Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55379
Title: | การศึกษาคลื่นสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อของกล้ามเนื้อ Adductor longus และกล้ามเนื้อขา ขณะเตะลูกฟุตบอลเมื่อสวมใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อในนักกีฬาฟุตบอลอาชีพชาย |
Other Titles: | The Study of EMG on the Adductor longus Muscle and Lower Extremity Muscles During Soccer Kicking with Compression Shorts in Professional Male Soccer Players |
Authors: | ยงศักดิ์ เลิศดำรงเกียรติ |
Advisors: | ภาสกร วัธนธาดา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pasakorn.W@chula.ac.th,spmed.chula@gmail.com |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การบาดเจ็บบริเวณขาหนีบสามารถพบได้บ่อยในกีฬาฟุตบอล และมีความสัมพันธ์กับกล้ามเนื้อ Adductor longus มากที่สุด จากการศึกษาในอดีตยังไม่สามารถอธิบายเกี่ยวกับการทำงานของกล้ามเนื้อในขณะสวมใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อได้ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อ Adductor longus เมื่อทำการเตะลูกฟุตบอลในขณะสวมใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อ ว่ามีการทำงานของกล้ามเนื้อเป็นอย่างไร วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ Adductor longus และกล้ามเนื้อมัดอื่นขณะเตะลูกฟุตบอล เมื่อไม่ได้สวมใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อ เมื่อสวมใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อแบบปกติ และ เมื่อสวมใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อแบบมีแถบยืด ระเบียบวิธีการวิจัย : นักฟุตบอลอาชีพชายจำนวน 48 คน จะทดสอบโดยการเตะลูกฟุตบอลแบบหลังเท้า (Instep kick : ISK) และแบบข้างเท้าด้านใน (Side-foot kick : SFK) ขณะสวมใส่กางเกงทั้ง 3 รูปแบบ ลูกบอลจะถูกว่างที่บริเวณจุดโทษ จะทำการเตะลูกฟุตบอลรูปแบบละ 5 ครั้ง ค่าคลื่นสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Surface Electromyography: SEMG) ของกล้ามเนื้อ Adductor longus และกล้ามเนื้อมัดอื่นจะถูกบันทึกและนำไปวิเคราะห์ต่อไป ผลการทดสอบ: ในทุกช่วงของการเตะลูกฟุตบอล ค่าคลื่นสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อของกล้ามเนื้อ Adductor longus จะเรียงจากมากไปหาน้อย ขณะสวมใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อแบบมีแถบยืด ขณะไม่สวมใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อและขณะสวมใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อแบบปกติ ตามลำดับ ในช่วง Acceleration จะพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการเตะลูกฟุตบอลขณะสวมใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อแบบปกติกับขณะสวมใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อแบบมีแถบยืด ทั้งการเตะลูกฟุตบอลแบบ ISK และ SFK สรุปผลการทดลอง: การสวมใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อแบบปกติจะพบว่ามีค่าคลื่นสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อ Adductor longus น้อยที่สุด ส่งผลให้กล้ามเนื้อ Adductor longus มีการทำงานน้อยกว่า และอาจจะส่งผลทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการล้าและบาดเจ็บได้น้อยกว่า |
Other Abstract: | Groin injury is the most common injury in football. Groin injury is highly associated with Adductor longus muscle. Previous studies do not investigate about muscle activation, especially adductor longus muscle during compression short wearing. Therefore, this study investigated the muscle activation of the Adductor longus muscle during soccer kick with compression short wearing. Objective: This study compares surface electromyography (SEMG) of Adductor longus muscle and other muscles during soccer kick with wearing 3 types of shorts: no compression shorts (NC), normal compression shorts (C) and directional compression shorts (CX). Methods: Forty eight male professional footballers are kicking the ball with Instep kick (ISK) and Side-foot kick (SFK) both with 3 types of compression shorts. The ball was kicked at penalty spot, 5 times per types of kicks. The surface electromyography of Adductor longus muscle and other muscles were measured. Results and Discussion: In every phase of kicking, SEMG of Adductor longus was found high to low activation in the sequence of CX, C and NC respectively. In acceleration phase, it found the significantly statistic difference (p<0.05) by comparison between normal compression shorts (C) and directional compression shorts (CX). Conclusions: Wearing the normal compression short was associated with lowest SEMG in adductor longus. Lower activation might affect less fatigue and have low injury risk. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เวชศาสตร์การกีฬา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55379 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.102 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.102 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5674061430.pdf | 4.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.