Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55093
Title: ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุกลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันในโรงพยาบาลตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร
Other Titles: FACTORS PREDICTING SELF MANAGEMENT IN OLDER PERSONS WITH ACUTE CORONARY SYNDROME IN TERTIARY HOSPITALS, BANGKOK
Authors: ภรปภา จันทร์ศรีทอง
Advisors: ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์
สุพจน์ ศรีมหาโชตะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค
ผู้สูงอายุ -- การดูแลรักษาในโรงพยาบาล
Coronary heart disease
Older people -- Hospital care
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย(Predictive Correlation Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และปัจจัยทำนาย ได้แก่ เพศ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน ความเปราะบาง ภาวะโรคร่วม และการสนับสนุนจากครอบครัว กับพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุกลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่างอายุ 60 ปีขึ้นไป ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นกลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน ที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรมโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 56 คน และโรงพยาบาลตำรวจ 55 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเอง 3) แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน 4) แบบประเมินเรื่องความเปราะบาง และ5) แบบสอบถามการสนับสนุนจากครอบครัว ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามได้เท่ากับ 0.97, 0.91, 0.80 และ 0.99 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน และสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบถดถอยแบบใช้ทุกตัวแปรเป็นตัวทำนาย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้สูงอายุกลุ่มอาการโรคหัวใจเฉียบพลัน มีพฤติกรรมการจัดการตนเองโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x = 63.19, SD=11.68) 2. การสนับสนุนจากครอบครัว, การรับรู้สมรรถนะแห่งตนมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูงกับพฤติกรรมการจัดการตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= 0.739 และ r= 0.738), เพศมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุกลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (r=0.169) ความเปราะบาง มีความสัมพันธ์ทางลบระดับปานกลางกับพฤติกรรมการจัดการตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= -.599) ภาวะโรคร่วมไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการตนเอง 3. การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนจากครอบครัว เพศ และความเปราะบาง สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของกลุ่มตัวอย่างได้ ร้อยละ69.6 (R2 = .696) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research study was to examine the relationships and prediction of predicting factor (including gender, self-efficacy, frailty, comorbidity and family support) on self-management in older person with acute coronary syndrome. One hundred and eleven out patients of Chulalongkorn memorial hospital and Police hospital who had diagnosis of acute coronary syndrome aged more than 60 years old. The instruments were composed of 1. Demographic information 2. Self-management questionnaires 3. Self-efficacy questionaires 4. Edmonton Frail scale and 5. Family support questionaires. The reliabilities of these questionaires were 0.97, 0.91, 0.80 and 0.99, respectively. Descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation coefficient and multiple regression were used to analyze data. The major findings were as follows: 1. The mean score of self-management among older person with acute coronary syndrome was high (x = 63.19, SD=11.68) 2. Family support, self-efficacy, gender were positively related to self-management at level of .05 (r=.739, .738, .169) frailty was negative related to self-management at level .05 (r= -.599) Comorbidity was not related to self-management 3. Self-efficacy, family support, gender and frailty were predicted of self-management of older person with acute coronary syndrome 69.6% (R2 = 69.6, p<.05)
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55093
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.642
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.642
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5777184636.pdf4.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.