Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55353
Title: การพัฒนาอุปกรณ์ระบุชนิดไอโซโทปรังสีแบบพกพา
Other Titles: DEVELOPMENT OF A PORTABLE ISOTOPES IDENTIFIER DEVICE
Authors: วีระวัฒน์ พรรุ่งเรืองโชค
Advisors: เดโช ทองอร่าม
สุวิทย์ ปุณณชัยยะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Decho.T@Chula.ac.th,dechot@chula.ac.th
Suvit.P@Chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อุปกรณ์ระบุชนิดไอโซโทปรังสีแบบพกพานี้ พัฒนาขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือวัดทางนิวเคลียร์ที่สามารถระบุชนิดของไอโซโทปรังสีจากการวิเคราะห์สเปกตรัมพลังงานรังสีแกมมาที่ปลดปล่อยออกมาจากวัสดุกัมมันตรังสีใดๆ การออกแบบและสร้างเลือกใช้วัสดุที่หาได้ภายในประเทศเป็นหลัก เพื่อให้ง่ายต่อการบำรุงรักษา ระบบวัดรังสีเพื่อวิเคราะห์สเปกตรัมพลังงานประกอบด้วย หัววัดเรืองรังสีชนิดผลึกซีเซียมไอโอไดด์เจือสารทัลเลียมขนาด 10x10 มม.2 ประกบกับโฟโตไดโอดชนิดพินเชื่อมต่อกับวงจรขยายส่วนหน้าแบบไวประจุที่มีความไว 22 มิลลิโวลต์/เมกาอิเล็กตรอนโวลต์ สัญญาณพัลส์จากระบบวัดส่วนหน้าจะได้รับการขยายสัญญาณด้วยวงจรขยายสัญญาณพัลส์ และส่งต่อให้วงจรวิเคราะห์พลังงานแบบช่องเดี่ยวที่ควบคุมการทำงานด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ สัญญาณลอจิกที่ถูกคัดเลือกจะส่งเข้าวงจรเรตมิเตอร์เพื่อเปลี่ยนอัตรานับรังสีเป็นแรงดันไฟฟ้าเฉลี่ย เมื่อเสร็จสิ้นการวัดระบบจะแสดงสเปกตรัมพลังงานของรังสีแกมมาบนหน้าจอแสดงผลแอลซีดีขนาด 4.3 นิ้ว หลังการปรับเทียบพลังงาน ระบบสามารถระบุชนิดไอโซโทปด้วยโปรแกรมการค้นหาในฐานข้อมูลพลังงานไอโซโปรังสีที่บันทึกไว้ เมื่อเลื่อนตัวชี้ตำแหน่งไปที่บริเวณจุดกึ่งกลางของพีค ± 21 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ผลทดสอบการทำงานพบว่าอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นสามารถวัดสเปกตรัมของไอโซโทปรังสี โคบอลต์-57 พลังงาน 122 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ซีเซียม-137 พลังงาน 662 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ และโคบอลต์-60 พลังงาน 1,173 และ 1,332 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ได้เป็นที่น่าพอใจและเมื่อเลื่อนตัวชี้ตำแหน่งไปจุดกึ่งกลางของพีกสามารถระบุชนิดไอโซโทปรังสีได้อย่างถูกต้อง ซึ่งใช้เวลาในการวัดครั้งละ 92 วินาที
Other Abstract: A portable Radioisotope Identifier Device (RIID) was developed as a nuclear instrument for radioisotopes identification by analyzing the energy spectrum of gamma emitted from radioactive materials. The design and construction were mainly used local available components and materials for ease of maintenance. This gamma spectroscopic system consisted of a 10x10 mm2 CsI (Tl) crystal coupled with PIN photodiode detector in conjunction with 22 mV/MeV charge sensitive preamplifier. The measured pulse output from the front-end stage was fed to a pulse amplifier circuit. Amplified signal was then sent to a single channel analyzer circuit which was controlled by a microcontroller. The differential discriminated logic was coupled with a ratemeter circuit in order to convert the count rate to the average voltage signal. The gamma analyzed spectrum was displayed on the 4.3 inches LCD display screen. After energy calibration, isotope identification could be performed by the search library program by moving cursor was along the mid photopeak location in range of ± 21 keV. The measurement results indicated that the gamma energy spectrum of Co-57 (122 keV), Cs-137 (662 keV) and Co-60 (1173 keV and 1332 keV) could be measured satisfactory and all these three radioisotopes were correctly identified. The total measurement time was 92 second.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิวเคลียร์เทคโนโลยี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55353
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.499
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.499
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670389621.pdf9.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.