Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55155
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สันต์ สัมปัตตะวนิช | - |
dc.contributor.author | สุภาพงษ์ ตันสุภาพ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2017-10-30T04:28:09Z | - |
dc.date.available | 2017-10-30T04:28:09Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55155 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | - |
dc.description.abstract | จากงานสำรวจเกี่ยวกับการออมหลายชิ้นก่อนหน้าพบว่า แม้ผู้คนส่วนใหญ่จะมีการเก็บออม แต่ก็พบว่าการออมนั้นยังไม่เพียงพอต่อการเกษียณอายุ และคนวัยทำงานส่วนมากยังคงมีความกังวลใจเรื่องความเพียงพอของเงินที่ใช้ในยามเกษียณ ซึ่งการอธิบายปรากฏการดังกล่าวภายใต้ทฤษฎีวงจรชีวิต เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ การใช้กรอบแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมในเรื่องของการควบคุมตนเองมาอธิบายพฤติกรรมการออมในระดับบุคคล น่าจะอธิบายปรากฏการดังกล่าวได้ดียิ่งขึ้น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการควบคุมตนเอง รวมถึงผลกระทบของการใช้การผูกมัดตนเองในการออมที่มีต่อการออมของภาคครัวเรือน โดยจะศึกษาผ่านปริมาณการออม และโอกาสที่จะมีเงินเพียงพอหลังหลักจากเลิกทำงานประจำ ผ่านการสำรวจจากบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลในปี 2560 โดยใช้เครื่องมือทางเศรษฐมิติเข้ามาเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบ ผลการศึกษาผ่านปริมาณเงินออม และโอกาสที่จะมีเงินเพียงพอหลังจากเลิกทำงานประจำพบว่า การควบคุมตนเอง และการผูกมัดตนเองในการออมนั้นส่งผลทางบวกต่อปริมาณเงินออมต่อเดือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และในกลุ่มที่มีการออมเพื่อใช้หลังจากเลิกทำงานประจำนั้นพบว่า พฤติกรรมความลำเอียงกับปัจจุบันสามารถอธิบายความไม่สมเหตุสมผลของการออมได้เช่นกัน ในส่วนของโอกาสที่จะมีเงินเพียงพอหลังจากเลิกทำงานประจำนั้นพบว่า การควบคุมตนเอง ส่งผลทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน และพบว่าการผูกมัดตนเองในการออมนั้นสามารถช่วยให้ปริมาณเงินออมต่อเดือน และโอกาสที่จะมีเงินเพียงพอหลังจากเลิกทำงานประจำเพิ่มขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผูกมัดการออมในรูปแบบของการตั้งกฎต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อช่วยออม และลดสภาพคล่องของเงินออมนั้นเพื่อป้องกันการถอนเงินมาใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถส่งเสริมให้บุคลากรมีการออมที่ดีขึ้นได้โดยการปรับนโยบายให้บุคลากรทุกคนมีการออมผ่านกองทุนใดกองทุนหนึ่ง รวมถึงการเป็นสมาชิกสหกรณ์จุฬาฯตั้งแต่เมื่อเริ่มทำงานเพื่อเป็นหลักประกันในการออม รวมถึงการพัฒนาความรู้ทางการเงินให้แก่บุคลากร และส่งเสริมวินัยในการออมให้แก่บุคลากร | - |
dc.description.abstractalternative | From previous savings surveys, it was found that even though most people have savings, savings were not enough for retirement and most workers concern about the adequacy of their retirement savings. The explanation for these incidences under Life-Cycle Hypothesis may be not enough. By using a behavioral economics framework about self-control theory, these incidences can be explained more accurately. The purpose of this research is to study the influence of self-control and commitment devices on individual savings through factors of savings amounts and probability to save adequately for retirement. The selected population for this empirical study is Chulalongkorn University's employees. This study uses a questionnaire to collect data in 2017 and econometric approaches to analyze the impact. The results of this study show that self-control has a positive significant relationship with savings amounts and savings for long-term objectives can be explained by present-biased preferences as well. In case of probability to have enough money after retirement, this study found that self-control also has a positive significant relationship with probability to have enough money after retirement. Having saving rules along with making that savings illiquid is the most efficient method to increase savings amount and probability to have enough money after retirement. Associated departments can encourage employees to improve their savings by making all the employees have default savings through provident fund (PVD) including being a member of Chulalongkorn University cooperative since they begin working at Chulalongkorn University. Moreover, improving financial literacy and encouraging self-discipline in savings can also help the employees improve their savings. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.111 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | ผลกระทบของการควบคุมตนเองที่มีต่อการออม: กรณีศึกษาบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title.alternative | The Effect of Self-Control on Saving Behavior: A Case Study of Chulalongkorn University’s Employees | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | เศรษฐศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | San.S@Chula.ac.th,San.S@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.111 | - |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5785159229.pdf | 4.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.