Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55355
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมบูรณ์ แสงวงค์วาณิชย์-
dc.contributor.authorสุวรรณ นุชน้อย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:35:47Z-
dc.date.available2017-10-30T04:35:47Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55355-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractคอนเวอร์เตอร์สามระดับหลังชนหลังแบบสมมาตรเป็นโครงสร้างที่มีกำลังสูญเสียจากการสวิตช์น้อยมากเมื่อเทียบกับคอนเวอร์เตอร์สามระดับหลังชนหลังโครงสร้างดั้งเดิม เนื่องจากการทำงานของภาควงจรเรียงกระแสใช้การสวิตช์ที่ความถี่สายกำลังแทนการสวิตช์แบบความกว้างพัลส์ที่ใช้ความถี่สูง แต่อย่างไรก็ตามภาควงจรอินเวอร์เตอร์ของคอนเวอร์เตอร์สามระดับหลังชนหลังแบบสมมาตรที่ใช้การสวิตช์แบบความกว้างพัลส์ยังมีจำนวนครั้งการสวิตช์สูงถึง 8 ครั้งต่อคาบการสวิตช์ ซึ่งมากกว่าคอนเวอร์เตอร์สามระดับหลังชนหลังแบบดั้งเดิมที่มีเพียง 6 ครั้งต่อคาบการสวิตช์ งานวิจัยนี้จึงนำเสนอวิธีการมอดูเลตที่ช่วยลดจำนวนครั้งการสวิตช์ของภาควงจรอินเวอร์เตอร์ของคอนเวอร์เตอร์สามระดับหลังชนหลังแบบสมมาตรให้น้อยลงเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว เทคนิคการมอดูเลตที่นำเสนอประยุกต์มาจากเทคนิคการมอดูเลตของเมทริกซ์คอนเวอร์เตอร์โดยจะทำบนฐานคลื่นพาห์แบบขั้วคู่ วิธีการมอดูเลตดังกล่าวทำให้มีหนึ่งเฟสไม่มีการสวิตช์ จำนวนครั้งการสวิตช์ของภาควงจรอินเวอร์เตอร์จึงลดลงเหลือเพียง 6 ครั้งต่อคาบการสวิตช์ โดยที่คอนเวอร์เตอร์ยังคงสามารถควบคุมรูปคลื่นกระแสและตัวประกอบกำลังด้านเข้าได้ ส่งผลให้คอนเวอร์เตอร์มีกำลังสูญเสียจากการสวิตช์และการแทรกสอดทางแม่เหล็กไฟฟ้าลดลง ผลจำลองการทำงานและผลทดสอบในทางปฏิบัติกับเครื่องต้นแบบสามารถยืนยันได้ถึงความถูกของทฤษฎีที่นำเสนอ-
dc.description.abstractalternativeThe symmetrical three-level back-to-back converter has less switching losses in the rectifier stage than that of the conventional three-level back-to-back converter because the rectifier stage switches at the fundamental power frequency instead of using pulse width modulation technique. However, the number of switching of the inverter stage is 8 per switching period which is higher than 6 of the conventional three-level inverter. This thesis proposes a new modulation method which reduces the number of switching of the symmetrical three-level back-to-back converter. The proposed modulation technique is based on the double-carrier-based dipolar PWM theory of the matrix converters. The switching losses and electromagnetic interference (EMI) of the back-end inverter are reduced accordingly due to the introduction of non-switching phase, while the input current and power factor are still fully controlled. Finally, the validity of the theory is confirmed by simulation and experimental results.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.943-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการลดจำนวนครั้งการสวิตช์สำหรับคอนเวอร์เตอร์สามระดับหลังชนหลังแบบสมมาตร-
dc.title.alternativeReduction of Switching Number for Symmetrical Three-Level Back-to-Back Converters-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมไฟฟ้า-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorSomboon.Sa@Chula.ac.th,Somboon.Sa@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.943-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670445021.pdf7.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.