Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55415
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธาตรี ใต้ฟ้าพูล-
dc.contributor.authorปรีดิ์เปรม ชัยกิจ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:36:35Z-
dc.date.available2017-10-30T04:36:35Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55415-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง การจัดการภาวะวิกฤตบนสื่อสังคมออนไลน์ของบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในครั้งนี้ เป็นงานวิจัยแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์การวิจัย (1) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการภาวะวิกฤตบนสื่อสังคมออนไลน์ของบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ และ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จในการจัดการภาวะวิกฤตบนสื่อสังคมออนไลน์ของบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการศึกษาข้อมูลเอกสาร (Documentary Research) ที่เกี่ยวกับการจัดการภาวะวิกฤต ประกอบกับการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) ศึกษาจากกรณีภาวะวิกฤตบนสื่อสังคมออนไลน์ที่เกิดขึ้นจริงกับบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ จากนั้นจึงใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยเลือกผู้ให้สัมภาษณ์ด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ซึ่งแบ่งผู้ให้สัมภาษณ์ออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน ผลการวิจัยพบว่า กระกวนการจัดการกับภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นบนช่องทางสื่อสังคมออนไลน์สามารถแบ่งการจัดการออกเป็น 3 ช่วงได้ดังนี้ (1) การจัดการช่วงก่อนการเกิดเหตุการภาวะวิกฤต (Pre-crisis) องค์กรเตรียมพร้อมตั้งแต่การปรับโครงสร้างองค์กรให้ดิจิทัลเป็นส่วนเดียวกันกับองค์กร, การจัดทำคู่มือแผนเตรียมความพร้อม, การกำหนดนโยบายการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์สำหรับพนักงานภายในองค์กร, การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสื่อมวลชนและ Influencer และการเฝ้าระวังข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรบนสื่อสังคมออนไลน์ (2) การจัดการช่วงเกิดเหตุการณ์ภาวะวิกฤต (Crisis Event) การจัดการในช่วงนี้เริ่มต้นจากการกำหนดสัญญาณเตือนถึงการเกิดภาวะวิกฤตบนสื่อสังคมออนไลน์, กระบวนการตอบสนอง และการเลือกช่องทางการสื่อสาร และ (3) การจัดการช่วงหลังเหตุการณ์ภาวะวิกฤต (Post Crisis) องค์กรนำข้อมูลของเหตุการณ์ภาวะวิกฤตและวิธีการจัดการกับภาวะวิกฤตมาประเมินผลแล้วนำเก็บรวบรวมเพิ่มลงไปในคู่มือการเตรียมความพร้อม เพื่อนำมาปรับปรุงการทำงานภายในองค์กรและพัฒนากระบวนการจัดการกับภาวะวิกฤตให้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ ยังพบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จในการจัดการกับภาวะวิกฤตบนสื่อสังคมออนไลน์ ประกอบไปด้วยดังนี้ (1) องค์กรเห็นความสำคัญของการจัดการภาวะวิกฤตบนสื่อสังคมออนไลน์ (2) ทีมงานที่มีความรู้และเข้าใจในหลักการจัดการภาวะวิกฤตบนสื่อสังคมออนไลน์ (3) การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับสื่อมวลชนและ Influencer และ (4) ความรวดเร็วและความชัดเจนถูกต้อง-
dc.description.abstractalternativeThis Research is a qualitative study which has two objectives 1) to study the approach of crisis management on social media of mobile service providers and 2) to find out the key success factors in crisis management on social media of mobile service providers. The research methodologies are documentary study that analyze information from crisis management of mobile service providers and from case study of crisis management on social media of mobile service providers, and in-depth interview with four groups of key informants chosen by purposive sampling. The research found that crisis management on social media could be divide into three periods 1) pre-crisis was the preparedness for restructuring the organizations by adding digital division to the organizations, setting policy on use of social media for employees, building good relationship with media and influencers, and monitoring information on social media 2) crisis reaction was setting a signal of warning about crisis situation on social media, responsive process, and selection process of communication channel 3) post-crisis was the evaluation information collected during the crisis situation and creating crisis preparedness manual which gradually improves working process in the organizations and develops crisis management process. Moreover, the result of this research showed that the key success factors in crisis management on social media were 1) organizations gave precedence for crisis management on social media 2) all members in the organizations understood and knew how to cope with crisis situation 3) good relationship with media and influencers 4) making themselves clear promptly.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.422-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการจัดการในภาวะวิกฤต-
dc.subjectสื่อสังคมออนไลน์-
dc.subjectอุตสาหกรรมบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่-
dc.subjectCrisis management-
dc.subjectSocial media-
dc.subjectCell phone services industry-
dc.titleการจัดการภาวะวิกฤตบนสื่อสังคมออนไลน์ของบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่-
dc.title.alternativeCRISIS MANAGEMENT IN SOCIAL MEDIA OF MOBILE SERVICE PROVIDERS-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorTatri.T@Chula.ac.th,tatri13@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.422-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5884866128.pdf6.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.