Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55424
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์-
dc.contributor.authorกรณ์กมล ประเสริฐศักดิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:36:44Z-
dc.date.available2017-10-30T04:36:44Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55424-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractในปัจจุบันมีการนำเรื่องการต่อสัญญาโดยอัตโนมัติมาบังคับใช้อย่างแพร่หลาย โดยไม่มีการกล่าวถึงลักษณะของการต่อสัญญาโดยอัตโนมัติไว้อย่างชัดแจ้ง และในบางครั้งการต่อสัญญาเช่นว่านี้ก็เกิดขึ้นโดยปราศจากความตกลงยินยอมจากผู้บริโภค หรือผู้บริโภคมิอาจรับรู้และเข้าใจถึงเนื้อหาสาระแห่งการต่อสัญญานั้นได้ ทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากได้รับความเสียหาย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงปัญหาการต่อสัญญาโดยอัตโนมัติในระบบกฎหมายไทย โดยทำการศึกษาเน้นเฉพาะธุรกรรมการซื้อขายสินค้าหรือบริการที่มีการต่อสัญญาโดยอัตโนมัติในสัญญาระหว่างผู้ประกอบธุรกิจฝ่ายหนึ่งกับผู้บริโภคอีกฝ่ายหนึ่ง ในหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ทั้งนี้ ไม่ทำการศึกษาลงในรายละเอียดของกฎหมายเฉพาะสำหรับธุรกรรมที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดไว้ นอกจากนั้น ในบทบัญญัติกฎหมายต่างประเทศจะทำการศึกษาบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องการต่อสัญญาโดยอัตโนมัติในสหภาพยุโรปตาม Directive 93/13/EEC ลงวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1993 และ Directive 2011/83/EU ลงวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 2011 ซึ่งมีขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำที่ไม่เป็นธรรม โดยในเรื่องการต่อสัญญาโดยอัตโนมัติ ถ้าการสิ้นสุดของสัญญากำหนดให้ผู้บริโภคต้องแสดงความประสงค์โดยชัดแจ้งล่วงหน้าเป็นระยะเวลาเกินสมควร ข้อสัญญานั้นมีลักษณะเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม อันมีลักษณะคล้ายคลึงกันกับบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องการต่อสัญญาโดยอัตโนมัติตามประมวลกฎหมายแพ่งของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ค.ศ. 2002 บรรพ 2 หนี้ ส่วนที่ 2 เรื่องข้อผูกพันตามความสัมพันธ์ทางหนี้ที่เกิดขึ้นมาจากข้อสัญญาสำเร็จรูปที่ใช้ในการประกอบธุรกิจการค้า เพียงแต่บทบัญญัติกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมีการกำหนดรายละเอียดเรื่องระยะเวลาที่ใช้บังคับในสัญญาไว้ชัดเจน สำหรับการศึกษาบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องการต่อสัญญาโดยอัตโนมัติในประเทศสหรัฐอเมริกา ตามประมวลกฎหมายเอกรูปทางการพาณิชย์ จะเป็นการศึกษาในคำจำกัดความต่างๆ โดยตามรัฐบัญญัติการต่อสัญญาโดยอัตโนมัติของรัฐอิลลินอยส์ ค.ศ. 2000 แก้ไขเพิ่มเติม ค.ศ. 2005 และตามประมวลกฎหมายธุรกิจและวิชาชีพของรัฐแคลิฟอร์เนีย แก้ไขเพิ่มเติม ค.ศ. 2010 จะเป็นการศึกษาในรายละเอียดเรื่องการต่อสัญญาโดยอัตโนมัติและการคุ้มครองผู้บริโภคในการต่อสัญญา เช่น ความยินยอมของผู้บริโภคในการต่อสัญญาโดยอัตนัติ การเปิดเผยข้อสัญญาที่มีข้อกำหนดให้ต่อสัญญาโดยอัตโนมัติ และการแจ้งเตือนล่วงหน้าถึงการต่อสัญญาโดยอัตโนมัติ เป็นต้น จากการศึกษาพบว่า ในประเทศไทยยังไม่มีการกล่าวถึงลักษณะของการต่อสัญญาโดยอัตโนมัติไว้อย่างชัดแจ้ง และบทบัญญัติของกฎหมายไทยในปัจจุบันยังมีไม่เพียงพอต่อการคุ้มครองคู่สัญญาฝ่ายที่มิได้สมัครใจในการต่อสัญญาโดยอัตโนมัติ ผู้เขียนจึงเสนอให้มีการใช้การตีความเข้ามาช่วยในการพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับการต่อสัญญาโดยอัตโนมัติที่เกิดขึ้น เช่น การตีความการแสดงเจตนาของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย เป็นต้น นอกจากนั้น ผู้เขียนยังได้เสนอให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคในการต่อสัญญาโดยอัตโนมัติ โดยกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องได้รับความยินยอมจากผู้บริโภคก่อน รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจต้องมีการเปิดเผยข้อสัญญาเรื่องการต่อสัญญาโดยอัตโนมัตินั้นอย่างชัดแจ้งและเห็นได้อย่างชัดเจนในสัญญา และอาจมีหน้าที่ต้องแจ้งเตือนผู้บริโภคล่วงหน้าก่อนที่จะมีการต่อสัญญาโดยอัตโนมัตินั้นด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้บริโภคที่มิได้สมัครใจในการต่อสัญญาโดยอัตโนมัติได้รับความคุ้มครองและไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจอีกต่อไป-
