Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55240
Title: พื้นที่คิวเวฟจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในการคาดการณ์ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการตรวจหัวใจด้วยด้วยการตรวจคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กไฟฟ้าหัวใจชนิด 3.0 เทสลา
Other Titles: Prediction of Non-Viable Myocardium by ECG Q Wave Area:A 3.0 T Cardiovascular Magnetic Resonance Study
Authors: ปฐมพงษ์ คำภามูล
Advisors: ไพโรจน์ ฉัตรานุกูลชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: pairoj.md@gmail.com,pairoj.md@gmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เนื่องจากการมีของคิวเวฟมีความสัมพันธ์กับการพบแผลเป็นในหัวใจ แต่อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่างคิวเวฟและการตายของกล้ามเนื้อหัวใจยังไม่มีข้อมูลชัดเจน จากงานวิจัยล่าสุดพบว่า พื้นที่ของคิวเวฟมีความสัมพันธ์กับปริมาณแผลเป็นในกล้ามเนื้อหัวใจและสัมพันธ์กับการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ ดังนั้นจึงสนใจหาความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ของคิวเวฟและปริมาณแผลเป็นในกล้ามเนื้อหัวใจร่วมถึงภาวะการตายของกล้ามเนื้อหัวใจด้วย วิธีการวิจัย มีผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 249 คน ซึ่งทุกคนมีประวัติสงสัยหรือเคยเป็นโรคหัวใจขาดเลือดมาก่อน ทุกคนได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนสนามแม่เหล็กชนิด 3 เทสลา คิวเวฟจะถูกนำมาวัดทั้งความลึก, ความกว้างและนำมาคำนวณพื้นที่ของคิวเวฟโดยใช้โปรมแกรมคอมพิวเตอร์ ในส่วนของผลของคลื่นสะท้อนสนามแม่เหล็กหัวใจ จะมีการเก็บข้อมูลโดยใช้เทคนิค delayed enhancement เป็นหลัก โดยแบ่งกล้ามเนื้อหัวใจเป็น 17 ส่วนและให้คำนิยามของการตายของกล้ามเนื้อหัวใจในส่วนนั้นคือมีแผลเป็นมากกว่า 50% ของส่วนกล้ามเนื้อหัวใจนั้น และให้คำนิยามของการตายของกล้ามเนื้อหัวใจโดยแบ่งตามการหล่อเลี้ยงของเส้นเลือดคือ มีส่วนของกล้ามเนื้อหัวใจที่ตายมากกว่า 50% ในกลุ่มนั้นๆ ผลการวิจัยพบว่า มีผู้เข้าร่วมวิจัย 77 คนที่มีคิวเวฟ โดยมีอายุเฉลี่ย 65±11.9 ปีโดยเป็นผู้ชาย 62% มีประวัติเป็นโรคหัวใจมาก่อน 57% และมีการบีบตัวของหัวใจอยู่ที่ 39.9 ± 16.5%. เมื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ของคิวเวฟและการตายของกล้ามเนื้อหัวใจโดยแบ่งตามการหล่อเลี้ยงของเส้นเลือดพบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่กล้ามเนื้อหัวใจที่เลี้ยงโดยเส้นเลือด LAD และ RCA แต่ไม่มีความสัมพันธ์ที่ LCX โดยค่าพื้นที่ใต้กราฟของ LAD คือ 0.823 (95%CI: 0.727-0.919), p-value<0.001และ RCA 0.735 (95%CI: 0.560-0.910), p-value=0.017. เมื่อหาพื้นที่ของคิวเวฟที่ดีที่สุดเพื่อคาดการณ์การตายของกล้ามเนื้อหัวใจที่ LAD คือ 74 msec.mV โดยมีค่าค่าความไวที่ 72.2%, ความจำเพาะที่ 79.5% และความแม่นยำที่ 76.6% ในส่วนของ RCA พบว่าเมื่อใช้พื้นที่คิวเวฟที่ 66 msec.mV พบว่า ความไว (sensitivity)ที่ 40.0%, ความจำเพาะ (speacificity)ที่ 95.5% และความแม่นยำ (Accuracy)ที่ 88.3%. นอกจากนี้ยังพบว่า ถ้าใช้เฉพาะความลึกของคิวเวฟมาหาความสัมพันธ์พบว่า ไม่มีความแตกต่างกับการใช้พื้นที่คิวเวฟในการคาดการณ์การตายของกล้ามเนื้อหัวใจ. โดยสรุปพบว่า พื้นที่ของคิวเวฟมีความสัมพันธ์กับการตายของกล้ามเนื้อหัวใจโดยแบ่งตามเส้นเลือดที่เลี้ยงโดยเฉพาะที่ LAD และ RCA แต่ไม่มีความสัมพันธ์ที่ LCX รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของคิวเวฟมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มของปริมาณแผลเป็นในกล้ามเนื้อหัวใจ
Other Abstract: Background: The aggregate number of Q wave on surface ECG shows a significant association with the total scar size but the correlation with transmural extent is still controversial. A novel ECG approach, Q wave area (QWA) has recently been known to demonstrate robust correlation with scar volume overtime independent of infarct shrinkage. This study implemented QWA to determine the correlation with global transmural extent (number of nonviable segment). Methods: We prospectively enrolled 249 patients with known or suspected myocardial infarction (MI) who underwent contrast-enhanced 3.0 T cardiac magnetic resonance (CMR) scan.High resolution 12-lead, digital ECG was recorded at the same day. Patients with recent MI within 6 weeks were excluded. We used computerized software to calculate Q wave parameters including total amplitude, duration, and area. Scar volume was determined by visual analysis and expressed in % of the total LV volume by using a 17-segment LV division and while taking into account the number of quartiles involved in each segment. Nonviable segment defined as > 50% scar transmurality. The ECG Q wave location and myocardial scar on a 17-segment model were assigned to specific coronary artery territories. Results: Among 249 patients, 77 patients showed Q wave on ECG (mean age, 65 ±11.9 years; male, 62%; known MI 77%). QWA increased stepwise according to total scar size on CMR (p<0.001) with a weak but significant correlation (r = 0.36). For the transmural extent analysis, the diagnostic performance of QWA for the presence of total nonviable segment more than half of its territory as quantified by the area under the receiver operating characteristic curve (AUC) is 0.823 (95%CI: 0.727-0.919) for the left anterior descending (LAD) and 0.735 (95%CI: 0.560-0.910) for the right coronary artery (RCA) territories but not with the left circumflex territory (LCX). QWA also showed association at per patient analysis (AUC=0.760 (95%CI: 0.651-0.870). Conclusions: Q wave area, a novel ECG approach, provides significant correlation with total scar volume and determines the transmural extent only in LAD and RCA territories, not LCX territory.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55240
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1249
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1249
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5874043330.pdf3.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.