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Sureeporn.T@Chula.ac.th,s_thanasilp@hotmail.com,s_thanasilp@hotmail.com
Janya.C@Chula.ac.th
Subjects: มะเร็ง -- ผู้ป่วย
ยารักษามะเร็ง
มะเร็ง -- การรักษาด้วยยา
Cancer -- Patients
Antineoplastic agents
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์ (Descriptive correlational research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์ของผู้ป่วยมะเร็งที่รักษาด้วยยาต้านมะเร็งชนิดรับประทานในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ แรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว การรับรู้ความรุนแรงของอาการ การรับรู้ความรุนแรงของโรคมะเร็ง การรับรู้ประโยชน์ของการรักษา ความเชื่อเกี่ยวกับความจำเป็นต่อการกินยา ความเชื่อเกี่ยวกับความกังวลต่อการกินยา กับพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์ของผู้ป่วยมะเร็ง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกประเภท ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งระยะเริ่มต้นจนถึงระยะลุกลาม และเข้ารับการรักษาด้วยยาต้านมะเร็งชนิดรับประทานในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ จำนวน 3 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 121 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว การรับรู้ความรุนแรงของอาการ การรับรู้ความรุนแรงของโรคมะเร็ง การรับรู้ประโยชน์ของการรักษา ความเชื่อเกี่ยวกับความจำเป็นต่อการกินยา ความเชื่อเกี่ยวกับความกังวลต่อการกินยา และพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์ของผู้ป่วยมะเร็ง ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.95, 1.0, 1.0, 1.0, 1.0, 1.0 และ 0.96 ตามลำดับ และมีค่าสัมประสิทธ์แอลฟาครอนบาค ได้เท่ากับ 0.94, 0.92, 0.89, 0.89, 0.89, 0.77 และ 0.82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์ของผู้ป่วยมะเร็งที่รักษาด้วยยาต้านมะเร็งอยู่ในระดับดี (Mean = 4.50, SD = 0.36) 2. แรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว และความเชื่อเกี่ยวกับความจำเป็นต่อการการกินยา มีความความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .40 และ .24 ตามลำดับ) ความเชื่อเกี่ยวกับความกังวลต่อการกินยามีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.24) อย่างไรก็ตาม การรับรู้ความรุนแรงของอาการ การรับรู้ความรุนแรงของโรคมะเร็ง และการรับรู้ประโยชน์ของการรักษาไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์ (r = .05, .11, และ .04 ตามลำดับ, p > .05)
Other Abstract: This study was descriptive correlational research. The purposes were to describe medication adherence in cancer patients receiving oral anticancer agents in tertiary hospital and study relationships between selected factors; social support from family, perceived severity of symptoms, perceived severity of cancer, perceived benefit of treatment, beliefs about the necessity of medication, beliefs about the concern of medication and medication adherence. Multi-Stage sampling was used to recruit 121 cancer patients who received oral anticancer agents in 3 tertiary hospitals in Bangkok. The research instruments comprised of demographic data form, social support from family scale, perceived severity of symptoms scale, perceived severity of cancer scale, perceived benefit of treatment scale, beliefs about the necessity of medication scale, beliefs about the concern of medicine scale and medication adherence scale. The questionnaires were tested for their content validity index (CVI) by five experts. Their CVI were 0.95, 1.0, 1.0, 1.0, 1.0, 1.0, and 0.96, respectively. Their Cronbach’s alpha coefficients were 0.94, 0.92, 0.89, 0.89, 0.89, 0.77, and 0.82, respectively. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, median, standard deviation, Pearson correlation coefficient. The results revealed that: 1. Medication adherence in cancer patients receiving oral anticancer agents was at good level (Mean = 4.50, SD = 0.36). 2. Social support from family and beliefs about the necessity of medicine were positively related to medication adherence in cancer patients at statistical significant level of .05(r = .40, and .24, respectively). In addition, beliefs about the concern of medicine was negatively related to medication adherence in cancer patients at statistical significant level of .05 (r = -.24). However perceived severity of symptoms, perceived severity of cancer and perceived benefit of treatment were not related to medication adherence in cancer patients (r = .04, .11, and .04 respectively, p > .05).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55086
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.611
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.611
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5777173736.pdf5.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.