dc.description.abstractalternativeNowadays, the automatic contract renewal is widely applied. However, there is no explicit mention of the manner of automatic contract renewal. Sometimes the contract such that it occurs without the consent of the consumer or the consumer cannot perceive and understand the contents of the contract, leading to the benefit loss of consumers. The purpose of this thesis is to study the legal problems of the automatic contract renewal in the Thai legal system. The studies focused on trading of goods and services transactions, which are renewed automatically in the contracts between entrepreneurs and consumers in accordance to the Civil and Commercial Code, the Unfair Contract Act B.E. 2540, and the Consumer Protection Act B.E. 2522. The study of transactions that are identified by specific laws, is not conducted in detail. In addition to the provisions of Foreign law, the thesis take into account the provisions of automatic contract renewal in the European Union law pursuant to Council Directive 93/13/EEC of 5 April 1993 and Directive 2011/83/EU of 25 October 2011, which is intended to prevent unfair terms from continuing to be used in contracts, such as automatically renewing a contract of fixed duration when the deadline fixed for the consumer to express this desire not to renew the contract is unreasonably early. These provisions are similar to the German’s law. According to the Civil Code of the Federal Republic of Germany 2002, Book 2 Law of Obligations, Division 2 Drafting contractual obligations by means of standard business terms, it provides more details of the duration of continuing obligations than the law of the European Union. For the studies of the automatic renewal terms in the United States of America, the Uniform Commercial Code, the study focused on the definitions. Then, the study of the Illinois Automatic Contract Renewal Act 2000 amended in 2005 has been examined. Meanwhile, the California Business and Profession Code amended in 2010 had been investigated. The provisions describe the detail of automatic renewal terms and protect consumers from the automatically renewal such as the consumer's consent to renew the contract automatically, disclosure of the automatic renewal clause clearly and conspicuously in the contract, and notification to the consumer, etc. According to the studies, the thesis found that there is no explicit mention of the manner of automatic contract renewal in Thailand. And now, the provisions of Thai law are not enough to protect the parties who do not voluntarily renew the contract automatically. The author proposes to use the interpretations to assist in the consideration of the legal problems of the automatic contract renewal such as the interpretation of the parties’ intentions. Moreover, for the purpose of protecting the consumer, the author proposes that requiring entrepreneurs need to obtain consent from consumers before the contract automatically renewed and need to disclose the automatic renewal clause clearly and conspicuously in the contract and must be notified in writing term to the consumer before it is automatically renewed, so that consumers who do not voluntarily renew their contracts are protected.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.463-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleปัญหากฎหมายของการต่อสัญญาโดยอัตโนมัติ-
dc.title.alternativeLEGALS PROBLEMS OF THE AUTOMATIC CONTRACT RENEWAL-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorSanunkorn.S@Chula.ac.th,ajarnkorn@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.463-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5885951034.pdf13.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.