Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55231
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชุติมา หรุ่มเรืองวงษ์-
dc.contributor.authorจุฬาลักษณ์ ขำเกิด-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:31:58Z-
dc.date.available2017-10-30T04:31:58Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55231-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractเหตุผลของการทำวิจัย : การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างสม่ำเสมอในช่วงทารกแรกคลอดจนถึง 6 เดือน ได้รับการกระตุ้นและส่งเสริมให้เป็นนโยบายระดับชาติ ซึ่งอาจทำให้มารดาที่ไม่สามารถให้นมแม่ได้สำเร็จรู้สึกว่าตนเองไม่สามารถปฏิบัติตามที่คาดหวังไว้ได้ จนนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าและการเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ อย่างไรก็ตามการศึกษาการเห็นคุณค่าในตนเองกับการให้นมแม่ในมารดาหลังคลอดในประเทศไทยยังไม่ได้มีการศึกษา วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับการเห็นคุณค่าในตนเองในมารดาหลังคลอด การให้นมแม่ในมารดาหลังคลอด และความเกี่ยวข้องระหว่างระดับการเห็นคุณค่าในตนเองกับการให้นมแม่ในมารดาหลังคลอด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยที่มารับบริการที่คลินิกวางแผนครอบครัว จำนวน 171 คน ในช่วง 4-6 สัปดาห์หลังคลอด ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) ข้อมูลเกี่ยวกับนมแม่ 3) แบบสอบถามการเห็นคุณค่าในตนเอง The Rosenberg’s Self Esteem Scale (RSE) 4) แบบวัดภาวะซึมเศร้า Edinburgh Postnatal Depression Scale (EPDS) 5) แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม Personal Resource Questionnaire (PRQ-part II) 6) แบบประเมินสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส Dyadic Adjustment scale (DAS) โดยใช้ Univariate Analysis ได้แก่ Chi-square, T-Test เพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเห็นคุณค่าในตนเอง และใช้ logistic regression เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการเห็นคุณค่าในตนเองของมารดาหลังคลอด ผลการศึกษา : ผลการศึกษาพบว่ามารดาส่วนใหญ่มีการเห็นคุณค่าในตนเองอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 65.5 ระดับสูงร้อยละ 22.2 และระดับต่ำร้อยละ 12.3 โดยมีการเห็นคุณค่าในตนเองคิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 32.187 คะแนน และในมารดาหลังคลอดส่วนใหญ่ให้นมแม่ล้วนร้อยละ 51.5 นมแม่ร่วมกับนมชงร้อยละ 43.3 นมชงล้วนร้อยละ 5.3 ซึ่งปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเห็นคุณค่าตนเองต่ำ ได้แก่ จำนวนสมาชิกในบ้าน>5 คน, ลำดับบุตรตั้งแต่คนที่ 4, อายุที่มีประจำเดือนครั้งแรก (≤15ปี), เลี้ยงทารกด้วยนมผสมล้วน,มีอาการเวียนศีรษะในไตรมาสแรก, ไม่มีอาการคัดตึง/เจ็บเต้านมในไตรมาสที่2, ไม่มีอาการปวดเมื่อยตามตัวในไตรมาสที่2, ไม่มีอาการปวดหลังในไตรมาสที่3, ไม่มีอาการคัดตึงเต้านมในปัจจุบัน, มีภาวะซึมเศร้า, แรงสนับสนุนทางสังคมระดับต่ำ-ปานกลาง, สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสระดับต่ำ-ปานกลาง สรุป : การเห็นคุณค่าในตนเองของมารดาหลังคลอดมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าในการศึกษาอื่น และพบว่าส่วนใหญ่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการศึกษาครั้งนี้ใกล้เคียงกับการศึกษาอื่นๆในมารดาหลังคลอดทั่วไป การทราบถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องจะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถวางแผนการดูแล และให้ความช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสมต่อไป-
dc.description.abstractalternativeBackground: Exclusive breastfeeding during 0- 6 months of neonate has been promoted as national policy. New mothers who could not achieve this goal may felt as failure to conform this expectation and leads to depression and low self-esteem. Objective: To explore level of self-esteem and breastfeeding practice among postpartum mothers and their associated factors at family planning clinics, King Chulalongkorn Memorial Hospital Method: The sample were 171 mothers aged 18 years or more who were during their 4-6 weeks postpartum follow up. The instruments included the demographic, obstetrics and breastfeeding information questionnaire, The Rosenberg’s Self Esteem Scale (RSE), Edinburgh Postnatal Depression Scale (EPDS), The Personal Resource Questionnaire (PRQ Part-II), Maternal Role Adaptation Questionnaire, and The Dyadic Adjustment Scale (DAS). The SPSS version 22 were used to perform for the descriptive statistics and univariated analysis was done for associated factors. Results: Most of the patients have moderate level of self-esteem (65.5 %), whereas 22.2% had high level and 12.3% had low level of self-esteem, respectively. The average RSE score was 32.19. Most of the subjects had exclusive breast-fed (51.5%) their baby, 43.3% combined breast-fed and formula milk fed, and 5.3% had fed exclusive formula milk. The factors significantly associated with low self-esteem were higher number of family members (>5), higher parity (≥4), lower age at menarche (≤15), exclusive formula milk feeding, had dizziness during first trimester of pregnancy, no signs of breast engorgement and myalgia during second trimester, no back pain during last trimester, lack of current breast engorgement, having depression, having lower social support and low marital satisfaction. Conclusion: Self-esteem score among postpartum mothers in this study is in moderate level and associated with type of breast-feeding practice. The relevant factors from this study may guide medical personnel in detection of case with low self-esteem and provide them appropriate help.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1201-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการเห็นคุณค่าในตนเองกับการให้นมแม่ในมารดาหลังคลอด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์-
dc.title.alternativeSelf- esteem and Breastfeeding Practice among Postpartum Mothers at King Chulalongkorn Memorial Hospital-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineสุขภาพจิต-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorChutima.Ro@Chula.ac.th,chutima.room@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.1201-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5874010630.pdf6.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.