Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55096
Title: ผลของโปรแกรมการสอนสุขภาพโดยใช้ประสบการณ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุโรคพาร์กินสัน
Other Titles: THE EFFECT OF EXPERIENTIAL HEALTH EDUCATION ON FALL PREVENTION BEHAVIORS IN OLDER PEOPLE WITH PARKINSON,S DISEASE
Authors: สายสมร พุ่มพิศ
Advisors: ศิริพันธุ์ สาสัตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Siriphun.S@Chula.ac.th,sisasat@gmail.com
Subjects: การหกล้มในวัยสูงอายุ -- การป้องกัน
โรคพาร์กินสัน
Falls (Accidents) in old age) -- Prevention
Parkinson's disease
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสอนสุขภาพโดยใช้ประสบการณ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุโรคพาร์กินสัน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคพาร์กินสันทั้งเพศชายและหญิงที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกโรคพาร์กินสัน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 44 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 22 คน โดยจับคู่ให้มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน (matched pair) ในด้าน อายุ เพศ และการได้รับยา Levodopa กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสอนสุขภาพโดยประสบการณ์ระยะเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติของคลินิกโรคพาร์กินสัน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการสอนสุขภาพโดยการใช้ประสบการณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม เครื่องมือที่ใช้กำกับการทดลอง คือ แบบประเมินความรู้เรื่องการปฏิบัติการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุโรคพาร์กิน และหาค่าความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาค แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม ด้านการป้องกันจากผู้สูงอายุโรคพาร์กินสันและด้านการป้องกันจากปรับสภาพแวดล้อม เท่ากับ .73 และ.76 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบค่าทีโดยกำหนดนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้สูงอายุโรคพาร์กินสันที่เข้าร่วมโปรแกรมการสอนโดยใช้ประสบการณ์มีพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มดีกว่าก่อนได้เข้าร่วมการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผู้สูงอายุโรคพาร์กินสันที่เข้าร่วมโปรแกรมการสอนโดยใช้ประสบการณ์มีพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ ไม่สามารถสรุปได้ เนื่องจากมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มตั้งแต่ก่อนการทดลอง
Other Abstract: The quasi experimental research with two group pretest-posttest design aimed to study the effect of experiential health education on fall prevention behaviors in older people with Parkinson’s disease. The participants consisted of both male and female older persons Parkinson’s disease who received medical services at the Parkinson’s disease clinic of King Chulalongkorn Memorial Hospital. The purposive sampling consisted of 44 older persons and random assignment to control and experiment group with similar characteristics in terms of age, gender, and usage levodopa drug. The experimental group underwent program of experiential health education and the control group received conventional care. Perceived program of experiential health education was performed once a week for 8 weeks. The instruments was program of experiential health education. Data were collected using demographic questionnaire, Fall prevention behavior questionnaire in older Parkinson's disease. The reliability of Fall prevention behavior questionnaire in older Parkinson's disease; prevention from older Parkinson's disease and prevention from home environment were .73 and .76. The data were analyzed using mean, percentage, standard deviation, and t-test. The significant difference was set at the .05 level. The research results were summarized as follows 1. Older persons with Parkinson’s disease after participating in program of experiential health education had statistically significant fall prevention behavior better than before participating the program of experiential health education at the level of .05 2. Older persons with Parkinson’s disease who participated in program of experiential health education had statistically significant fall prevention behavior better than the control groups who received conventional care, but unable to conclude hypothesis, because there were differences since before trial.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55096
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.640
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.640
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5777197836.pdf5.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.