Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5516
Title: แนวทางการนำแสงธรรมชาติมาใช้ในอาคารสถานีขนส่งเพื่อลดการใช้แสงประดิษฐ์ : กรณีศึกษา สถานีขนส่งผู้โดยสารหมอชิต 2
Other Titles: An approach to the utilization of daylighting in bus terminal for deduction of artificial light : a case study of Mhor Chit 2 Bus Terminal
Authors: อธินันท์ โสภาพงศ์
Advisors: ธนิต จินดาวณิค
พรรณชลัท สุริโยธิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: cthanit@chula.ac.th
sphancha@chula.ac.th
Subjects: แสงธรรมชาติ
การส่องสว่างภายใน
อาคาร -- การส่องสว่าง
สถานีขนส่งผู้โดยสารหมอชิต 2
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในเชิงเทคนิคและเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นในการนำแสงธรรมชาติเข้ามาใช้ภายในอาคารสถานีขนส่งเพื่อลดการใช้แสงประดิษฐ์ การศึกษาครั้งนี้ได้เลือกอาคารสถานีขนส่งผู้โดยสารหมอชิต 2 เป็นอาคารกรณีศึกษา เนื่องจากเป็นอาคารที่มีการเปิดใช้งานตลอด 24 ชม. ขนาดพื้นที่ตลอดจนสภาพแวดล้อมของอาคารมีความเหมาะสมทำให้สะดวกต่อการทำวิจัย ขั้นตอนการศึกษาเริ่มจากการสำรวจ ประเมินผลและวิเคราะห์อาคารกรณีศึกษาเพื่อศึกษาปัญหาในเรื่องการใช้แสงธรรมชาติและแสงประดิษฐ์ภายในอาคาร เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดแนวทางเลือกในการปรับปรุง จากการสำรวจพบว่า หลังคาและที่จอดรถรับ-ส่ง ขนาดใหญ่ที่บริเวณชั้น 2 ทางด้านทิศตะวันออก เป็นอุปสรรค์ต่อการส่งผ่านของแสงธรรมชาติสู่ภายในอาคาร การจัดพื้นที่ใช้สอยภายในอาคารไม่สอดคล้องกับตำแหน่งช่องเปิด และช่องแสงด้านบนของอาคารซึ่งเป็นกระจกสีชามีปริมาณแสงสว่างและความร้อนที่มากับแสงสว่างมากจนเกินไปทำให้ต้องมีการติดตั้งแผ่นกรองไว้ใต้ช่องเปิด ซึ่งทำให้ปริมาณความส่องสว่างที่วัดได้ภายในอาคารมีค่าต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดจึงจำเป็นต้องใช้แสงประดิษฐ์เสริมตลอดเวลา ดังนั้นแนวทางในการปรับปรุงอาคารจึงมุ่งพิจารณาการนำแสงธรรมชาติมาทดแทนแสงประดิษฐ์ โดยการนำเสนอ 3 แนวทาง คือ การปรับปรุงช่องแสงด้านบน การเจาะช่องเปิดเพิ่มที่ผนังอาคารชั้นลอยและการใช้หิ้งสะท้อนแสงที่สำนักงานชั้น 3 ผลการวิจัยพบว่าแนวทางการปรับปรุงช่องแสงด้านบนจากช่องแสงกระจกสีชาเป็นหลังคาฟันเลื่อยทึบแสงที่มีช่องเปิดด้านบน 15% สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ 220,880.98 กิโลวัตต์ต่อปี โดยที่ 81.37% ของพลังงานที่ลดได้มาจากภาระการทำความเย็นที่ลดลงจากการเปลี่ยนรูปแบบหลัง สามารถลดค่าไฟฟ้าลงได้ 595,695.87 บาทต่อปี มีระยะเวลาคืนทุน 1.24 ปี แนวทางการเจาะช่องเปิดเพิ่มที่ผนังอาคารชั้นลอย สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ 41,929.84 กิโลวัตต์ต่อปี สามารถลดค่าไฟฟ้าลงได้ 123,472.26 บาทต่อปี มีระยะเวลาคืนทุน 4.32 ปี แนวทางการเพิ่มหิ้งสะท้อนแสงที่มีค่าการสะท้อน 80% สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ 19,014.55 กิโลวัตต์ต่อปี สามารถลดค่าไฟฟ้าลงได้ 68,578.92 บาทต่อปี โดยมีระยะเวลาคืนทุน 3.04 ปี และจากการนำแนวทางการปรับปรุงที่ดีที่สุดจากทั้ง 3 แนวทางมาใช้ร่วมกันคือ การปรับปรุงช่องแสงด้านบนเป็นหลังคาฟันเลื่อยที่มีช่องเปิด 15% การเจาะช่องเปิดเพิ่มที่ผนังอาคารชั้นลอย ร่วมกับการใช้หิ้งสะท้อนแสงที่มีค่าการสะท้อน 80% สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ 281,825.37 กิโลวัตต์ ต่อปี สามารถลดค่าไฟฟ้าลงได้ 787, 747, .05 บาทต่อปี โดยมีระยะเวลาคืนทุน 1.83 ปี
Other Abstract: The objective of the thesis was to study the suitable approach, technically and economically, to the utilization of daylighting in a bus terminal for the reduction of artificial light. The study was taken at the Mhor Chit 2 Bus Terminal as a case study since the building had 24-hour operating as well as the building area and its environment were suitable for the study. The utilization of natural light and artificial light in the building were surveyed, evaluated and analyzed to indicate problems and to seek alternatives in improvement. From the survey, the roof of large drop off area on second floor on the east side obstructed daylight entering into the building and the arrangement of the internal function was not suitable to the opening. The coolgray glazed skylight of the building caused excessive daylight and heat gain. As a result, the grating was installed however it decreased light intensity below the standard and the artificial light were utilized all the time. The three alternatives for improvementof this building were proposed, the improvement of the top opening, the addition of the opening on the wall of mezzanine floor, and the addition of light shelf at the third floor office. The improvement of the top opening using a sawtooth roof with 15% opening decreased the electrical power consumption 220,880.98 KW/year. 81.37% of the reduction of this energy was from the reduction of a cooling load. This improvement reduced the electrical cost at 595,695.87 Baht/year, with 1.24 years pay back period. Second, the addition of the opening on the wall of mezzanine floor, reduced the electrical energy at 41,929.84 KW/year, reduced the electrical cost at 123,472.26 Baht/year with 4.32 years pay back period. Third, the implement of light shelf, with 80% reflection reduced electrical energy at 19,014.55 KW/year, reduced the electrical cost at 68,578.92 Baht/year with 3.04 years pay back period. By appling these 3 alternatives the electrical energy could be reduced at 281,825.37 KW/year, reduced the electrical costat 787,747.05 Baht/year with 1.83 years pay back period.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีอาคาร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5516
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.128
ISBN: 9743466142
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.128
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Athinan.pdf6.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.