Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55263
Title: | การบำบัดด้วยแสงจ้าเพื่อป้องกันภาวะสับสนในผู้ป่วยไอซียูศัลยกรรมโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย |
Other Titles: | Bright Light Therapy for prevention of delirium in patients at Surgical Intensive Care Unit in King Chulalongkorn Memorial Hospital. |
Authors: | ศิริมาศ โพธาราเจริญ |
Advisors: | สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย ธวัชชัย เตชัสอนันต์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sookjaroen.T@Chula.ac.th,sookjaroen@gmail.com Thavatchai.T@Chula.ac.th,tayjasanant@yahoo.ca |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) แบบ Randomized Control Study มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการบำบัดด้วยแสงจ้าในผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่เข้ารับการรักษาแผนกไอซียูศัลยกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทยในการลดการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันและต่อปัญหาการนอนหลับ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย จำนวน 61 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกันยายน 2559-กุมภาพันธ์ 2560 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมิน APACHE II Score แบบประเมินภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤต (CAM-ICU) และแบบประเมินอาการนอนไม่หลับ (ISI) กลุ่มทดลองได้รับ Bright Light Therapy ที่มีความสว่าง 5,000 ลักซ์ เป็นเวลา 2 ชั่วโมงในเวลา 09.00-11.00น. ติดต่อกัน 3 วันภายหลังจากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมภายใน 24 ชั่วโมง กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลเช่นเดียวกับกลุ่มทดลองและได้รับแสงที่มีความสว่าง 500 ลักซ์ (แสงสว่างภายในหอผู้ป่วย) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS version 22 เพื่อหาสถิติเชิงพรรณนา ANOVA Chi-square และวิเคราะห์ผลของ BLT ต่อการนอน ด้วย Generalized Estimating Equation (GEE) ผลการศึกษาพบว่าการบำบัดด้วยแสงจ้ามีผลทำให้การเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.27 เท่า (95%CI = 0.07-0.98 , p = 0.047) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับแสงจ้า ระดับ Hematocrit มีผลทำให้การเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.87 เท่า (95%CI = 0.78-0.97 , p = 0.014) ค่าคะแนน APACHE II score มีผลทำให้การเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 1.08 เท่า (95%CI = 1.05-1.25 , p < 0.001) ค่าคะแนน Insomnia Severity Index มีผลทำให้การเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 1.13 เท่า (95%CI = 1.02-1.26 , p = 0.021) และทำให้คะแนนการนอนไม่หลับลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.79 เท่า (95%CI = 0.64-0.98 , p = 0.034) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับแสงจ้า และพบว่าจำนวนวันที่ได้รับแสงจ้ามีผลทำให้คะแนนการนอนไม่หลับลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.81 เท่า (95%CI = 0.67-0.97 , p = 0.029) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับแสงจ้า |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study the effect of bright light therapy on delirium and sleep in critically ill surgical patients. This study was a randomized control study. The samples comprised of 61 patients from surgical ICU who were randomizedly recruited during September 2016 to February 2017. The instruments were consist of a questionnaire about general information, APACHE II Score, the Confusion Assessment Method-Intensive Care Unit (CAM-ICU) and the Insomnia Severity Index (ISI). The intervention group was treated with bright light therapy (BLT) of 5,000 lux for 2 hours from 09.00-11.00 am for 3 consecutive days, which started within 24 hours after SICU admission. The control group was treated with care as usual and was exposed to a light source of 500 lux (office light source). The data were analyzed by SPSS software version 22 for descriptive statistics, ANOVA, Chi-square test and Generalized Estimating Equation (GEE) was performed to determine the effect of the BLT on delirium and sleep. The result showed a significant association between bright light therapy, delirium and Insomnia Severity Index. BLT can significantly decreased delirium of the treatment group when compared to the control group (p-value = 0.047 , OR = 0.27 ; 95%CI = 0.07-0.98). We found that hematocrit was significantly decreased delirium (p-value = 0.014 , OR=0.87 ; 95%CI=0.78-0.97). APACHE II score was significantly increased delirium (p-value < 0.001 , OR = 1.08 ; 95%CI = 1.05-1.25). Insomnia Severity Index was significantly increased delirium (p-value = 0.021 , OR = 1.13 ; 95%CI = 1.02-1.26). And the BLT can significantly decreased ISI score of the treatment group when compared to the control group (p-value = 0.034 , OR = 0.79 ; 95%CI = 0.64-0.98). And we found that the duration (day) of BLT was significantly decreased the ISI score (p-value = 0.029 , OR = 0.81 ; 95%CI = 0.67-0.97). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55263 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1197 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.1197 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5874261830.pdf | 2.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.