Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55276
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เบญจพล เบญจพลากร | - |
dc.contributor.author | ธีร์ชญาน์ ตันติวรสกุลเวช | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา | - |
dc.date.accessioned | 2017-10-30T04:34:38Z | - |
dc.date.available | 2017-10-30T04:34:38Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55276 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกโปรแกรมไบโอฟีดแบคที่มีต่อระดับความวิตกกังวลและความสามารถในการยิงประตูโทษของนักกีฬาบาสเกตบอล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักกีฬาบาสเกตบอลหญิงของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อายุเฉลี่ย 19.6 ปี จำนวน 20 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 10 คน โดยในกลุ่มทดลองได้รับการฝึกยิงประตูโทษบาสเกตบอลควบคู่กับการฝึกเสริมด้วยโปรแกรมไบโอฟีดแบคความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ เป็นเวลาทั้งสิ้น 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 20 นาที รวมทั้งสิ้น 12 ครั้ง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการฝึกยิงประตูโทษบาสเกตบอลเพียงอย่างเดียว ก่อนเริ่มต้นโปรแกรมการฝึกและหลังเสร็จสิ้นการฝึกในสัปดาห์ที่ 4 กลุ่มตัวอย่างเข้ารับการทดสอบหาความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ ความวิตกกังวลตามสถานการณ์โดยใช้แบบสอบถาม CSAI-2R และความแม่นยำในการยิงประตูโทษโดยการยิงประตูโทษภายในระยะเวลาจำกัด 30 วินาที นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการทดลองโดยใช้สถิติทดสอบค่าที (Paired sample t-test) และเปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้สถิติทดสอบค่าที (Independent t-test) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของความวิตกกังวลตามสถานการณ์ ความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ ความแม่นยำในการยิงประตูโทษบาสเกตบอลในกลุ่มทดลอง และค่าเฉลี่ยของคะแนนความเชื่อมั่นในตนเอง (Self-confidence) ในกลุ่มควบคุมระหว่างก่อนการทดลองและหลังการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยร้อยละของความแตกต่างก่อนการทดลองและหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ และความแม่นยำในการยิงประตูโทษบาสเกตบอลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ความวิตกกังวลตามสถานการณ์ไม่แตกต่างกัน จากการวิจัยในครั้งนี้พบว่า การฝึกไบโอฟีดแบคความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจส่งผลให้ระดับความวิตกกังวลทางกายและระดับความวิตกกังวลทางจิตลดลง ความเชื่อมั่นในตนเองเพิ่มขึ้น ช่วยเพิ่มค่าความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ และส่งผลต่อความแม่นยำในการยิงประตูโทษอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ | - |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to study effects of supplementary biofeedback training on anxiety level and free throw shooting performance in basketball Twenty members of female Chulalongkorn University basketball teams were equally divided into experimental and control groups (ages average 19.6 years). Participants in both groups similarly received free throw shooting training but only. The experimental group received heart rate variability biofeedback training 20 minutes a day, 3 days a week for 4 consecutive weeks. Pretest and posttest for heart rate variability, anxiety level (test with CSAI-2R) and free throw shooting accuracy in 30-seconds time limit were conducted on all participants. Means and standard deviation of the obtained data were compared using paired sample t-test for within group differences. Independent t-test was used to analyze data between the experimental and control groups. Alpha level was set at p < .05. The results showed significant-improvement of anxiety level, heart rate variability and free throw shooting accuracy (p < 0.05) in the experimental group. While only self-confidence score was significantly increased (p < 0.05) for the control group. Furthermore, heart rate variability and free throw shooting accuracy were significantly greater in experimental group than in control group (p < 0.05), but no difference was found in anxiety level between two groups of participants. Heart rate variability biofeedback could improve anxiety level, heart rate variability, heart rate while shooting and free throw shooting accuracy. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.796 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | ผลของการฝึกเสริมด้วยโปรแกรมไบโอฟีดแบคที่มีต่อระดับความวิตกกังวลและความสามารถในการยิงประตูโทษในกีฬาบาสเกตบอล | - |
dc.title.alternative | EFFECTS OF SUPPLEMENTARY BIOFEEDBACK TRAINING ON ANXIETY LEVEL ANDFREE THROW SHOOTING PERFORMANCE IN BASKETBALL | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์การกีฬา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Benjapol.B@Chula.ac.th,benjapol1978@gmail.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.796 | - |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5878311239.pdf | 5.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.