Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55335
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิรยุทธ์ สินธุพันธุ์-
dc.contributor.authorนันทกา สุธรรมประเสริฐ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:35:35Z-
dc.date.available2017-10-30T04:35:35Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55335-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์สื่อในบริบทวัฒนธรรมการชิมอาหารของนักชิมไทย และวิเคราะห์กระบวนการประกอบสร้างรสนิยมเรื่องอาหารของนักชิมไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแนววัฒนธรรมศึกษาเชิงวิพากษ์ (Critical Cultural Studies) ได้แก่ textual analysis and sender analysis และใช้แนวคิดเกี่ยวกับอาหารและการสื่อสาร (Food and Communication) ทฤษฎีสัญญวิทยา (Semiology) และการบริโภคเชิงสัญญะ (The Consumption of Sign) แนวคิดเรื่องสังคมวิทยาแห่งวัฒนธรรม (Sociology of Culture) ของ Pierre Bourdieu แนวคิดเกี่ยวกับการชิมอาหาร (Food Tasting) เป็นกรอบในการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมการชิมอาหารเปลี่ยนแปลงไปตามภูมิทัศน์และคุณลักษณะของสื่อ ทั้งในด้านบทบาทของนักชิม การสื่อสาร และวิธีการชิมอาหาร สำหรับการวิเคราะห์กระบวนการประกอบสร้างรสนิยมเรื่องอาหารของนักชิมไทยนั้น พบว่านักชิมมีรสนิยมแบบผู้เชี่ยวชาญ (taste of professional) รสนิยมแบบหรูหรา (taste of luxury) รสนิยมความแปลกใหม่ (taste of novelty) รสนิยมความสะดวกสบาย (taste of convenience) รสนิยมความเป็นเหตุผล (taste of rationale) โดยรสนิยมดังกล่าวเกิดจากการบ่มเพาะฮาบิทัส (habitus) และสั่งสมทุนวัฒนธรรม (cultural capital) เรื่องอาหารจากสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันสื่อมวลชน และการขยายประสบการณ์เรื่องอาหาร โดยมีทุนเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญในการสั่งสมทุน นักชิมแปรรูปทุนวัฒนธรรมที่ตนเองมีเป็นทุนสัญลักษณ์ (symbolic capital) และทุนเศรษฐกิจผ่านการสื่อสารรสนิยมเรื่องอาหารของตนเอง นอกจากนั้นแล้วยังพบว่า นอกจากรสนิยมเรื่องอาหารจะเป็นเครื่องมือในการตอกย้ำสถานะและธำรงรักษาความแตกต่างทางชนชั้นแล้ว รสนิยมยังถูกแปลงให้เป็นสินค้าเพื่อสร้างทุนเชิงสัญลักษณ์ให้แก่นักชิมเพื่อธำรงรักษาสถานะความเป็นนักชิมในแวดวงการชิมอาหาร อีกทั้งการสื่อสารเป็นพื้นที่ในการต่อสู้และต่อรองระหว่างรสนิยมของปัจเจกกับระบบทุนนิยมที่แฝงมากับมายาคติการทำให้เป็นมาตรฐาน (standardisation) ในวัฒนธรรมอาหารอีกด้วย-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to: examine the change of media landscape in context of food tasting culture in Thailand, and to analyze the construction of culinary tastes of Thai gourmets. The research employed qualitative research methods relying on three data sources: textual analysis of blogs; in-depth interviews with Thai gourmets, restaurateurs, blog followers; and documentary analysis. Findings revealed that culture of food tasting in Thailand has been changed follow to the change of media landscape and their attribution. For an analysis of Thai gourmets’ culinary tastes construction, it was found that the gourmets had taste of professional, taste of luxury, taste of novelty, taste of convenience and taste of rationale. All these tastes originated from habitus process and the accumulation of cultural capital from family, educational and media institutions, as well as expansion of food experiences which economic capital was a key factor in capital accumulation. The gourmets transformed their cultural capital to symbolic and economic capitals through a communication on their culinary tastes. Furthermore, culinary tastes were a tool to emphasize social status and sustain the distinction among social classes. Besides, tastes were commodified and exchanged into symbolic capital, to sustain the gourmet status. In addition, communication was an area of struggle and negotiation between individual tastes and latent capitalism in the standardisation myth of food culture.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.411-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการสื่อสารและรสนิยมเรื่องอาหารของนักชิมไทย-
dc.title.alternativeCommunication and Culinary Taste of Thai Gourmets-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameนิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorJirayudh.S@Chula.ac.th,jirayudh.s@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.411-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5585104528.pdf8.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.