Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55103
Title: ผลของโปรแกรมการฝึกความกรุณาตนเองด้วยการเจริญสติต่ออาการซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
Other Titles: THE EFFECT OF MINDFUL SELF-COMPASSION TRAINING PROGRAM ON DEPRESSION IN PERSONS WITH DEPRESSIVE DISORDER
Authors: จินดามาศ ซีมหาสัจคุณ
Advisors: เพ็ญพักตร์ อุทิศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Penpaktr.U@Chula.ac.th,penpaktr_uthis@yahoo.com
Subjects: ความซึมเศร้า -- ผู้ป่วย
สติ (จิตวิทยา)
Depression, Mental -- Patients
Mindfulness (Psychology)
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) อาการซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการฝึกความกรุณาตนเองด้วยการเจริญสติ 2) อาการซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฝึกความกรุณาตนเองด้วยการเจริญสติ กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ที่เข้ารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลบางบัวทอง ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า จำนวน 40 คน ได้รับการจับคู่ด้วย เพศ และระดับคะแนนอาการซึมเศร้า และถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการฝึกความกรุณาตนเองด้วยการเจริญสติ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 3 ชุด คือ 1) เครื่องมือทดลอง คือ โปรแกรมการฝึกความกรุณาตนเองด้วยการเจริญสติ 2) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และ แบบประเมินภาวะซึมเศร้า และ 3) เครื่องมือกำกับการทดลอง คือ แบบวัดความครุ่นคิดต่อสถานการณ์ เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน แบบประเมินภาวะซึมเศร้าและแบบวัดความครุ่นคิดต่อสถานการณ์ มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .87 และ .84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. อาการซึมเศร้าของกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมการฝึกความกรุณาตนเองด้วยการเจริญสติ น้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. อาการซึมเศร้าของกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการฝึกความกรุณาตนเองด้วยการเจริญสติ น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: This research is a quasi-experimental pretest-posttest control group design. The objectives were to compare: 1) depressive symptoms of patients with depressive disorder before and after received mindful self-compassion training program, and 2) depressive symptoms of patients with depressive disorder who received mindful self-compassion training program and those who received regular nursing care. The samples of 40 patients with depressive disorder, who met the inclusion criteria, were receiving services in out-patients department, Bang Bua Thong Hospital. They were matched-pairs by sex and severity of depression and then randomly assigned to either the experimental or control groups, 20 subjects in each group. The experimental group received the mindful self-compassion training program, while the control group received the regular nursing care. Research instruments comprised of: 1) the experimental tool is mindful self-compassion training program, 2) data collection tools including demographic data form and Beck Depression Inventory Scale (BDI), and 3) the experimental monitoring tool is Ruminative Response Scale. The content validity of all instruments had verified by 5 professional experts. The Beck Depression Inventory Scale (BDI), and the Ruminative Response Scale had Cronbach's Alpha reliability as of .87 and .84, respectively. Descriptive statistics and t-test were used in data analysis. The conclusions of this research are as follows: 1) the depression score of persons with depressive disorder after received the mindful self-compassion training program was significantly lower than that before at the .05 level; 2) the depression score of persons with depressive disorder after received the mindful self-compassion training program was significantly lower than those who received regular nursing care at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55103
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.628
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.628
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5777305236.pdf3.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.