Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55245
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมนพร บุณยะรัตเวช สองเมือง | - |
dc.contributor.advisor | รณพิชัย โชคสุวัฒนสกุล | - |
dc.contributor.author | ระวิวรรณ แก้วกัลยา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2017-10-30T04:32:47Z | - |
dc.date.available | 2017-10-30T04:32:47Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55245 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | - |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ : เพื่อหาช่วงระดับค่าการแข็งตัวของเลือด( INR )ที่เหมาะสมในการป้องกันภาวะหลอดเลือดสมองอุดตัน ในผู้ป่วยไทยที่เป็นโรคหัวใจรูมาติก ที่มีลิ้นหัวใจไมตรัลตีบ ร่วมกับภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพริ้วที่ได้รับการรักษาด้วยยาวอร์ฟาริน วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังในผู้ป่วยไทยที่เป็นโรคหัวใจรูมาติก ที่มีลิ้นหัวใจไมตรัลตีบร่วมกับภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพริ้ว ที่ได้รับการรักษาด้วยยาวอร์ฟาริน 184 ราย เพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดสมองอุดตันในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เก็บข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียนทุกค่า INR แบ่งระดับ INR ออกเป็น 6 กลุ่ม คือ ระดับ INR <1.50, 1.50-1.99, 2.00-2.49, 2.50-2.99, 3.00-3.49 และ >3.50 นำมาคำนวณและวิเคราะห์อัตราการเกิดหลอดเลือดสมองอุดตัน หรือภาวะแทรกซ้อนจากเลือดออกผิดปกติ( incidence density ) โดยคำนวณจากจํานวนครั้งที่เกิดหลอดเลือดสมองอุดตันหรือภาวะแทรกซ้อนจากเลือดออกผิดปกติหารด้วยผลรวมของระยะเวลาที่ผู้ป่วยอยู่ในระดับ INR แต่ละกลุ่ม ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด เปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมจะถูกตัดออกจากการศึกษา ระดับ INR ที่เหมาะสมคือระดับ INR ที่มีค่า incidence density ของการเกิดหลอดเลือดสมองอุดตัน และมีภาวะแทรกซ้อนจากเลือดออกผิดปกติน้อยที่สุด ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคหัวใจรูมาติก ที่มีลิ้นหัวใจไมตรัลตีบร่วมกับภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพริ้ว ที่ได้รับการรักษาด้วยยาวอร์ฟาริน 184 ราย (อายุเฉลี่ย 55.7 ปี และเป็นเพศหญิง 79.3%) มีระยะเวลาในการศึกษา 714.4 patient-years. มี 28 ราย เกิดหลอดเลือดสมองอุดตัน 35 ครั้ง (คิดเป็นอัตรา 4.9 ต่อ 100 patient-years) และ 36 ราย เกิดภาวะแทรกซ้อนจากเลือดออกผิดปกติรวม 55 ครั้ง (คิดเป็นอัตรา 7.7 ต่อ 100 patient-years) ซึ่งในการศึกษาระยะเวลา ที่ผู้ป่วยมีระดับ INR อยู่ในระดับการรักษา (2.0-3.0), INR <2.0 และ INR >3.0 เป็น 46.9%, 40.7% และ 12.3% ของระยะเวลาที่ทําการศึกษาทั้งหมดตามลําดับ จากการศึกษาพบว่าค่า INR ที่ต่ำกว่า 2.00 เกิดหลอดเลือดสมองอุดตันเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ( Relative risk 1.57; 95% confidence interval 1.19-2.13; p = 0.028) ค่า INR ที่มากกว่า 2.99 เกิดภาวะแทรกซ้อนจากเลือดออกผิดปกติมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ( Relative risk 2.47; 95% confidence interval 1.88-3.23; p < 0.001) ระดับ INR ที่เหมาะสมที่มีค่า incidence density ของการเกิดหลอดเลือดสมองอุดตัน และมีภาวะแทรกซ้อนจากเลือดออกผิดปกติน้อยที่สุด คือ 2.00-2.99 สรุป: ระดับ INR 2.00-2.99 มีความสัมพันธ์กับการเกิดหลอดเลือดสมองอุดตันและภาวะแทรกซ้อนจากเลือดออกผิดปกติน้อยที่สุดในคนไทยที่ที่เป็นโรคหัวใจรูมาติก ที่มีลิ้นหัวใจไมตรัลตีบร่วมกับภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพริ้ว ที่ได้รับการรักษาด้วยยาวอร์ฟาริน ซึ่งเป็นค่าที่สูงกว่าการศึกษาในคนไทยและคนเอเชียที่มีหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพริ้วโดยไม่มีลิ้นหัวใจไมตรัลตีบร่วม | - |
