Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55383
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนกพร จิตปัญญา-
dc.contributor.authorพิมพ์ภัทร ตันติทวีวัฒน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:36:08Z-
dc.date.available2017-10-30T04:36:08Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55383-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการปรับตัวของผู้รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง และเพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของปัจจัย ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคม การเผชิญความเครียด ความรู้สึกไม่แน่นอน ความรุนแรงของอาการ และความสามารถในการรู้คิด โดยมีทฤษฎีความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของ Mishel (1988) เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองวัยผู้ใหญ่ที่มาติดตามอาการที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร และโรงพยาบาลพุทธชินราช จำนวน 110 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการปรับตัว แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม แบบประเมินการเผชิญความเครียด แบบประเมินความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย แบบประเมินความรุนแรงของอาการ และแบบประเมินความสามารถในการรู้คิด ค่าความเที่ยงของเครื่องมือแบบสอบถามการปรับตัว แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม แบบประเมินการเผชิญความเครียด แบบประเมินความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย เท่ากับ .95, .91, .86 และ .90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. การปรับตัวของผู้รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี (x = 2.51, SD = .48) 2. การสนับสนุนทางสังคมสามารถทำนายการปรับตัวของผู้รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองได้ร้อยละ 9.5 (Adjusted R2 = .095)-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this predictive research aimed to examine adaptation, and to examine whether social support, coping, uncertainty in illness, symptom severity and cognitive thinking could predict adaptation of stroke survivors. The theoretical framework was based on Uncertainty in illness of Mishel (1988). One hundred and ten stroke survivors were recruited by using multi-stage random sampling technique from Out-Patient Departments of Naresuan University Hospital and Buddhachinaraj Hospital. The instruments were composed of demographic data and illness questionnaire, Psychosocial Adjustment to Illness Scale, the ENRICH Social Support Questionnaire, coping questionnaire, The Mishel Uncertainty in Illness Scale - Community Form, National Institute of Heath Stroke Scale and MMSE-Thai. The reliability of Psychosocial Adjustment to Illness Scale, the ENRICH Social Support Questionnaire, coping questionnaire and The Mishel Uncertainty in Illness Scale - Community Form were .95, .91, .86 and .90, respectively. Data were analyzed using mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation and Stepwise multiple regression statistics. The results revealed: 1. The mean score of adaption of stroke survivors was at good level (mean = 2.51, SD = .48) 2. Social support were predictors with 9.5% of total variances explained of adaptation of stroke survivors.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.650-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectโรคหลอดเลือดสมอง -- ผู้ป่วย-
dc.subjectการปรับตัวทางสังคม-
dc.subjectCerebrovascular disease -- Patients-
dc.subjectSocial adjustment-
dc.titleปัจจัยทำนายการปรับตัวของผู้รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง-
dc.title.alternativeFACTORS PREDICTING ADAPTATION OF STROKE SURVIVORS-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.650-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5677194836.pdf4.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.