Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55128
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปริณดา ลิมปานนท์ พรหมรัตน์ | - |
dc.contributor.author | กรกนก เลิศเดชาภัทร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2017-10-30T04:26:59Z | - |
dc.date.available | 2017-10-30T04:26:59Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55128 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มที่เรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้การสืบสอบแบบร่วมมือรวมพลัง 2) เปรียบเทียบความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ระหว่างนักเรียนกลุ่มที่เรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้การสืบสอบแบบร่วมมือรวมพลังกับกลุ่มที่เรียนวิทยาศาสตร์ด้วยวิธีสอนแบบทั่วไป 3) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือรวมพลังของนักเรียนกลุ่มที่เรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้การสืบสอบแบบร่วมมือรวมพลัง และ 4) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือรวมพลังระหว่างนักเรียนกลุ่มที่เรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้การสืบสอบแบบร่วมมือรวมพลังกับกลุ่มที่เรียนวิทยาศาสตร์ด้วยวิธีสอนแบบทั่วไป กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 73 คน โดยกำหนด 2 กลุ่ม กลุ่มทดลองคือนักเรียนกลุ่มที่เรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้การสืบสอบแบบร่วมมือรวมพลัง 37 คน และกลุ่มควบคุมคือนักเรียนกลุ่มที่เรียนวิทยาศาสตร์ด้วยวิธีสอนแบบทั่วไป 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบวัดความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.68 และ 2) แบบสังเกตความสามารถรายบุคคลในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือรวมพลังที่มีค่าความเที่ยงระหว่างผู้สังเกตตั้งแต่ 0.98-1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ 82.14 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป จัดอยู่ในความสามารถระดับดีมาก โดยมีความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ในองค์ประกอบข้อกล่าวอ้างและหลักฐานอยู่ในระดับดีมาก และองค์ประกอบการให้เหตุผลอยู่ในระดับดี 2. นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาทั้งคะแนนรวม 3 องค์ประกอบและคะแนนองค์ประกอบข้อกล่าวอ้าง หลักฐาน และการให้เหตุผล 3. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือรวมพลัง เมื่อพิจารณาคะแนนรวม 3 สมรรถนะหลัก 2.71 คะแนน จากคะแนนเต็ม 3 คะแนน และมีความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือรวมพลังอยู่ในระดับสูงทั้งหมด เมื่อพิจารณาทั้งคะแนนรวม 3 สมรรถนะหลัก คะแนนสมรรถนะหลักที่ 1 การกำหนดและคงรักษาความเข้าใจที่มีร่วมกัน สมรรถนะหลักที่ 2 การเลือกวิธีการดำเนินการที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา และสมรรถนะหลักที่ 3 การกำหนดและคงรักษาระเบียบของกลุ่ม 4. นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือรวมพลังสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาทั้งคะแนนรวม 3 สมรรถนะหลัก คะแนนสมรรถนะหลักที่ 1 การกำหนดและคงรักษาความเข้าใจที่มีร่วมกัน สมรรถนะหลักที่ 2 การเลือกวิธีการดำเนินการที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา และสมรรถนะหลักที่ 3 การกำหนดและคงรักษาระเบียบของกลุ่ม | - |
dc.description.abstractalternative | This study was a quasi-experimental research. The purposes of this study were to 1) study the ability in scientific explanation making of an experimental group who learned science through collaborative inquiry, 2) compare the ability in scientific explanation making of students between experimental group and control group who learned science through the 5Es learning cycle model, 3) study the ability in collaborative problem solving of the experimental group, and 4) compare the ability in collaborative problem solving of students between experimental group and control group. The samples were 73 grade 8th students of a private school in Bangkok who studied in first semester of academic year 2016 which were divided into two groups. The research instruments were 1) the scientific explanation making test with reliability at 0.68, and 2) the individual observation form of collaborative problem solving ability with interrater reliability at 0.98-1.00. The collected data were analyzed by arithmetic mean, standard deviation, and t-test. The research findings were found that: 1. The mean percentage score of ability in scientific explanation making was 82.14 percent which was higher than the criterion score set at 50 percent. The total score of ability in scientific explanation making as well as its two component aspects in claim making and evidence identifying were at very good level. Meanwhile, the component aspect in reasoning was at good level. 2. Considering the total score and individual components of ability in scientific explanation making (claim making, evidence identifying, and reasoning), the experimental group had higher ability in scientific explanation making than the control group at a .05 level of significance. 3. The mean score of ability in collaborative problem solving was 2.71 out of 3. Considering the total score and individual competencies (establishing and maintaining shared understanding, taking appropriate action to solve the problem, and establishing and maintaining team organization), the score are all considered as high level. 4. Considering the total score and individual competencies (establishing and maintaining shared understanding, taking appropriate action to solve the problem, and establishing and maintaining team organization), the experimental group had higher ability in collaborative problem solving than the control group at .05 level of significance. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.265 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | ผลของการสืบสอบแบบร่วมมือรวมพลังที่มีต่อความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือรวมพลังของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น | - |
dc.title.alternative | EFFECTS OF COLLABORATIVE INQUIRY ON ABILITY IN SCIENTIFIC EXPLANATION MAKING AND COLLABORATIVE PROBLEM SOLVING OF LOWER SECONDARY SCHOOL STUDENTS | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | การศึกษาวิทยาศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Parinda.Li@chula.ac.th,Parinda.L@chula.ac.th,Parinda.L@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.265 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5783303927.pdf | 3.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.