dc.description.abstractalternative | Objective: To determine the optimal INR level to prevent stroke and bleeding in patients with rheumatic mitral stenosis and AF who are receiving warfarin. Material and Method: This is a retrospective study which enrolled consecutive patients with the ICD coding of rheumatic mitral stenosis and AF who received warfarin at King Chulalongkorn Memorial Hospital between January 1, 2010 and December 31, 2015. The lNR level at the time of the event, the numbers of ischemic stroke and bleeding events were collected. The time density in each INR level, which take consideration of INR level and duration, was used for analysis. The INR range was classified into 6 groups (<1.50, 1.50-1.99, 2.00-2.49, 2.50-2.99, 3.00-3.49 and ≥3.50). The incidence density of ischemic stroke and bleeding events in each INR group was calculated with the summation of the time that each patient stayed in each INR group. Results: total of 184 patients (mean age of 55.7 years, 79.3% female) were enrolled, for total follow up period of 714.4 patient-year. There were 28 patients with 35 ischemic stroke events (4.90 per 100 patient-years) and 36 patients with 55 bleeding events (7.70 per 100 patient-years). The time density in the INR range of <1.50, 1.50-1.99, 2.00-2.49, 2.50-2.99, 3.00-3.49 and ≥3.5 were 14.0%, 26.7%, 29.5%, 17.4%, 7.1% and 5.2%, respectively. The percentage of patient-time spent within INR range 2 to 3, INR less than 2 and INR more than 3 were 46.9%, 40.7%, and 12.3%, respectively. The INR level less than 2.00 increased incidence density of ischemic stroke (relative risk [RR] 1.57; 95% confidence interval [CI] 1.19 - 2.13; p = 0.028). The INR level more than 2.99 and 3.5 increased incidence density of total and major bleeding events ( RR 2.47; 95% CI 1.88 - 3.23; p< 0.001 and RR 3.07; 95% CI 2.44 - 3.87; p <0.001, respectively). The overall of ischemic stroke and bleeding event rate was lowest in the INR range from 2.00 to 2.99. Conclusion: In this large cohort of patients with rheumatic mitral stenosis and AF, an INR level between 2.00 and 2.99 was associated with the lowest incidence of ischemic stroke and bleeding. This optimal INR level is higher than the optimal INR in previous shown in other studies of Asian patients with nonvalvular AF. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1248 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | ระดับค่าการแข็งตัวของเลือดที่เหมาะสมในการป้องกันภาวะหลอดเลือดสมองอุดตัน ในผู้ป่วยไทยที่เป็นโรคหัวใจรูมาติก ที่มีลิ้นหัวใจไมตรัลตีบร่วมกับภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพริ้วที่ได้รับการรักษาด้วยยาวอร์ฟาริน | - |
dc.title.alternative | Optimal INR to Prevent Stroke in Thai Patients with Rheumatic Mitral Stenosis and Atrial Fibrillation Who are Receiving Warfarin | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | อายุรศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Smonporn.B@Chula.ac.th,bsmonporn@gmail.com,bsmonporn@gmail.com | - |
dc.email.advisor | dr_ronpichai_c@yahoo.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.1248 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5874061630.pdf | 2.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.