Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55327
Title: | การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาร่วมกับกระบวนการออกแบบอินโฟกราฟิกส์เพื่อเสริมสร้างการรู้ทางทัศนะและการสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาศิลปศึกษา |
Other Titles: | DEVELOPMENT OF A BLENDED LEARNING MODEL USING COGNITIVE TOOLS AND INFOGRAPHIC DESIGN PROCESS TO ENHANCE VISUAL LITERACY AND CREATIVITY FOR ART EDUCATION STUDENTS |
Authors: | ศิริเพ็ญ ภู่มหภิญโญ |
Advisors: | ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ เกษมรัสมิ์ วิวิตรกุลเกษม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Praweenya.S@Chula.ac.th,praweenya@gmail.com,praweenya@gmail.com kwkasemrat@gmail.com |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบ ศึกษาผลการใช้รูปแบบ และนำเสนอรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาร่วมกับกระบวนการออกแบบอินโฟกราฟิกส์เพื่อเสริมสร้างการรู้ทางทัศนะและการสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาศิลปศึกษา ตัวอย่างการวิจัยคือ นักศึกษาศิลปศึกษา จำนวน 30 คน ภาคเรียน ที่ 2 ปีการศึกษา 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้ฯ แบบทดสอบการรู้ทางทัศนะแบบปรนัยและอัตนัย เกณฑ์การประเมินการรู้ทางทัศนะแบบอัตนัย เกณฑ์การประเมินผลงานอินโฟกราฟิกส์ สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ วิเคราะห์ผลข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติบรรยายและการวิเคราะห์ t-test dependent การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพดำเนินการด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา สรุปผลการวิจัย 1. รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาร่วมกับกระบวนการออกแบบอินโฟกราฟิกส์เพื่อเสริมสร้างการรู้ทางทัศนะและการสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาศิลปศึกษา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน เครื่องมือทางปัญญา กระบวนการออกแบบอินโฟกราฟิกส์ สื่อและทรัพยากรสนับสุนการเรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้ และมีขั้นตอนการเรียนรู้ 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมความพร้อมและสร้างแรงบันดาลใจเพื่อการออกแบบอินโฟกราฟิกส์ 2) ขั้นออกแบบและสร้างผลงานอินโฟกราฟิกส์ 3) ขั้นเผยแพร่ผลงาน 2. ผลการทดลองรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาร่วมกับกระบวนการออกแบบอินโฟกราฟิกส์เพื่อเสริมสร้างการรู้ทางทัศนะและการสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาศิลปศึกษา พบว่า 1) นักศึกษาศิลปศึกษามีคะแนนการรู้ทางทัศนะหลังจากเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาร่วมกับกระบวนการออกแบบอินโฟกราฟิกส์ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลงานอินโฟกราฟิกส์มีคะแนนการสร้างสรรค์ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีเยี่ยม 3. ผลการประเมินและรับรองรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีระดับคุณภาพเหมาะสมมากสามารถนำไปใช้ได้ |
Other Abstract: | This research was a research and development design aiming to develop the learning model, implement, and propose a learning model of blended Learning using cognitive tools and infographic design process to enhance visual literacy and creativity for Art Education students. The sample was 30 Art Education students in the second semester, acedemic year 2016. The research instruments were a questionaire, semi-structured interview form, lesson plans based on the learning model, visual literacy test, visual literacy rubric, infographic rubric, and learning media. Quantitative data were analyzed by descriptive statistics, t-test for dependent samples, and development score; qualitative data were analyzed using content analysis method. The results were as follows: 1. The blended learning model using cognitive tools and infographic design process to enhance visual literacy and creativity for Art Education students consisted of 5 elements:1) Blennded Learning Activities, 2) Cognitive Tools, 3) Infographic Design Process, 4) Supported Materials, and 5) Evaluation. There are 3 teaching and learning steps in this learning model:1) Infographic Preparation and Inspiration, 2) Design and Creation of Infographics, and 3) Publish the Infographics. 2. The results of the implementation were as follows: 1) Visual literacy posttest scores of the Art Education students who studied with the blended learning model using cognitive tools and infographic design process to enhance visual literacy and creativity were significantly higher than the pretest scores at the .05 level, 2) Infographic scores of the Art Education students were pass at very good level. 3. The validation result by experts indicated the developed model was a high appropriate level to be used. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55327 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.41 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.41 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5584260527.pdf | 9.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.