Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55109
Title: ผลของโปรแกรมสัมพันธภาพบำบัดร่วมกับการดูแลต่อเนื่องทางโทรศัพท์ต่อพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาของผู้ป่วยจิตเภท
Other Titles: THE EFFECT OF THERAPEUTIC RELATIONSHIP COMBINED WITH TELEPHONE CONTINUING CARE PROGRAM ON MEDICAL ADHERENCE IN PERSONS WITH SCHIZOPHRENIA
Authors: รฐานุช โพธิ์งาม
Advisors: ยุพิน อังสุโรจน์
สุนิศา สุขตระกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: ผู้ป่วยจิตเภท -- การใช้ยา
การรักษาด้วยยา
Schizophrenics -- Drug utilization
Chemotherapy
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้ใช้แบบแผนการวิจัยกึ่งทดลอง เปรียบเทียบระหว่างสองกลุ่มที่ไม่เท่าเทียมกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) พฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาของผู้ป่วยจิตเภทก่อนและหลังได้รับโปรแกรมสัมพันธภาพบาบัดร่วมกับการดูแลต่อเนื่องทางโทรศัพท์ 2) พฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาของผู้ป่วยจิตเภทระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมสัมพันธภาพบาบัดร่วมกับการดูแลต่อเนื่องทางโทรศัพท์กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเภทมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กาหนด และเข้ารับการรักษาแผนกผู้ป่วยในที่สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา จานวน 30 คน ได้รับการจับคู่ให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันในเรื่อง เพศ และถูกสุ่มเข้ากลุ่มโดยเป็นกลุ่มทดลอง 15 คนและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมสัมพันธภาพบาบัดร่วมกับการดูแลต่อเนื่องทางโทรศัพท์ 2) คู่มือการดูแลตนเองหลังจาหน่ายสาหรับผู้ป่วยจิตเภท 3) แบบประเมินสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลและผู้ป่วย และ 4) แบบประเมินพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา โดยเครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจานวน 5 คน เครื่องมือชุดที่ 4 มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและการทดสอบ t-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยจิตเภทในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมสัมพันธภาพบาบัดร่วมกับการดูแลต่อเนื่องทางโทรศัพท์ มีพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา ในระยะหลังได้รับโปรแกรมสัมพันธภาพบาบัดร่วมกับการดูแลต่อเนื่องทางโทรศัพท์ทันที และหลังได้รับโปรแกรมสัมพันธภาพบาบัดร่วมกับการดูแลต่อเนื่องทางโทรศัพท์ 4 สัปดาห์ ดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมสัมพันธภาพบาบัดร่วมกับการดูแลต่อเนื่องทางโทรศัพท์ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผู้ป่วยจิตเภทระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมสัมพันธภาพบาบัดร่วมกับการดูแลต่อเนื่องทางโทรศัพท์ มีพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาดีขึ้นว่ากลุ่มที่รับการพยาบาลตามปกติ ทั้งในระยะหลังสิ้นสุดโปรแกรมสัมพันธภาพบาบัดร่วมกับการดูแลต่อเนื่องทางโทรศัพท์ทันที และหลังสิ้นสุดโปรแกรมสัมพันธภาพบาบัดร่วมกับการดูแลต่อเนื่องทางโทรศัพท์ 4 สัปดาห์อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: This research is a quasi-experimental nonequivalent group design. The objectives were to compare: 1) medical adherence of persons with schizophrenia before and after received therapeutic relationship combined with telephone continuing care program and 2) medical adherence of persons with schizophrenia who received therapeutic relationship combined with telephone continuing care program and those who received regular nursing care. The samples of 30 persons with schizophrenia who met the inclusion criteria were recruited from inpatient department, Somdetchaopraya Instituted of psychiatry. The samples were matched-pair with sex then randomly assigned into group either experimental 15 subjects and control group 15 subjects. The research instruments consisted of: 1) the therapeutic relationship combined with telephone continuing care program, 2) manual for after discharge care of schizophrenia patients, 3) the relationship between nurse and patient form, and 4) the medication adherence Scale. All instruments were verified for content validity by 5 professional experts. The 4th instruments had Cornbach’s alpha coefficient reliability of .88. The data was analyzed using descriptive statistics and t-test. The conclusions of this research were as follow: 1) Medical adherence of persons with schizophrenia who received therapeutic relationship combined with telephone continuing care program measured at the end of the intervention and at 4 weeks post intervention were significantly better than that pre intervention, (p < 0.05). 2) Medical adherence of persons with schizophrenia who received therapeutic relationship combined with telephone continuing care program measured at the end of the intervention and at 4 weeks post intervention were significantly better than those who received the regular nursing care, (p < 0.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55109
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.624
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.624
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5777322936.pdf4.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.