Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55262
Title: อิทธิพลของครอบครัวและสภาวะสุขภาพจิตในการเลือกศึกษาต่อในคณะทันตแพทยศาสตร์ของนิสิตทันตแพทย์ชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: Influence of Family and Mental Health Affecting on Motivation 1st year Dental Student’s to Study at Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University
Authors: พลอยปภัส วัชระกรพิศุทธิ์
Advisors: ภุชงค์ เหล่ารุจิสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Puchong.L@Chula.ac.th,doctorpuchong@gmail.com
Subjects: นักศึกษาทันตแพทย์ -- สุขภาพจิต
Dental students -- Mental health
College freshmen -- Mental health
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอิทธิพลจากครอบครัว ภาวะสุขภาพจิต และสภาวะความเครียดในการเลือกศึกษาต่อในคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง สถานที่ศึกษา : คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลจากนิสิตทันตแพทย์ชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวนทั้งสิ้น 88 คน ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 ถึงเดือนธันวาคม 2559 โดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย 1) เป็นข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างทั่วไป 2) เป็นแบบประเมินดัชนีชี้วัดสุขภาพจิต ที่สร้างและพัฒนาโดยกรมสุขภาพจิต 3) เป็นแบบประเมินเกี่ยวกับอิทธิพลของครอบครัวที่มีผลต่อการเลือกอาชีพ ฉบับภาษาไทย 4) แบบประเมินระดับความเครียดสวนปรุง (Suanprung Stress Test 20 , SPST) โดยใช้ Univariate Analysis ได้แก่ Indepenent Sample t-test, One Way ANOVA เพื่อหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับสภาวะสุขภาพจิต และอิทธิพลของครอบครัวในการเลือกศึกษาต่อ ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างเพศหญิง ร้อยละ56.8 มีอายุอยู่ระหว่าง 18 -19 ปี, กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 46 มีระดับสุขภาพจิตอยู่ในระดับปานกลาง , ร้อยละ 44.8 มีระดับสุขภาพจิตอยู่ในระดับสูง และมีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 9.2 มีระดับสุขภาพจิตอยู่ในระดับต่ำ , กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 76.1 มีระดับอิทธิพลของผู้ปกครองที่มีผลต่อการเลือกศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง , กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 23.9 จะมีระดับอิทธิพลของผู้ปกครองที่มีผลต่อการเลือกศึกษาอยู่ในระดับสูง , กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 10.3 มีสภาวะความเครียดอยู่ในระดับต่ำ , กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 46.6 มีสภาวะความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง , กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 34.5 มีสภาวะความเครียดอยู่ในระดับสูง และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 8.6 มีสภาวะความเครียดอยู่ในระดับรุนแรง สรุป : การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกศึกษาต่อของนิสิตคณะทันตแพทย์ชั้นปีที่ 1 ในครั้งนี้มีความแตกต่างกับเลือกศึกษาต่อในคณะอื่นๆ การทราบปัจจัยที่เกี่ยวข้องจะช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถวางแผนในการดูแลสภาวะสุขภาพจิตของนิสิต และให้ความช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม
Other Abstract: Objective: To study influences of family, mental health and strain on academic development of first-year dental students in the Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University. Research design: a cross-sectional descriptive study Location: Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University. Method: a cross-sectional descriptive study was conducted on the 88 first-year dental students of the Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University in October 2016 to December 2016. The self-administered questionnaires consisted of socio-demographic data, mental health indicator test developed by Department of Medical Health, Thailand, family influence scale and Suanprung stress test 20 by using Univariate Analysis, including Indepenent Sample t-test and One Way ANOVA for finding of factors that related to mental health and family influence on academic development of students. Results: 18-19 year olds of students (56.8%) were female. Mental Health was found to be 46% in moderate level, 44.8% in high and 9.2% in mild level. Family influence on academic development of students was found to be 76.1% in moderate and 23.9% in high level. Students’ strain was found to be 10.3% in mild level, 46.6% in moderate and 34.5% in high and 8.6% in severe level. Conclusion: Study of factors that related to academic development of first-year dental students in the Faculty of Dentistry was different from other faculties. Finding of these factors could be considered for the way to treat students’ mental health with appropriate assistance.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55262
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1210
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1210
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5874257330.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.