Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55142
Title: | ผลของกลยุทธ์การแก้ปัญหาเชิงตรรกะที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย |
Other Titles: | EFFECTS OF A LOGICAL PROBLEM SOLVING STRATEGY ON PROBLEM SOLVING ABILITY AND LEARNING ACHIEVEMENT IN PHYSICS OF UPPER SECONDARY SCHOOL STUDENTS |
Authors: | รมิตา ชื่นเปรมชีพ |
Advisors: | พรเทพ จันทราอุกฤษฎ์ วรากร เฮ้งปัญญา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pornthep.Ch@chula.ac.th,Pornthep.Ch@chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์หลังเรียนของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กลยุทธ์การแก้ปัญหาเชิงตรรกะ (2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กลยุทธ์การแก้ปัญหาเชิงตรรกะกับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบทั่วไป (3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์หลังเรียนของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กลยุทธ์การแก้ปัญหาเชิงตรรกะ และ (4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์ของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กลยุทธ์การแก้ปัญหาเชิงตรรกะกับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบทั่วไป กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษาเขต 6 ฉะเชิงเทรา จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง 44 คนและกลุ่มควบคุม 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.86 ค่าความยากอยู่ในช่วง 0.49-0.77 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.33-0.46 และ (2) แบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.80 ค่าความยากอยู่ในช่วง 0.40-0.75 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.20-0.80 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กลยุทธ์การแก้ปัญหาเชิงตรรกะมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์เท่ากับร้อยละ 79.53 ซึ่งสูงกว่าร้อยละ 70 ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กลยุทธ์การแก้ปัญหาเชิงตรรกะจะมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์สูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 3. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กลยุทธ์การแก้ปัญหาเชิงตรรกะจะมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์เท่ากับร้อยละ 80.45 ซึ่งสูงกว่าร้อยละ 70 ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 4. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กลยุทธ์การแก้ปัญหาเชิงตรรกะจะมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์สูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 |
Other Abstract: | This study was a quasi-experimental research. The purposes of this study were to (1) study the problem solving ability of students, after learned physics through teaching a logical problem solving strategy, (2) compare problem solving ability of students between the experimental group that learned through a logical problem solving strategy and the control group that learned through a traditional method, (3) study the learning achievement of students, after learned physics through a logical problem solving strategy, and (4) compare the learning achievement of students between the experimental group and the control group. The sample were two classes of tenth grade students of extra-large sized school under the Secondary Educational Service Area Office 6, the Basic Education Commission of Thailand during the first semester of the academic year 2016 of 2 groups: the experimental group has 44 students and the control group has 46 students. The research instruments were (1) the problem solving ability test with the reliability at 0.86, the level of difficulty between 0.49-0.77, and the level of discrimination between 0.33-0.46, and (2) the learning achievement in physics test with the reliability at 0.80, the level of difficulty between 0.40-0.75, and the level of discrimination between 0.20-0.80. The collected data was analyzed by arithmetic mean, mean of percentage, standard deviation (S.D.) and t-test. The research findings were summarized as follows: 1. The experimental group had mean score on problem solving ability at the percentage of 79.53 which were higher than criterion set at the percentage of 70. 2. The experimental group had mean score on problem solving ability higher than the control group at 0.05 level of significance. 3. The experimental group had mean score on learning achievement in physics at the percentage of 80.45 which higher than criterion set at the percentage of 70. 4. The experimental group had mean score on learning achievement in physics higher than the control group at 0.05 level of significance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การศึกษาวิทยาศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55142 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.261 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.261 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5783448227.pdf | 4.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.