Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55301
Title: | การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์โดยบูรณาการวิธีสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางและเทคนิคการสลับภาษาเพื่อส่งเสริมความสามารถทางภาษาอังกฤษของเด็กอนุบาล |
Other Titles: | DEVELOPMENT OF AN INSTRUCTIONAL MODEL INTEGRATING TOTAL PHYSICAL RESPONSE METHOD AND CODE-SWITCHING TECHNIQUETO ENHANCE ENGLISH ABILITY OF KINDERGARTENERS |
Authors: | ปุณยวีร์ จิโรภาสวรพงศ์ |
Advisors: | วรวรรณ เหมชะญาติ ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | worawan.h@chula.ac.th,worawan.h@chula.ac.th Duangkamol.T@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์โดยบูรณาการวิธีสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางและเทคนิคการสลับภาษาเพื่อส่งเสริมความสามารถทางภาษาอังกฤษของเด็กอนุบาล และ 2) เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์โดยบูรณาการวิธีสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางและเทคนิคการสลับภาษาเพื่อส่งเสริมความสามารถทางภาษาอังกฤษของเด็กอนุบาล ตัวอย่าง คือ เด็กอายุ 5-6 ปี ที่ศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านสามพราน (นครสาระผดุงวิทย์) และโรงเรียนเทศบาล 1 วัดเทียนดัด (นครผลพิทยาคาร) รวมทั้งสิ้น 38 คน ระยะเวลาในการวิจัย 16 สัปดาห์ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างรูปแบบฯ (R1D1) ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบฯ (R2D2) และระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบฯ (R3D3) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษของเด็กอนุบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการจัดประสบการณ์โดยบูรณาการวิธีสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางและเทคนิคการสลับภาษาเพื่อส่งเสริมความสามารถทางภาษาอังกฤษของเด็กอนุบาล มีองค์ประกอบ ดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ หน่วยการเรียนรู้ ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน บทบาทครูและบทบาทเด็ก ระยะเวลาการใช้รูปแบบฯ และการประเมินผล โดยมีขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน 4 ขั้น คือ ขั้นทบทวนความรู้ ขั้นสาธิตให้ดู ขั้นฝึกปฏิบัติ และขั้นสรุปความเข้าใจ 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบฯ พบว่า 2.1 ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถทางภาษาอังกฤษของกลุ่มทดลอง หลังการทดลอง สูงกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.2 ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถทางภาษาอังกฤษของกลุ่มทดลอง หลังการทดลอง สูงกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนของกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.3 ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถทางภาษาอังกฤษของกลุ่มทดลอง หลังการทดลอง สูงกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความคงทน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1) to develop an instructional model integrating TPR method and code-switching technique to enhance English ability of kindergarteners and 2) to study the effectiveness of the developed instructional model. The samples were 38 kindergarteners at the age of five to six years in Thesaban 1 Baan-Sampran (Nakornsarapadungwit) School and Thesaban 1 Wat-Teandud (Nakornpolpitayakan) School. The research duration took 16 weeks. The research procedures were divided into 3 phases: 1) inventing the instructional model 2) developing the instructional model and 3) field testing and improving the instructional model. Research instruments were the test of English ability of kindergarteners. Arithmetic mean, standard deviation, and t-test were applied to analyze the results of the study. The research findings were as follows: 1. The developed instructional model consisted of principles, objectives, contents, steps of instruction, teacher's roles and children's roles, duration, and evaluation. There were 4 steps of the instruction: Recalling previous knowledge, teacher’s demonstration, practicing and wrap up. 2. The results of model testing were: 2.1 The scores on English ability of the experiment group after the experiment were higher than before with statistically significances differences at .01 level. 2.2 The scores on English ability of the experiment group after the experiment, were higher than control group with statistically significances differences at .01 level. 2.3 The scores on English ability of the experiment group after the experiment were higher than retention scores with statistically significances differences at .01 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การศึกษาปฐมวัย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55301 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.256 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.256 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5484226127.pdf | 4.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.