Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55360
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรศิริ หมื่นไชยศรี-
dc.contributor.authorสุทธิกานต์ เนาวรัตน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:35:50Z-
dc.date.available2017-10-30T04:35:50Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55360-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractโปรแกรมที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูลจะใช้เพื่อการเข้าถึงข้อมูลและการจัดการข้อมูลในระบบที่มีขนาดใหญ่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการสืบค้นข้อมูล ลดปริมาณงานระหว่างโปรแกรมประยุกต์และฐานข้อมูล และลดปัญหาปริมาณการเชื่อมต่อที่มากระหว่างโปรแกรมประยุกต์และฐานข้อมูล ดังนั้นถ้าซอร์ซโค้ดของโปรแกรมที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูลมีร่องรอยที่ผิดพลาดเกิดขึ้น จะส่งผลกระทบเมื่อต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขซอร์ซโค้ด และในที่สุดก็มีผลเสียต่อคุณภาพของระบบและความสามารถในการบำรุงรักษาของโปรแกรมที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูล งานวิจัยนี้นำเสนอวิธีการในการตรวจหาร่องรอยที่ผิดพลาดของโปรแกรมที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูลด้วยการใช้แผนภาพต้นไม้และการวิเคราะห์บริบท สำหรับร่องรอยที่ผิดพลาด 6 ประเภท โดยวิธีการใช้แผนภาพต้นไม้นั้นจะเป็นการเปรียบเทียบโครงสร้างของแผนภาพต้นไม้ของร่องรอยที่ผิดพลาดกับแผนภาพต้นไม้ของซอร์ซโค้ด ซึ่งซอร์ซโค้ดที่ใช้จะพัฒนาด้วยภาษา PL/SQL ส่วนการใช้วิธีการวิเคราะห์บริบท คือการสร้างข้อกำหนดและคุณสมบัติให้กับร่องรอยที่ผิดพลาด เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการตรวจหาร่องรอยที่ผิดพลาด นอกจากนี้งานวิจัยนี้ได้มีการอธิบายกระบวนการของภาพรวมของระบบ กระบวนการอัลกอริทึม และใช้ซอร์ซโค้ดสำหรับการทดลอง โดยการประเมินความสามารถของวิธีการที่นำเสนอนี้จะใช้ค่าดัชนีความสามารถในการบำรุงรักษาเพื่อแสดงให้เห็นว่าวิธีการที่นำเสนอนี้มีประสิทธิผล-
dc.description.abstractalternativeStored procedures are commonly used for accessing and manipulating data in large-scale system development to optimize the database query, reduce the application workloads and reduce the traffic problems between the database and the application. If the source code of stored procedures has bad smells, it will have the impact on modification and eventually, have a negative impact on their quality and maintainability. This research proposes Tree Diagram and Context Analysis approach in detecting six different bad smells of stored procedures. The tree diagram approach is the comparison tree diagram of bad smells and source code which is written in PL/SQL. The context analysis approach is the creation of rules and qualifications of bad smells for increasing the accuracy in detection. In addition, this research explains the overview process, the algorithm process, and uses example source code. The research uses MI (Maintainability Index) to evaluate the effectiveness of the approach.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.987-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการตรวจหาร่องรอยที่ผิดพลาดของโปรแกรมที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูล-
dc.title.alternativeDetection of Stored Procedure Bad Smells-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมซอฟต์แวร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorPornsiri.Mu@Chula.ac.th,Pornsiri.Mu@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.987-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670980421.pdf3.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.