Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55385
Title: ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยภายหลังใส่เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติ
Other Titles: PREDICTING FACTORS OF QUALITY OF LIFE AMONG PERSONS WITH IMPLANTABLE CARDIOVERTER DEFIBRILLATOR
Authors: อภิญญา โฆสิต
Advisors: สุนิดา ปรีชาวงษ์
ระพิณ ผลสุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: ตัวคุมจังหวะหัวใจ
คุณภาพชีวิต -- ผู้ป่วย
Cardiac pacemakers
Quality of life -- Patients
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของความถี่ในการกระตุกของเครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติ การสนับสนุนทางสังคม ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยและความรู้ในการปฏิบัติตัวต่อคุณภาพชีวิต กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยภายหลังใส่เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติ ที่มารับบริการ ณ หน่วยตรวจผู้ป่วยนอกเครื่องกระตุ้นหัวใจ โรงพยาบาลรามาธิบดีและโรงพยาบาลราชวิถี จำนวน 120 คนโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความถี่ในการกระตุกของเครื่องเครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติ 3) แบบวัดการสนับสนุนทางสังคมแบบพหุมิติ 4) แบบวัดความไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย ฉบับภาษาไทย 5) แบบวัดความรู้ในการปฏิบัติตัวความรู้ในการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยที่ใส่ AICD 6) แบบประเมินคุณภาพชีวิตเครื่องมือวิจัยดังกล่าวได้ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาและหาความเที่ยงด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.91 , 0.90 , 0.78 และ 0.80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย = 72.25, SD= 14.00) มีเพียงปัจจัยความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยและการสนับสนุนทางสังคมสามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ที่ใส่เครื่องเครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติ โดยความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยมีอิทธิพลทางด้านลบ (Beta=-.324 , p<.05) การสนับสนุนทางสังคมมีอิทธิพลทางด้านบวก (Beta =.406, p<.05) โดยทั้งสองปัจจัยสามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติ ได้ร้อยละ 29.72 (p<.05).
Other Abstract: A descriptive-correlational study was conducted to examine whether the potential factor can predict quality of life among persons with automatic implantable cardioverter Defibrillator. A total number of 120 automatic implantable cardioverter defibrillator were recruited from super tertiary hospitals in Bangkok. The research instruments included 1) demographic data 2) frequency of Automatic implantable cardioverter Defibrillator shock questionnaire 3) Multidimensional Scale of perceive Social support Thai version 4) Mishel uncertainty in illness scale-community version Thai version 5) knowledge of Automatic implantable cardioverter Defibrillator test 6) EQ-5D-5L. All research instruments were tested for content validity and reliability; Cronbach’s alpha coefficients were 0.91, 0.90, 0.78 and 0.81 respectively. Data were analyzed using multiple regression. The result of the study revealed that the mean score of Quality of life was good (mean = 72.25, SD = 14.00). Only two variables were significant predictors. Uncertainty of illness negatively related with quality of life (Beta =-.324, p<.05). Social support positively correlated with quality of life (Beta =.406, p<.05). These two variables accounted for 29.72% of the explained variance quality of life (p<.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55385
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.649
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.649
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5677226236.pdf4.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.