Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55393
Title: | STANDARDIZATION OF LONICERA JAPONICA FLOWERING BUD AND CONTENTS OF CHLOROGENIC, ROSMARINIC AND CAFFEIC ACIDS IN SELECTED THAI MEDICINAL PLANTS |
Other Titles: | มาตรฐานของดอกสายน้ำผึ้ง และปริมาณวิเคราะห์ของกรดคลอโรจีนิก โรสมารินิก และคาเฟอิกในสมุนไพรไทยบางชนิด |
Authors: | Chayanon Chaowuttikul |
Advisors: | Chanida Palanuvej Nijsiri Ruangrungsi |
Other author: | Chulalongkorn University. College of Public Health Sciences |
Advisor's Email: | Chanida.P@Chula.ac.th,chanida.p@chula.ac.th nijsiri.r@chula.ac.th |
Issue Date: | 2016 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | Quantification of chlorogenic, rosmarinic and caffeic acids in 111 selected Thai medicinal plants using high performance liquid chromatography demonstrated that among 111 samples, 39.64% contained all of 3 compounds, 40.54% contained 2 compounds, 14.41% contained only 1 compound and 5.41% could not detect these 3 compounds. Lonicera japonica flowering buds were found to be the richest source for chlorogenic acid content, Melissa officinalis leaves showed the most rosmarinic acid content and the most caffeic acid content was found in Coffea canephora seeds. Pharmacognostic specification and chlorogenic acid content of L. japonica flowering bud from 15 various herbal drugstores throughout Thailand were established. Macroscopic and microscopic evaluation of flowering bud were demonstrated. Physico-chemical parameters including loss on drying, total ash, acid insoluble ash, water content, ethanol and water soluble extractive values were found to be 10.11, 6.59, 1.14, 10.82, 16.46 and 28.88 % by dry weight respectively. For quantitative analysis, chlorogenic acid content in flowering bud by TLC-densitometry compared to TLC-image analysis by imageJ software were found to be 2.24 and 2.09 g/100 g respectively which were not significantly different (P = 0.13). The validation parameters of all quantitative analysis were investigated according to ICH guideline. HPLC as well as TLC-densitometry and TLC-image analysis were demonstrated as suitable, reliable and efficient methods for the quantitative analyses. In vitro biological activities of L. japonica flowering bud compared to chlorogenic, rosmarinic and caffeic acids were evaluated by brine shrimp lethality assay, MTT cell viability assay, comet assay, antimicrobial activities, antioxidant activities and yeast alpha-glucosidase inhibition assay. The results demonstrated that flowering bud ethanolic extract showed non-toxicity on brine shrimp nauplii and 6 tested cell lines. Chlorogenic, rosmarinic and caffeic acids demonstrated toxicity against brine shrimp nauplii. They showed more cytotoxic potentials against tested cell lines than the extract but were still accepted as no cytotoxicity. The extract and 3 compounds showed human lymphocyte DNA damage by comet assay. They were no inhibitory activities against tested microorganisms. The extract and the compounds demonstrated the abilities of DPPH and nitric oxide scavenger and reducing power. However, only the compounds exhibited beta-carotene bleaching activity. Moreover, they inhibited enzyme activity in yeast alpha-glucosidase inhibition study. |
