Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55437
Title: การพัฒนาโปรแกรมการเปิดรับประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาล: การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างแบบส่งผ่านพหุระดับ
Other Titles: DEVELOPMENT OF OPENNESS TO EXPERIENCE PROGRAM FOR ENHANCING CULTURAL INTELLIGENCE OF STUDENT NURSES: AN ANALYSIS OF MULTILEVEL MEDIATING STRUCTURAL EQUATION MODELING
Authors: กาญจณี พันธุ์ไพโรจน์
Advisors: ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ
อวยพร เรืองตระกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Chayut.P@chula.ac.th,chayut.p@chula.ac.th
Auyporn.Ru@Chula.ac.th
Subjects: นักศึกษาพยาบาล
ความฉลาดทางวัฒนธรรม
Nursing students
Cultural intelligence
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการเปิดรับประสบการณ์ ความฉลาดทางวัฒนธรรม และการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาล 2) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลสมการโครงสร้างที่มีความฉลาดทางวัฒนธรรมเป็นตัวแปรส่งผ่านแบบพหุระดับ ของนักศึกษาพยาบาล และ 3) พัฒนาโปรแกรมการเปิดรับประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความฉลาดทางวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาล และตรวจสอบผลการใช้โปรแกรมเครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามมาตรประมาตรค่า 5 ระดับ และโปรแกรมการเปิดรับประสบการณ์ โดยตัวอย่างวิจัยประกอบด้วยอาจารย์ 288 คน วัดตัวแปรความฉลาดทางวัฒนธรรมของอาจารย์และตัวแปรการสนับสนุนของหน่วยงาน และนักศึกษาพยาบาลหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต 1,405 คน วัดตัวแปรการปรับตัวข้ามวัฒนธรรม ตัวแปรความฉลาดทางวัฒนธรรมของนักศึกษา และตัวแปรการเปิดรับประสบการณ์ทางวัฒนธรรม วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้วยสถิติเชิงบรรยายและการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม โดยโปรแกรม SPSS 22.0 และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับด้วยโปรแกรม Mplus 8.0 ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์การวิจัยพบดังนี้ 1) ผลการวิเคราะห์ระดับการเปิดรับประสบการณ์ ความฉลาดทางวัฒนธรรม และการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาล พบว่าค่าเฉลี่ยของตัวแปรทั้งสามอยู่ในระดับของนักศึกษาไม่แตกต่างกันจำแนกตามประเภทสถาบัน โดยค่าเฉลี่ยการเปิดรับประสบการณ์ทางวัฒนธรรมอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ (M=4.70, SD=2.25) จากคะแนนสูงสุด 15 ในขณะที่ ค่าเฉลี่ยความฉลาดทางวัฒนธรรม (M=3.41, SD=0.44) และค่าเฉลี่ยการปรับตัวข้ามวัฒนธรรม (M=3.64, SD=0.56) อยู่ในระดับค่อนข้างสูงเช่นเดียวกัน 2) ผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างที่มีความฉลาดทางวัฒนธรรมเป็นตัวแปรส่งผ่านแบบพหุระดับของนักศึกษาพยาบาล พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ chi-square (39, Nw=1405, Nb=288) = 52.61, p = .072, CFI = .99, RMSEAw = .01, RMSEAb = .13) โดยการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของนักศึกษาได้รับอิทธิพลทางตรงจากความฉลาดทางวัฒนธรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (beta = 0.88, p < .001) และอิทธิพลทางอ้อมของการเปิดรับประสบการณ์ผ่านความฉลาดทางวัฒนธรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (beta = .60, p < .001) 3) โปรแกรมการเปิดรับประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความฉลาดทางวัฒนธรรมประกอบด้วย 3 ด้าน คือ การเปิดรับด้านความเป็นอยู่ทั่วไป ด้านการเข้าสังคม และด้านการทำงาน รวมทั้งหมด 6 กิจกรรม และการตรวจสอบผลการใช้โปรแกรมการเปิดรับประสบการณ์กับนักศึกษาพยาบาล พบว่า เมื่อควบคุมคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางวัฒนธรรมก่อนเข้าร่วมโปรแกรม คะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาลที่เข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่านักศึกษาที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F (4, 54) = 20.72, p < .001) และมีขนาดอิทธิพลค่าเท่ากับ .593
Other Abstract: This study aims to 1) to study the level of cultural exposure, cultural intelligence, and cross-cultural adaptability among nursing students, 2) to develop and validate a causal model for the effect of cultural intelligence as a multilevel mediator on cross-cultural adaptability, and 3) to develop and examine a cultural exposure program for enhancing the cultural intelligence of nursing students. The research instruments are a questionnaire using 5-point rating scales, reported self-assessment of cultural exposure, cultural intelligence, and cross-cultural adaptability levels, and an openness to experience program for enhancing cultural intelligence. The samples, randomly selected, consisted of 288 lecturers from whom were collected the self-assessment of cultural intelligence and faculty support, and 1,405 nursing students for collecting the self-assessment of cultural exposure, cultural intelligence, and cross-cultural adaptability. Data were analyzed using descriptive statistics and ANCOVA using SPSS 22.0, and multilevel structural equation modeling (MSEM) with cross-level mediator effect using Mplus 8.0. The findings are summarized as follows. 1) The mean levels of cultural exposure, cultural intelligence, and cross-cultural adaptability among the nursing students showed that the means of all the variables separated by faculty types were not different, and the mean for cultural exposure was near to a low level (M=4.70, SD=2.25). Meanwhile, the mean for cultural intelligence was at a middle level (M=3.41, SD=0.44) and the mean for cross-cultural adaptability (M=3.64, SD=0.56) was near to a high level. 2) The causal model of cultural intelligence as a multilevel mediator affected cross-cultural adaptability. In addition, the model was valid and fit the empirical data (chi-square (39, Nw=1405, Nb=288) = 52.61, p = .072, CFI = .99, RMSEAw = .01, RMSEAb = .13). The findings revealed that cultural intelligence was a predictor of cross-cultural adaptability and a multilevel mediator of the model. The direct effect of cultural exposure on cross-cultural adaptability was statistic significant at .05 (beta = 0.88, p < .001) and the indirect effect through cultural intelligence on cross-cultural adaptability was statistically significant at .05 (beta = .60, p < .001). 3) The openness to experience program was composed of 3 dimensions—general living, social, and work openness—and there were 6 activities in the program. Examining the openness to experience program for enhancing the cultural intelligence of nursing students indicated that the mean for the students’ cultural intelligence for the group participating in the program was higher than the non-participating group at a statistically-significant level of .05 (F (4, 54) = 20.72, p < .001). The effect size of the program on cultural intelligence was .593.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55437
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.864
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.864
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684245227.pdf8.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.