Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55267
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชาญกิจ พุฒิเลอพงศ์-
dc.contributor.advisorพีระวงษ์ วีรารักษ์-
dc.contributor.advisorทิพา ชาคร-
dc.contributor.authorพลอยลาภ เลิศวิภาภัทร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:34:05Z-
dc.date.available2017-10-30T04:34:05Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55267-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับยาต้านจุลชีพที่เหมาะสมและผลลัพธ์ ทางคลินิกและผลลัพธ์ทางเศรษฐศาสตร์ของผู้ป่วยที่มีภาวะพิษเหตุติดเชื้อ วิธีดำเนินการวิจัย: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบเก็บข้อมูลไปข้างหน้า ในผู้ป่วยภาวะพิษเหตุติดเชื้อ ภาวะพิษเหตุติดเชื้ออย่างรุนแรง หรือภาวะช็อกจากภาวะพิษเหตุติดเชื้อ ที่เข้ารับการรักษา ณ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลศิริราช ระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2559 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ.2559 ผลการวิจัย: ผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษา 200 คน ได้รับการวินิจฉัยภาวะพิษเหตุติดเชื้อร้อยละ 65 ภาวะช็อกจากภาวะพิษเหตุติดเชื้อร้อยละ 35 ติดเชื้อจากชุมชนร้อยละ 48.5 ติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับการบริการสุขภาพร้อยละ 43 โรคแทรกซ้อนที่พบมากสุด คือ ภาวะไตวายเฉียบพลันร้อยละ 30 ผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านจุลชีพหลังการวินิจฉัยภายใน 1 ชั่วโมง มีความสัมพันธ์กับอาการทางคลินิกที่ดีขึ้นที่ 72 ชั่วโมง (p = 0.021) เกณฑ์การได้รับยาต้านจุลชีพที่เหมาะสมครบทั้ง 4 ด้าน (เวลา, แบบคาดการณ์, เต็มขนาด, ปรับขนาดยา) มีความสัมพันธ์กับอาการทางคลินิกที่ดีขึ้นที่เวลา 7 วัน (p = 0.042) และลดอัตราการเสียชีวิตที่ 28 วัน (p = 0.043) ส่วนเกณฑ์การได้รับยาต้านจุลชีพที่เหมาะสมครบทั้ง 6 ด้าน (เวลา, แบบคาดการณ์, เต็มขนาด, ปรับขนาดยา, ปรับตามผลเพาะเชื้อ, ละลายสารน้ำ) มีความสัมพันธ์กับอาการทางคลินิกที่ดีขึ้นที่เวลา 7 วัน (p = 0.001) และลดอัตราการเสียชีวิตที่ 28 วัน (p = 0.020) ค่าใช้จ่ายในการรักษาเฉลี่ยต่อวันของผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมต่ำกว่าผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านจุลชีพอย่างไม่เหมาะสม (p = 0.013) สรุปผลการวิจัย: ผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม มีความสัมพันธ์กับอาการทางคลินิกที่ดีขึ้น ลดอัตราการเสียชีวิต และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาเฉลี่ยต่อวัน-
dc.description.abstractalternativeObjective: To study the association between appropriate antimicrobial therapy and clinical outcomes, economic outcomes in patients with sepsis. Methods: This study was a prospective cohort study in patients with sepsis or septic shock who were treated at emergency room, Siriraj hospital during July 1st, 2016 to October 31st, 2016. Results: From a total of 200 patients, 65% had sepsis and 35% had septic shock. Patients were diagnosed with community-acquired infections at 48.5%, whereas 43% were healthcare-associated infections. Acute kidney injury was the most common complication of sepsis in 30% of patients. Initiation of appropriate antimicrobial therapy within 1 hour was significantly associated with better clinical outcomes at 72 hours (p = 0.021). In addition, appropriate antimicrobial therapy with which meets all 4 criteria, consisted of appropriate empirical treatment, loading dose, dose adjustment in renal and hepatic impairment and right time had significant associated with greater clinical outcomes at 7 days and lower mortality rate at 28 days (p = 0.042 and 0.043, respectively). Moreover, completed of all 6 criteria of appropriate antimicrobial therapy which included antimicrobials adjustment along culture results, right solvent of preparations, and 4 criteria had significant associated with greater clinical outcomes at 7 days and lower mortality rate at 28 days (p = 0.001 and 0.002, respectively). Furthermore, daily cost of appropriate antimicrobial therapy was significantly lower than inappropriate antimicrobial (p = 0.013). Conclusion: Patients received appropriate antimicrobials associated with improve clinical outcomes, lower mortality rate and lower daily cost.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.89-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพที่เหมาะสม ผลลัพธ์ทางคลินิกและผลลัพธ์ทางเศรษฐศาสตร์ของผู้ป่วยที่มีภาวะพิษเหตุติดเชื้อ-
dc.title.alternativeASSOCIATION AMONG APPROPRIATE ANTIMICROBIAL THERAPY, CLINICAL OUTCOMES AND ECONOMIC OUTCOMES IN PATIENT WITH SEPSIS-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineเภสัชกรรมคลินิก-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorChankit.P@chula.ac.th,cputtilerpong@gmail.com-
dc.email.advisorwerarak-1@hotmail.com-
dc.email.advisortipa102@yahoo.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.89-
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5876119833.pdf4.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.