Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55223
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรรณชลัท สุริโยธิน-
dc.contributor.authorกิติพร สมวงศ์ชัย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:31:32Z-
dc.date.available2017-10-30T04:31:32Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55223-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนของวัสดุเปลือกอาคารแผ่นผนังดินเผาชนิดติดตั้งแบบมีช่องว่างอากาศ โดยศึกษาในแถบภูมิอากาศร้อนชื้นช่วงฤดูร้อนในประเทศไทย ด้วยการวิเคราะห์จากการใช้กล่องทดลองและติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดอุณหภูมิของผนังทดสอบที่มีลักษณะแตกต่างกันจำนวน 2 ผนังทดสอบ ได้แก่ 1.)ผนังจำลองที่ไม่มีวัสดุปิดผิวด้วยผนังเปลือกอาคารใดๆ (Basecase) ด้วยวัสดุผนังแผ่นสมาร์ทบอร์ด และ 2.)ผนังแผ่นดินเผาขนาด 30 x 30 เซนติเมตร หนา 1.8 เซนติเมตรที่ยึดกับผนังภายในด้วยโครงเหล็กบนผนังจำลองที่ 1 และมีช่องว่างอากาศกว้าง 10 เซนติเมตร โดยหาค่าคุณสมบัติทางความร้อนด้วยการวัดอุณหภูมิจากกล่องทดลองและการใช้สมการทางคณิตศาสตร์ รวมทั้งหาผลการใช้พลังงานของอาคารด้วยโปรแกรม VisualDOE4.1 การศึกษาด้วยกล่องทดลอง พบว่า ผนังแผ่นดินเผาชนิดที่ติดตั้งแบบมีช่องว่างอากาศ มีผลทำให้ผนังอาคารมีค่าความต้านทานความร้อนและมีประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนได้ดีกว่า เมือเทียบกับผนังอาคารทั่วไป การศึกษาผลการใช้พลังงาน พบว่า ในอาคารที่ใช้งานเครื่องปรับอากาศเฉพาะเวลากลางคืน พบว่าผนังแผ่นดินเผาแบบมีช่องว่างอากาศ ช่วยลดการใช้พลังงานในระบบปรับอากาศ เฉพาะช่วงที่มีการใช้งานเครื่องปรับอากาศสูงที่สุดเท่านั้น ในอาคารที่มีการใช้งานครื่องปรับอากาศในเวลากลางวัน การใช้วัสดุผนังที่มีค่าความต้านทานความร้อนสูง จะช่วยป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคาร และลดภาระของระบบปรับอากาศ และผลการใช้พลังงานไฟฟ้ารวมต่ำที่สุด ซึ่งผนังแผ่นดินเผาแบบมีช่องว่างอากาศมีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนจากรังสีอาทิตย์เข้าสู่ภายในอาคารได้ดีในช่วงเวลากลางวัน และช่วยให้อาคารคายความร้อนได้เร็วในช่วงเวลากลางคืนที่มีการใช้งานเครื่องปรับอากาศสูงที่สุด ช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้ารวมได้มากที่สุดเมื่อเทียบกับผนังต้นแบบ ผลการศึกษาครั้งนี้จะนำไปสู่แนวทางในการเลือกวัสดุ โดยวัสดุแผ่นดินเผาเป็นทางเลือกหนึ่งในการออกแบบอาคารเพื่อประหยัดพลังงานและเหมาะสมกับการใช้งานเป็นผนังอาคารเพื่อป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคารต่อไปในอนาคต-
dc.description.abstractalternativeThis research aims to evaluate thermal performance of façade walls made of terracotta that construct with an air cavity between wall and slabs. In this paper studied in Thailand on hot summer climate. The prototype walls were tested by using the test box and installed with temperature measuring instrument in the different kinds of wall test box include: (1.) normal exterior façade of the wall (2.) the terracotta materials walls size 30x30x1.8 cm construct on steel frame, creating 10 mm. thickness of air cavity between wall and slabs. All wall were analyzed by measuring the temperature of the test boxes and used the mathematical equations Then simulation the use of energy by VisualDOE4.1 In the experimental part, it was found that ventilated façade wall made of terracotta can help façade wall have R-Value and heat protection thermal performance better than normal exterior wall façade. In the simulation part, it was found that In the buildings where air conditioning is used only at night, ventilated façade wall made of terracotta reduce energy consumption only at maximium hourly energy used in cooling systems. In the buildings where air conditioning is used only in the daytime, using wall with high thermal resistance helps prevent heat from entering the building, which reduce the burden on cooling systems, and allowed the lowest totel energy consumption. Ventilated façade wall made of terracotta posses anti-heat radiation into interior during the day and provide faster exotherm at night, in maximium hourly energy used in cooling systems. have comparable maximium performance of reducing energy use in building compare with basecase wall. This research will propose the alternative way of using materials by terracotta is an alternative in design for energy building and which is suitable for weather in Thailand.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1172-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการระบายอากาศ-
dc.subjectอาคาร -- การระบายอากาศ-
dc.subjectVentilation-
dc.subjectBuildings -- Ventilation-
dc.titleประสิทธิภาพด้านความร้อนของผนังสองชั้นมีช่องระบายอากาศ ทำด้วยวัสดุดินเผา-
dc.title.alternativeTHERMAL PERFORMANCE OF OPEN JOINT VENTILATED FACADE MADE OF TERRACOTTA-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorPhanchalath.S@Chula.ac.th,Phanchalath.S@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.1172-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5873553925.pdf7.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.