Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55146
Title: | ผลของการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย |
Other Titles: | EFFECTS OF BIOLOGY LEARNING MANAGEMENT BASED ON STEM EDUCATION APPROACH ON PROBLEM-SOLVING ABILITY AND BIOLOGY LEARNING ACHIEVEMENT OF UPPER SECONDARY SCHOOL STUDENTS |
Authors: | อาทิตย์ ฉิมกุล |
Advisors: | สกลรัชต์ แก้วดี นิพาดา เรือนแก้ว ดิษยทัต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Watcharaporn.K@Chula.ac.th,Sakolrat.K@chula.ac.th,watcharapornkwd@gmail.com,Sakolrat.K@chula.ac.th Nipada.R@chula.ac.th |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบศึกษากลุ่มเดียววัดสองครั้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนหลังเรียนรู้ชีววิทยาตามแนวคิดสะเต็มศึกษา 2) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนก่อนและหลังเรียนรู้ชีววิทยาตามแนวคิดสะเต็มศึกษา และ 3) วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาของนักเรียนหลังเรียนรู้ชีววิทยาตามแนวคิดสะเต็มศึกษา กลุ่มที่ศึกษา คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษแห่งหนึ่ง เขตวังทองหลาง จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ (1) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาก่อนเรียน (2) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียน และ (3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบกลุ่มที่ศึกษาไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนที่เรียนรู้ชีววิทยาตามแนวคิดสะเต็มศึกษามีร้อยละคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนเท่ากับ 76.35 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 75 จัดอยู่ในระดับดีมาก 2) นักเรียนที่เรียนรู้ชีววิทยาตามแนวคิดสะเต็มศึกษามีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่เรียนรู้ชีววิทยาตามแนวคิดสะเต็มศึกษามีร้อยละคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาหลังเรียนเท่ากับ 75.65 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 70 จัดอยู่ในระดับดี ในงานวิจัยนี้ยังพบว่าการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาตามแนวคิดสะเต็มศึกษาทำให้นักเรียน กลุ่มที่ศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาในด้านการนำความรู้หรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้อยู่ในระดับดีเยี่ยม ดังนั้นจึงควรศึกษาการประยุกต์ใช้สะเต็มศึกษากับเนื้อหาวิทยาศาสตร์อื่นต่อไป |
Other Abstract: | This study was one group pretest-posttest design research. The purposes of this study were to (1) analyse problem-solving abilities of students who learned biology based on STEM education; (2) compare problem-solving abilities between before and after learning biology based on STEM education; (3) analyse biology learning achievement of students after learning biology based on STEM education. The target group was fifty-two 11th grade students in a large size school in Bangkok. Research instruments were (1) problem-solving ability pretest, (2) problem-solving ability posttest, and (3) biology learning achievement test. The collected data were analysed by using arithmetic mean and standard deviation. The hypotheses of this research were tested by using t-test for dependent samples. The research findings were as follows: 1) The problem-solving abilities mean score of students who learned biology based on STEM education was 76.35 percent, which was higher than criterion score of 75%, and was at "very good" level. 2) The problem-solving abilities mean posttest score of students who learned biology based on STEM education was significantly higher than the mean pretest score (p = 0.05). 3) The biology learning achievement mean score of students who learned biology based on STEM education was 75.65 percent, which was higher than criterion score of 70%, and was at "good" level. The research also found that biology learning management based on STEM education can be used to promote students' learning achievement, specifically the application of scientific knowledge and methods. Therefore, the STEM education should be further investigated for other scientific content areas. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การศึกษาวิทยาศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55146 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.268 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.268 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5783457927.pdf | 4.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.