Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55201
Title: การบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างด้วยเทคนิคการหาค่าที่เหมาะสมที่สุด
Other Titles: WATER MANAGEMENT IN THE LOWER CHAO PHRAYA RIVER BASIN USING OPTIMIZATION TECHNIQUE
Authors: อินทิรา เตชะมานิ
Advisors: พิศิษฎ์ จารุมณีโรจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: pisit.ja@chula.ac.th,pisit.ja@chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันการเจริญเติบโตของธุรกิจอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ทำให้การใช้ทรัพยากรเพื่อผลิตสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ทรัพยากรน้ำเป็นหนึ่งในทรัพยากรที่กำลังประสบปัญหาการขาดแคลน การบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อจัดสรรปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เหมาะสมสำหรับความต้องการด้านต่างๆ เช่น เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และการอุปโภคบริโภค สามารถช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำและส่งเสริมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมได้ พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างนับว่าเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งนอกจากจะเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงแล้วยังเป็นแหล่งรวมพื้นที่เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ดังนั้นการบริหารจัดการน้ำให้มีความเหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของภาคส่วนต่างๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางการปล่อยน้ำที่ช่วยลดปัญหาการขาดแคลนน้ำและน้ำท่วมในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างให้ได้มากที่สุด โดยใช้แบบจำลองการหาค่าที่เหมาะสมที่สุด งานวิจัยนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกเป็นการศึกษาผลของเวลาการเดินทางของน้ำต่อความถูกต้องของแบบจำลอง โดยเปรียบเทียบผลที่ได้จากแบบจำลองที่พิจารณาเวลาการเดินทางของน้ำจากต้นน้ำมายังปลายน้ำกับผลที่ได้จากแบบจำลองที่ไม่พิจารณาเวลาการเดินทางของน้ำ จากการเปรียบเทียบพบว่า เวลาการเดินทางของน้ำเป็นปัจจัยสำคัญต่อความถูกต้องของแบบจำลอง ดังนั้นแบบจำลองที่พิจารณาเวลาการเดินทางของน้ำจึงถูกเลือกใช้ต่อในงานวิจัยส่วนที่สอง ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำในสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต โดยมีการวิเคราะห์ความไวของแบบจำลองจากการสร้างสถานการณ์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของมาตรการการรับมือและบริหารจัดการกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต โดยสถานการณ์ที่นำมาศึกษาได้แก่ การรณรงค์การประหยัดน้ำ การจำกัดพื้นที่เกษตรกรรม และการสร้างโครงสร้างทางน้ำเพิ่มเติม ผลจากแบบจำลองแสดงให้เห็นว่าการกำหนดแนวทางการปล่อยน้ำโดยใช้เทคนิคการหาค่าที่เหมาะสมสามารถช่วยลดความเสี่ยงการขาดแคลนน้ำและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำและสามารถใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้
Other Abstract: Water is fundamental to life on Earth and socio-economic development. Global water resources are threatened by growing demands and climate change. Managing competing demands for water in households, agriculture, industry, and ecology is challenging, especially for complex river basins. The Lower Chao Phraya River basin plays an important role in Thailand’s economic development because it is the location of the capital city and business clusters. Improved efficiency in reservoir systems operation and management would prevent water disasters such as flood and drought and strengthen economic activities downstream. This research therefore aims to minimize water deficit and overflow in the Lower Chao Phraya River basin. This research is divided into two parts. The first part is the study about the effect of water travel time on the model. The comparison between two models, with and without the consideration of water travel time from upstream to downstream was performed. The results showed that water travel time was an important factor which directly caused impacts on the accuracy of the model. Therefore, the model with water travel time was chosen for the second part of the study which focused on developing an operational tools for water management in the Lower Chao Phraya River basin under present and future situation. Sensitivity analysis was performed to assess the effectiveness of three scenarios, including 1) water saving campaign, 2) restriction of agriculture area or crop type change, and 3) construction of new water infrastructure, to address the issues of water shortage or overflow in the basin. The proposed measures were found useful for managing water supply in terms of decreasing water shortage and overflow.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55201
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1076
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1076
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5870283921.pdf3.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.