Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55108
Title: | ผลของโปรแกรมการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กสมาธิสั้น |
Other Titles: | THE EFFECT OF AGGRESSIVE BEHAVIOR MANAGEMENT PROGRAM IN CHILDREN WITH ATTENTION - DEFICIT HYPERACTIVITY DISORDER |
Authors: | พิกุลทอง กัลยา |
Advisors: | จินตนา ยูนิพันธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Subjects: | ด็กสมาธิสั้น -- การปรับพฤติกรรม ความก้าวร้าวในเด็ก Attention-deficit-disordered children -- Behavior modification Aggressiveness in children |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้ได้ใช้แบบแผนการวิจัยกึ่งทดลองสองกลุ่มที่ไม่เท่าเทียมกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้นก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวและเปรียบเทียบพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้นระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือเด็กสมาธิสั้นอายุ 6-12 ปี และผู้ปกครองที่มารับบริการรักษาแผนกผู้ป่วยนอกสถาบันราชานุกูล ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์โดยได้รับการจับคู่ (matched pair) และคัดเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจำนวนกลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับการดูแลโดยใช้โปรแกรมการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้น 3) โปรแกรมการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าว 4) คู่มือการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวที่บ้านสำหรับผู้ดูแลหลัก 5) แบบวัดความสามารถการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กสมาธิสั้นของผู้ดูแลหลัก เครื่องมือทุกฉบับได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และได้ค่าความเที่ยงของแบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวเท่ากับ .88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. พฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้น หลังได้รับโปรแกรมการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. พฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้นของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยครั้งนี้สนับสนุนว่า การใช้โปรแกรมการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวส่งผลทำให้พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กสมาธิสั้นลดลงและส่งเสริมให้เด็กมีพฤติกรรมที่ดี สามารถแสดงออกทางสังคมได้ดีขึ้น จึงควรเป็นส่วนหนึ่งของระบบบริการ การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชสำหรับเด็กสมาธิสั้น |
Other Abstract: | The purposes of this quasi-experimental research design using the nonequivalent comparison-group design were: to compare aggressive behaviors of children with ADHD before and after using aggressive behavior management program and 2) to compare aggressive behavior of children with ADHD using aggressive behavior management program and those who received regular caring activities. Forty of children with ADHD receiving services in outpatient department Rajanukul Institute, who met the inclusion criteria, were matched pair and then randomly assigned to experimental group and control group, 20 subjects in each group. The experimental group received aggressive behavior management program for 3 weeks, the control group received regular nursing care. Research instruments were: 1) personal data questionnaire, 2) aggressive behaviors assessment scale, 3)aggressive behavior management program manual for nurses, 4) a nurses teaching manual for parents on aggressive behavior management program for caregivers, 5) checklist on the aggressive behavior management program at home for caregivers. All instruments were content validated by a panel of 5 experts.The reliability of the aggressive behavior scale was .88. The t-test was used in data analysis. Major findings were as followed: 1. Aggressive behaviors of children with ADHD after using aggressive behavior management program was significantly less than that of before the treatment, at the .05 level. 2. Aggressive behaviors of children with ADHD received aggressive behavior management program was significantly less than those received regular nursing care, at the .05 level. The results of this study lead to recommendation for the use of aggressive behavior management program to decrease aggressive behavior and enhance better behaviors, that should be introduced in psychiatric mental health service for children with ADHD. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55108 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.626 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.626 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5777318436.pdf | 3.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.