Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55345
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรศิริ หมื่นไชยศรี-
dc.contributor.authorชารีฟ เด่นสุมิตร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:35:40Z-
dc.date.available2017-10-30T04:35:40Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55345-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอแบบจำลองการประมาณขนาดของซอฟต์แวร์โดยใช้แผนภาพกิจกรรม (Activity Diagram) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในรูปแบบของขนาดของซอฟต์แวร์ในหน่วยแอคทิวิตีพอยท์ (Activity Point) เพื่อใช้ในการเป็นข้อมูลนำเข้าในการประมาณความพยายามในการพัฒนาซอฟต์แวร์ พร้อมทั้งเสนอเครื่องมือที่ใช้ในการประมาณขนาดของซอฟต์แวร์จากการนำแผนภาพกิจกรรมที่ออกแบบมาใช้ในการประมาณขนาดและความพยายามในการพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อให้ผู้ที่วางแผนโครงการหรือองค์กรสามารถนำแบบจำลองไปใช้เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรที่เหมาะสมในการพัฒนาซอฟต์แวร์นั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การพัฒนาแบบจำลองการประมาณขนาดของซอฟต์แวร์ด้วยวิธีแอคทิวิตีพอยท์ เริ่มด้วยการนำปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลโดยตรงกับขนาดซอฟต์แวร์ ประกอบด้วย ทรานแซคชัน (Transaction) เส้นทาง (Path) และความสัมพันธ์กันระหว่างยูสเคส (Use Case Relations) มาใช้ในการคำนวณหาขนาดของซอฟต์แวร์ในหน่วยแอคทิวิตีพอยท์ก่อนการปรับปรุง (Unadjusted Activity Point) เพื่อใช้ในการปรับด้วยค่าน้ำหนักเพื่อให้ได้ขนาดของการพัฒนาซอฟต์แวร์ในหน่วยของแอคทิวิตีพอยท์ต่อไป งานวิจัยนี้ใช้โครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ ในการสร้างแบบจำลองและทดสอบคุณภาพของแบบจำลอง ประกอบด้วย 10 โครงการ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่หนึ่งประกอบด้วย 7 โครงการสำหรับใช้ในการสร้างแบบจำลองการประมาณขนาดของซอฟต์แวร์ในหน่วยแอคทิวิตีพอยท์ และกลุ่มที่สองประกอบด้วย 3 โครงการสำหรับการทดสอบคุณภาพของแบบจำลองที่ได้สร้างขึ้น โดยใช้มาตรวัด ในการประเมินคุณภาพของแบบจำลองนี้ ซึ่งประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์ (Average Magnitude Relative Error) และคุณภาพของการประมาณที่ความคลาดเคลื่อนต่ำกว่า 0.25 (Prediction Quality: PRED(25))-
dc.description.abstractalternativeThis thesis aims to propose a model for estimating software size in activity point unit from activity diagram for software effort estimation. The research provides an estimating software size tool which estimates software size and software effort from Activity Diagram. The tool is developed for project manager to estimate with the Activity Point approach. Developing of Activity Point method, starting from defining factors which are directly impact to software size. The factors include Transactions, Paths, and Use Case Relations of each use case to represent software size in Unadjusted Activity Point (UAP). UAP will be adjusted with external weight factors to get result of software size in activity point unit. The research uses 10 software development projects to create and evaluate quality of the model which are separated into 2 groups. First group includes 7 projects to create an estimation model. Second group includes 3 projects to measure a quality of the model. Average Magnitude Relative Error and PRED(25) are used to evaluate quality of Activity Point approach.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.994-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการประมาณความพยายามการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยแอคทิวิตีพอยท์-
dc.title.alternativeSoftware Effort Estimation using Activity Point-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมซอฟต์แวร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorPornsiri.Mu@Chula.ac.th,pornsiri.mu@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.994-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670167621.pdf7.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.