Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55097
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ประนอม รอดคำดี | - |
dc.contributor.advisor | สุนิศา สุขตระกูล | - |
dc.contributor.author | สินีนุช นันท์สูงเนิน | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2017-10-30T04:25:47Z | - |
dc.date.available | 2017-10-30T04:25:47Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55097 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้ตราบาปของผู้ป่วยติดสารแอมเฟตามีน และ2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยภายใน ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา สถานภาพสมรส การรับรู้สมรรถนะแห่งตน ภาวะซึมเศร้า และความต้องการการสนับสนุนทางสังคม ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ระบบบำบัด กับการรับรู้ตราบาปของผู้ป่วยติดสารแอมเฟตามีน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเพศหญิงและเพศชาย ที่เสพติดสารแอมเฟตามีนและเข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอก ของสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี ปทุมธานี จำนวน 242 คน จากผู้ป่วยที่มีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล, แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน, แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า,แบบประเมินความต้องการการสนับสนุนทางสังคม และ แบบประเมินการรับรู้ตราบาปในผู้ป่วยติดสารแอมเฟตามีนเครื่องมือทุกชุดได้รับการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน โดยเครื่องมือชุดที่ 2,3,4 และ 5 มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .84, .78, .92 และ .72 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ด้วยค่าสถิติไคสแควร์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์คอนติงเจนซี และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสันมีผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยติดสารแอมเฟตามีนส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 50.4 มีการรับรู้ตราบาปในระดับมาก 2. เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส และระบบการบำบัด ไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ตราบาปของผู้ป่วยติดสารแอมเฟตามีนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3. การรับรู้สมรรถนะแห่งตน มีความสัมพันธ์ทางลบกับการรับรู้ตราบาปของผู้ป่วยติดสารแอมเฟตามีน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.228) ความต้องการการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ตราบาปของผู้ป่วยติดสารแอมเฟตามีน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.220) และภาวะซึมเศร้า มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ตราบาปของผู้ป่วยติดสารแอมเฟตามีน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.140) | - |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this descriptive correlation research were 1) To study the perceived stigma of patients with amphetamine dependence and 2) To study the correlation between perceived stigma and internal factors including gender, age, education, marital status, self-efficacy, depression and social support need. External factors included treatment systems in patients with amphetamine dependence. The samples were 242 male and female who met the inclusion criteria at Thanyarak Hospital, Pathumthani Province. The instruments in the research were Personal questionnaire, General perceived self - efficacy scale, The beck depression inventory, Need of social support scale and The perceived stigma of substance abuse scale. All instruments were verified for content validity by 5 professional experts. Cronbach’s alpha coefficient reliability were .84, .78, .92, and .72. The data were analyzed with descriptive statistics including Chi-square, Contingency coefficient and Pearson’s product moment correlation. Major findings were as follows: 1. Most of the patients with amphetamine dependence as were 50.4% have high perceived stigma. 2. Sex, age, education level, marital status and treatment systems were not significantly correlated to perceived stigma in patients with amphetamine dependence at .05 levels. 3. Self-efficacy had a negative correlation with perceived stigma, significantly at .05 level (r = -.228). Social support need had a positive correlation with perceived stigma in patients with amphetamine dependence significantly at .05 level (r = .220) and depression had a positive correlation with perceived stigma in patients with amphetamine dependence significantly at .05 level (r = .140). | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.636 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | แอมฟิตะมิน | - |
dc.subject | ความรู้สึกเป็นตราบาป | - |
dc.subject | คนติดยาเสพติด -- การฟื้นฟูสมรรถภาพ | - |
dc.subject | Amphetamines | - |
dc.subject | Stigma (Social psychology) | - |
dc.subject | Drug addicts -- Rehabilitation | - |
dc.title | ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ตราบาปของผู้ป่วยติดสารแอมเฟตามีน | - |
dc.title.alternative | SELECTED FACTORS RELATED TO PERCEIVED STIGMA OF PATIENTS WITH AMPHETAMINE DEPENDENCE | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | พยาบาลศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.636 | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5777198436.pdf | 3.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.