Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55088
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปชาณัฏฐ์ ตันติโกสุม | - |
dc.contributor.advisor | ยุพิน อังสุโรจน์ | - |
dc.contributor.author | พนารัตน์ ศรีฉายา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2017-10-30T04:25:27Z | - |
dc.date.available | 2017-10-30T04:25:27Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55088 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทำนาย เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจทำนายระหว่างความรู้เรื่องอาหาร ทัศนคติต่ออาหาร การสนับสนุนจากครอบครัว การสนับสนุนความมีอิสระในตนเอง และการเข้าถึงแหล่งอาหาร กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยทั้งเพศชายและเพศหญิงอายุ 40-59 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยอยู่ในกลุ่มโรคหลอดเลือดหัวใจ จำนวน 128 คน ที่เข้ารับการตรวจรักษาในแผนกผู้ป่วยนอก คลินิกโรคหัวใจ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 4 แห่ง โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดความรู้เรื่องอาหาร 3) แบบวัดทัศนคติต่ออาหาร 4) แบบวัดการสนับสนุนจากครอบครัว 5) แบบวัดการสนับสนุนความมีอิสระในตนเอง 6) แบบวัดการเข้าถึงแหล่งอาหาร และ 7) แบบวัดพฤติกรรมการบริโภคอาหาร แบบสอบถามได้ค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.93, 0.90, 1.00, 0.95, 0.93 และ 0.98 ตามลำดับ และหาค่าความเที่ยงได้เท่ากับ 0.77, 0.74, 0.95, 0.94, 0.87 และ 0.82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 49.28 (SD = 4.68) 2. ความรู้เรื่องอาหาร ทัศนคติต่ออาหาร การสนับสนุนจากครอบครัว การสนับสนุนความมีอิสระในตนเอง และการเข้าถึงแหล่งอาหาร มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .224, .204, .320, .319 และ .343 ตามลำดับ) 3. ปัจจัยที่ร่วมกันทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ การเข้าถึงแหล่งอาหาร (Beta = .262) และการสนับสนุนจากครอบครัว (Beta = .225) โดยสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจได้ร้อยละ 16.2 (R2 = .162) | - |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research study was to examine the relationships and predictability of factors affecting dietary behavior in patients with coronary artery disease. One hundred and twenty-eight out-patients with coronary artery disease (both males and females) aged between 40 and 59 years were recruited from Heart clinics from 4 tertiary hospitals in Metropolitan Bangkok using a multi-stage sampling technique. The research instruments were composed of questionnaires to obtain 1) demographic information; 2) measure of patient knowledge of heart healthy food; 3) measure of patients’ attitude to heart healthy food; 4) measure of family support; 5) measure of autonomy support; 6) measure of accessibility to heart healthy food; and 7) dietary behavior scale. The content validity of these questionnaires were 0.93, 0.90, 1.00, 0.95, 0.93, and 0.98, respectively with reliabilities of 0.77, 0.74, 0.95, 0.94, 0.87, and 0.82, respectively. Descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation coefficient and stepwise multiple regression were used to analyze the data. The findings were as follows: 1. The mean score of dietary behavior among patients with coronary artery disease was good (Mean = 49.28, SD = 4.68) 2. Patient knowledge of heart healthy food, attitude to heart healthy food, family support, autonomy support, and accessibility to heart healthy food were positively correlated to dietary behavior in patients with coronary artery disease at the level of significance of .05 (r = .224, .204, .320, .319, and .343, respectively). 3. The factors that predicted dietary behavior in patients with coronary artery disease at a statistical significance level of .05 were accessibility to heart healthy food (Beta = .262) and family support (Beta = .225). Predictive factors accounted for 16.2 percent of dietary behavior in patients with coronary artery disease. (R2 = .162). | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.621 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค -- ผู้ป่วย | - |
dc.subject | การบริโภคอาหาร (เศรษฐศาสตร์) | - |
dc.subject | Coronary heart disease -- Patients | - |
dc.subject | Food consumption | - |
dc.title | ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ | - |
dc.title.alternative | PREDICTING FACTORS OF DIETARY BEHAVIORS IN PATIENTS WITH CORONARY ARTERY DISEASE | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | พยาบาลศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.621 | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5777178936.pdf | 10.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.