Other Abstract: | การหาปริมาณกรดคลอโรจีนิก กรดโรสมารินิก และกรดคาเฟอิก ในพืชสมุนไพรไทย 111 ตัวอย่าง ด้วยเครื่องมือไฮเพอร์ฟอแมนซ์ลิควิดโครมาโตกราฟี พบว่ามีตัวอย่างสมุนไพรที่พบทั้ง 3 สาร คิดเป็นร้อยละ 39.64 พบ 2 สาร คิดเป็นร้อยละ 40.54 พบเพียง 1 สาร คิดเป็นร้อยละ 14.41 และตรวจไม่พบทั้ง 3 สาร คิดเป็นร้อยละ 5.41 ปริมาณกรดคลอโรจีนิกพบมากที่สุดในดอกสายน้ำผึ้ง กรดโรสมารินิกพบมากที่สุดในใบเลมอนบาล์ม และกรดคาเฟอิกพบมากที่สุดในเมล็ดกาแฟโรบัสตา การศึกษาเพื่อจัดทำข้อกำหนดทางเภสัชเวทและปริมาณวิเคราะห์ของกรดคลอโรจีนิกในดอกสายน้ำผึ้งจากร้านขายสมุนไพร 15 แหล่งทั่วประเทศไทย ได้แสดงลักษณะทางมหทรรศน์และจุลทรรศน์ของดอกสายน้ำผึ้ง และศึกษาเอกลักษณ์ทางกายภาพและเคมีของดอกสายน้ำผึ้ง พบว่ามีน้ำหนักที่หายไปเมื่อทำให้แห้ง ปริมาณเถ้ารวม เถ้าที่ไม่ละลายในกรด ปริมาณความชื้น ปริมาณสิ่งสกัดด้วยน้ำ และปริมาณสิ่งสกัดด้วยเอทานอล ร้อยละ 10.11, 6.59, 1.14, 10.82, 16.46 และ 28.88 โดยน้ำหนักตามลำดับ สำหรับปริมาณวิเคราะห์กรดคลอโรจีนิกในดอกสายน้ำผึ้งโดยวิธีทินเลเยอร์โครมาโทกราฟี-เด็นซิโตมีทรีเปรียบเทียบกับวิธีทินเลเยอร์โครมาโทกราฟีโดยวิเคราะห์ภาพถ่ายโดยใช้โปรแกรมอิมเมจเจ พบปริมาณกรดคลอโรจีนิก ร้อยละ 2.24 และ 2.09 โดยน้ำหนัก ซึ่งพบว่าปริมาณที่วิเคราะห์โดยทั้งสองวิธีไม่แตกต่างกัน (P = 0.13) โดยใช้สถิติ paired t-test การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณทั้งสามวิธี ประเมินโดยการใช้แนวทางของไอซีเอช (ICH guideline) พบว่าวิธีไฮเพอร์ฟอแมนซ์ลิควิดโครมาโตกราฟี วิธีทินเลเยอร์โครมาโทกราฟี-เด็นซิโตมีทรี และวิธีทินเลเยอร์โครมาโทกราฟีโดยวิเคราะห์ภาพถ่าย มีความเหมาะสม เชื่อถือได้ และมีประสิทธิผลในการวิเคราะห์หาปริมาณ การทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของดอกสายน้ำผึ้งเปรียบเทียบกับกรดคลอโรจีนิก กรดโรสมารินิก และกรดคาเฟอิก โดยการทดสอบความเป็นพิษต่อไรทะเล การทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งโดยวิธีเอ็มทีที การประเมินความเป็นพิษต่อดีเอ็นเอโดยวิธีโคเมท การทดสอบฤทธิ์ต้านจุลชีวิน การศึกษาฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน และการศึกษาฤทธิ์ต้านเบาหวานโดยวัดการยับยั้งเอ็นไซม์แอลฟากลูโคซิเดสจากยีสต์แซคคาโรไมซีส ซีรีวิซิอี ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดเอทานอลของดอกสายน้ำผึ้งไม่พบความเป็นพิษต่อไรทะเล ต่อเซลล์มะเร็ง และเซลล์ปกติ กรดคลอโรจีนิก กรดโรสมารินิก และกรดคาเฟอิกพบความเป็นพิษต่อไรทะเล และแสดงความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งและเซลล์ปกติมากกว่าสารสกัด แต่ยังคงถือว่าไม่เป็นพิษเมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน สารสกัดและสารทดสอบทั้ง 3 สาร พบว่าสร้างความเสียหายต่อดีเอ็นเอจากเซลล์เม็ดเลือดขาวของมนุษย์ แต่ไม่พบฤทธิ์ในการต้านจุลชีวินทั้งหมดที่ศึกษา สารสกัดและสารทดสอบทั้ง 3 สาร พบว่ามีฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชันด้วยวิธีการต้านอนุมูลอิสระดีพีพีเอช มีฤทธิ์ในการต้านไนตริกออกไซด์ และมีความสามารถในการรีดิวซ์ อย่างไรก็ตามมีเพียงสารทดสอบทั้ง 3 สารเท่านั้น ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยวิธีการฟอกสีเบตา-แคโรทีน นอกจากนี้สารสกัดและสารทดสอบทั้ง 3 สาร พบว่ามีฤทธิ์ในการยับยั้งเอ็นไซม์แอลฟากลูโคซิเดสจากยีสต์ |
Description: | Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2016 |
Degree Name: | Doctor of Philosophy |
Degree Level: | Doctoral Degree |
Degree Discipline: | Public Health Sciences |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55393 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1864 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.1864 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pub Health - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5679054053.pdf | 6.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.